โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การสื่อสารทางสังคมเพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้ขององค์กรทางพระพุทธศาสนา
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Social Communication for the Learning Process Development of Buddhist Organization
  • ผู้วิจัยนายวรพันธุ์ แย้มหงษ์ปภา
  • ที่ปรึกษา 1พระสุธีรัตนบัณฑิต, รศ.ดร.
  • ที่ปรึกษา 2รองศาสตราจารย์ ดร. โกนิฏฐ์ ศรีทอง
  • วันสำเร็จการศึกษา04/11/2018
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:บัณฑิตวิทยาลัย
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชาการพัฒนาสังคม
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/67
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 250
  • จำนวนผู้เข้าชม 615

บทคัดย่อภาษาไทย

งานวิจัยเรื่อง การสื่อสารทางสังคมเพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้ขององค์กรทางพระพุทธศาสนา มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาการสื่อสารทางสังคมขององค์กรทางพระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษากระบวนการจัดการความรู้การสื่อสารทางสังคมในการเสริมสร้างการเรียนรู้พุทธธรรมขององค์กรทางพระพุทธศาสนา 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนากระบวนการเรียนรู้พุทธธรรมขององค์กรทางพระพุทธศาสนา งานวิจัยนี้ศึกษาโดยใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methodology) คือการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ผู้บริหาร ผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสารมวลชน นักการสื่อสารด้านการศึกษา จำนวน  24  รูป/คน จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ศูนย์วิปัสสนาสากลไร่เชิญตะวัน และเสถียรธรรมสถานจำนวน 400 รูป/คน และการศึกษาเชิงปริมาณ ผู้วิจัยวิเคราะห์ผลที่เกิดขึ้นกับผู้รับสารจากการสื่อสารขององค์กร ทั้งที่เป็นความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมต่าง ๆ เพื่อยืนยัน โดยใช้แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับความรู้ ทัศนคติ และความพึงพอใจและการใช้ข้อมูลทางสถิติเป็นกรอบในการวิเคราะห์ เพื่อหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าความเชื่อมั่น ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาวิจัย
1. การสื่อสารทางสังคมขององค์กรทางพระพุทธศาสนาทั้ง 5 ด้าน  1) ด้านรูปแบบการสื่อสาร 2) ช่องทางการสื่อสาร 3) สาระสำคัญของการสื่อสาร 4) การสร้างการมีส่วนร่วมของการสื่อสาร และ 5) การจัดการสื่อสารขององค์กรทางพระพุทธศาสนา พบว่า องค์กรในฐานะผู้ส่งสารนั้น มีรูปแบบในด้านการสื่อสารที่เหมือนกัน คือ เป็นทั้งการสื่อสารทางเดียว (One - Way Communication) ซึ่งเป็นการส่งข่าวสารหรือการสื่อความหมายไปยังผู้รับแต่เพียงฝ่ายเดียว โดยที่ผู้รับไม่สามารถมีการตอบสนองในทันทีให้ผู้ส่งทราบได้ แต่อาจจะมีปฏิกิริยาสนองกลับ (feedback) ไปยังผู้ส่งภายหลังได้ การสื่อสารในรูปแบบนี้จึงเป็นการที่ผู้รับไม่สามารถมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันได้ทันที เช่น การฟังวิทยุ หรือการชมโทรทัศน์เป็นต้น และ เป็นการสื่อสารสองทาง (Two - Way Communication) เป็นการสื่อสารหรือการสื่อความหมายที่ผู้รับมีโอกาสตอบสนองมายังผู้ส่งได้ในทันที โดยที่ผู้ส่งและผู้รับอาจจะอยู่ต่อหน้ากันหรืออาจอยู่คนละสถานที่ก็ได้ แต่ทั้งสองฝ่ายจะสามารถมีการเจรจาหรือการโต้ตอบกันไปมา องค์กรมีการใช้สาร(Message) ที่เหมือนกัน คือใช้สารในการจัดการศึกษา การเผยแผ่ธรรมะ การบริการวิชาการแก่สังคมการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ในทางกลับกันที่แตกต่างกัน คือ จะเน้นการใช้สาร ไปในเรื่องการพัฒนา
สังคม และเรื่องสันติภาพ ใช้สารเป็นตัวก่อให้เกิดการประสานสัมพันธ์กันระหว่างบุคคลและสังคม ช่วยเสริมสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างคนในสังคม ช่วยสืบทอดวัฒนธรรมประเพณี และช่วยเยียวยาผู้ป่วยทางใจของคนในสังคม ในด้านช่องทางในการสื่อสาร (Channel) ที่เหมือนกัน เช่นใช้สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโทรทัศน์ สื่อวิทยุ และสื่อใหม่ หรือโซเชียลมีเดีย
2. กระบวนการจัดการความรู้การสื่อสารทางสังคมในการเสริมสร้างการเรียนรู้พุทธธรรมขององค์กรทางพระพุทธศาสนา ทั้ง 5 ด้าน วิเคราะห์ร่วมกับกระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge Management Process) ทั้ง 7 ขั้นตอน คือ 1) การบ่งชี้ความรู้ (Knowledge Identification) 2) การสร้างและแสวงหาความรู้ (Knowledge Creation and Acquisition) 3) การจัดความรู้ให้เป็นระบบ(Knowledge Organization) 4) การประมวลและกลั่นกรองความรู้ (Knowledge Codification and Refinement) 5) การเข้าถึงความรู้ (Knowledge Access) 6) การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้(Knowledge Sharing) 7) การเรียนรู้ (Learning) จากการศึกษาพบว่า ด้านรูปแบบการสื่อสารของ องค์กรอยู่ในระดับมาก (𝑥̅ = 3.79) ด้านการจัดการสื่อสารขององค์กรอยู่ในระดับมาก (𝑥̅ = 4.20) ช่องทางการสื่อสารขององค์กรอยู่ในระดับมาก (𝑥̅ = 3.60) การสร้างการมีส่วนร่วมของการสื่อสารอยู่ในระดับมาก (𝑥̅ = 4.30)
3. แนวทางการพัฒนากระบวนการเรยี นรู้พุทธธรรมขององค์กรทางพระพุทธศาสนานั้น ควรมีการเพื่อถ่ายทอดความรู้ด้านธรรมะสำหรับประชาชนทั่วไป โดยไม่เจาะจงสำหรับคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง โดยใช้ทฤษฎีการสื่อสาร จากแบบจำลองการของการสื่อสาร S M C R Model ของเดวิด เค. เบอร์โล คือ ผู้ส่ง(Source) ข่าวสาร (Message) ช่องทางในการส่ง (Channel) ผู้รับ (Receiver) และเป็นผู้มีทัศนคติ ระดับความรู้ และพื้นฐานทางสังคม วัฒนธรรมเช่นเดียวกันหรือคล้ายคลึงกันกับผู้ส่ง จึงจะทำให้การสื่อสารนั้นได้ผล โดยผ่านการจัดการความรู้ ก็คอื คน เทคโนโลยี กระบวนการความรู้ เพื่อนำความรู้จากแหล่งความรู้ไปให้ผู้ใช้ เพื่อทำให้เกิดการปรับปรุง และนวัตกรรม โดยใช้หลักทางพระพุทธศาสนาเข้ามาช่วยในการสื่อสาร ร่วมกับหลักภาวนา 4 คือ กายภาวนา สีลภาวนา จิตตภาวนา ปัญญาภาวนา ซึ่งการพัฒนากระบวนการเรียนรู้พูทธธรรมขององค์กรทางพระพุทธศาสนานี้ จะอยู่ภายใต้กรอบของความรู้ ทัศนคติ วิถีปฏิบัติ

