โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    ปรัชญากฎหมายธรรมชาติที่มีอิทธิพลต่อรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Philosophy of Natural Law Influencing the Constitution of the Kingdom of Thailand, 2017
  • ผู้วิจัยนายสุขสมัย น่าบัณฑิตย์
  • ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.จักรพรรณ วงศ์พรพวัณ
  • ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.สุวิน ทองปั้น
  • วันสำเร็จการศึกษา27/05/2021
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชาปรัชญา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/667
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 214
  • จำนวนผู้เข้าชม 1,594

บทคัดย่อภาษาไทย

        การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาปรัชญากฎหมายธรรมชาติ 2) เพื่อศึกษารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และ 3) เพื่อศึกษาปรัชญากฎหมายธรรมชาติที่มีอิทธิพลต่อรัฐธรรมนูญดังกล่าว เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร (Document Sources) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ การเก็บรวบรวมข้อมูลเอกสารปฐมภูมิ และทุติยภูมิ นำข้อมูลนั้นมาวิเคราะห์ด้วยการพรรณนาตามหลักอุปนัยวิธี

        ผลการวิจัยพบว่า

        ปรัชญากฎหมายธรรมชาติ เป็นแนวคิดที่เชื่อว่ากฎหมายธรรมชาติ คือกฎเกณฑ์แห่งเหตุผลที่ถูกต้องบ่งชี้ว่าการกระทำใดดีหรือชั่ว ไม่เปลี่ยนแปลง เหมือนกันทุกแห่ง ทุกยุคทุกสมัยคล้ายกับธรรมะในพระพุทธศาสนา ผูกพันมนุษย์ทุกคน เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับความยุติธรรม กฎของมนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของกฎเกณฑ์นี้ มนุษย์มีสติปัญญา มีเหตุผล เข้าถึงกฎเกณฑ์นี้ได้ และเป็นปรัชญาที่ยกย่องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ มนุษย์ทุกคนมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิต ร่างกาย เสมอภาคกัน และแนวคิดเกี่ยวกับการปกครองที่ยึดถือหลักอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน แบ่งแยกอำนาจเป็น 3 ฝ่าย คือ นิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการที่มีการถ่วงดุลการใช้อำนาจรัฐ และเป็นการปกครองโดยประชาชน เพื่อประโยชน์ของประชาชน

        รัฐธรรมนูญดังกล่าวนี้ ยืนยันว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย จำกัดอำนาจรัฐโดยการแบ่งแยกอำนาจออกเป็น 3 ฝ่าย คือนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ มีการถ่วงดุลการใช้อำนาจ ปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขซึ่งทรงใช้อำนาจอธิปไตยทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล องค์กรของรัฐทั้งหมดปฏิบัติหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ กฎหมาย และหลักนิติธรรม มีระบบการควบคุมและตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ และมีบทบัญญัติคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาคและทรัพย์สินของเอกชน 

        บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เฉพาะที่มีเนื้อหาคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิและเสรีภาพในชีวิต ร่างกาย เสมอภาค และทรัพย์สินของเอกชน และที่สอดคล้องกับการคุ้มครองดังกล่าว เป็นบทบัญญัติที่ได้รับอิทธิพลจากปรัชญากฎหมายธรรมชาติ

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

        The objectives of this research were: 1) to study the philosophy of natural law; 2) to study the Constitution of the Kingdom of Thailand 2017; 3) to study the natural law philosophy that influences the constitution. This study was carried out based on documentary research. The research tool was to collect the primary and secondary documentary data interpreted by descriptive analysis according to the inductive method.

        The results of the research were as follows:

        Natural law philosophy is a concept with the belief that the law of nature is the law of right reason indicating whether an action is good or bad, unchanged and stays the same everywhere in all eras. This is similar to Dhamma in Buddhism, which bound all human beings as one with justice. Human laws are part of this law. Human beings have intelligence and reasons to access this law. Also, it is a philosophy that honors human dignity. All human beings have equal rights and freedoms in life, body, and the idea of ​​sovereign power governance belongs to the people. This power is divided into three divisions: legislative, executive, and judiciary, with a balance of power to the state and is governed by the people for the benefit of the people.

        Such constitution confirms that sovereignty belongs to the Thai people limiting the power of the state by dividing the power into three divisions: legislative, executive, and judiciary with a balance of power. A democratic form of government with the King as Head of State exercises sovereignty of the National Congress, the Council of Ministers and Courts. All governmental organizations perform their duties in accordance with the constitution, law, and the rule of law. There is a system for controlling and examining the exercise of state power and are provisions to protect human dignity, rights, liberties, equality, and property of the private sector.

        The provision of the Constitution of the Kingdom of Thailand B.E. 2560 (2017) specifies the content for protecting human dignity, the rights and liberties of life, body, equality, and property of the private sector in accordance with the said protection. It is a provision that is influenced by natural law philosophy.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
5805505056 5805505056 2.84 MiB 214 12 มิ.ย. 2564 เวลา 04:43 น. ดาวน์โหลด