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

The study entitled “Social Communication for the Learning Process Development of Buddhist Organization”, consisted of three main objectives, namely, i) to study the social communication of the Buddhist organizations; ii) to study the knowledge management process of the social communication in strengthening the Buddhism learning of Buddhist organizations; and iii) to present the guidelines for development of Buddhism learning process of Buddhism organizations. This research was conducted by the mixed methodology. For the qualitative one, data were collectedby in-depth interview with 24 key informants who were persons of communication management and experts, the education communicators from Mahachulalongkornrajavidyalaya University, Mahamakut Buddhist University, Cherntawn International Meditation Center, Sathira Dhammasathan, while the quantity study, questionnaires were distributed to 400 listeners and participants from the said Buddhist organizations in respect of knowledge, attitudes and behaviors towards social communication for the learning process Development. The statistical techniques for data analysis were frequency, percentage, mean and standard deviation. The Research Results were concluded as follows:
1. The 5 perspectives of Social communication of Buddhism organization are i) Communication format, ii) Communication Channel, iii) Communication content, iv)  Participation created for the communication, and v) Communication management of the Buddhism organization. It was found that the communicators of all Buddhist organizations had the same format of communication. The First format is One-way Communication. This is the one way communication to the receiver with no response back to the communicator but the receiver will provide the feedback later to the communicator. This communication format, the receiver cannot interact immediately such as radio listening or Television watching. The Second format is Two-way Communication. This is the communication which the receivers have chances to response back to the communicators immediately. The Communicator and receivers may stand in front with each other or stay at different locations but both will be able to negotiate or response each other. The organization will have the same messages which were the education statement, Publication, Education services to public, Maintain art and cultures. In contrast, the organization will focus on the social development and peace statement for catalyzing the coordination of people understanding, support good tradition and cultures and cure the mental patients in society in the same channel such as the use of publication, television, radio, news media or social media.
2. All 5 perspectives of social communication knowledge managementprocess to support the Buddhism learning is being co-analyzed with the 7 steps of knowledge management process, namely, i) Knowledge Identification, ii) Knowledge Creation and Acquisition, iii) Knowledge Organization, iv) Knowledge Codification and Refinement, v) Knowledge Access, vi) Knowledge Sharing, and vii) Learning. From the study, it was found that the organization communication format is excellent (𝑥̅ = 3.79) the organization communication management is high (𝑥̅ = 4.20), the communication channel is high (𝑥̅ = 3.60), the communication participation encouragement is high (𝑥̅=4.30)
3. The guidelines for development of Buddhism learning process of Buddhism organizations revealed that there should have the knowledge sharing for people with no specific group with the theory from the S M C R model by David K. Berlo which explains that the source, the message, the channel of the receiver must have the same attitude, knowledge and social culture background similar to the communicator. This will make the communication success by the knowledge management in human, technology, knowledge process. In order to bring the knowledge from the source to the user and the development and innovation by the Buddhism methodology to improve the communication with the cultivation 4 which are physical development, moral development, cultivation of the heart; emotional development and cultivation of wisdom; intellectual development. For the development of Buddhism learning process of Buddhism organizations, Bhavana IV i.e. Kaya Bhavana, Sila Bhavana, Citta Bhavana, and Panna Bhavana, should be applied in social communication in respect of knowledge, attitude and practice.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 13.31 MiB 250 20 พ.ค. 2564 เวลา 20:56 น. ดาวน์โหลด