-
ชื่อเรื่องภาษาไทยความยุติธรรมของระยะเวลาการออกคำสั่งทางปกครอง ตามมโนทัศน์ของจอห์น รอลส์
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษJustice of the Period for the Administrative Order in Accordance with John Rawls' Perspective
- ผู้วิจัยนางสาวจันทนา แสนคำ
- ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.จักรพรรณ วงศ์พรพวัณ
- ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.สุวิน ทองปั้น
- วันสำเร็จการศึกษา27/05/2021
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
- ระดับปริญญาปริญญาเอก
- สาขาวิชาปรัชญา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/670
- ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 267
- จำนวนผู้เข้าชม 280
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดความยุติธรรมของระยะเวลาการ ออกคำสั่งทางปกครอง 2) เพื่อศึกษามโนทัศน์ความยุติธรรมของจอห์น รอลส์ 3) เพื่อวิเคราะห์ความยุติธรรมของระยะเวลาการออกคำสั่งทางปกครองตามมโนทัศน์ของจอห์น รอลส์ ในพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 39/1 งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร ใช้วิธีวิเคราะห์เชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
1) แนวคิดความยุติธรรมของระยะเวลาการออกคำสั่งทางปกครอง คือ การกำหนด มาตรฐานขั้นต่ำให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองออกคำสั่งเป็นหนังสือให้เสร็จภายใน 30 วันนับแต่วันที่เจ้าหน้าที่ได้รับคำขอและเอกสารถูกต้องครบถ้วน เพื่อให้เกิดความยุติธรรมแก่ประชาชน และบังคับใช้กฎหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2) มโนทัศน์ความยุติธรรมของจอห์น รอลส์ ได้รับอิทธิพลมาจาก 3 กลุ่ม คือ สัญญาประชาคม เสรีนิยม และประโยชน์นิยม โดยรอลส์ให้ความสำคัญเรื่องเสรีภาพ และความเสมอภาค รอลส์ไม่ยอมรับการให้เหตุผลแบบธรรมชาตินิยม ความเสมอภาคจะเกิดขึ้นต่อเมื่อเพื่อช่วยเหลือปัจเจกชนที่เสียเปรียบ
3) ความยุติธรรมของระยะเวลาการออกคำสั่งทางปกครองตามมโนทัศน์ของจอห์น รอลส์ ในพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 39/1 มีปัญหากรณีเจ้าหน้าที่ไม่ได้ออกคำสั่งภายในเวลา 30 วันนับแต่วันที่เจ้าหน้าที่ได้รับคำขอและเอกสารถูกต้องครบถ้วนก็ไม่ทำให้เป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และมาตรการบังคับให้เจ้าหน้าที่ออกคำสั่งภายในเวลา 30 วันเป็นอำนาจบังคับบัญชามิใช่มาตรการบังคับทางกฎหมาย ทำให้เจ้าหน้าที่ละเลยขั้นตอนกฎหมายเกิดความล่าช้าไม่ถือว่าปัจเจกชนยอมรับอย่างเสรีภาพ ทางแก้ต้องบัญญัติโทษทางวินัยไว้อย่างชัดเจน และเมื่อพ้นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดให้ถือว่าเป็นการออกคำสั่งโดยปริยายเพื่อคุ้มครองเสรีภาพและความเสมอภาคผดุงไว้ซึ่งสถานะความเป็นกฎหมายกลาง
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The objectives of this research were: 1) to study the justice concept of the administrative order period; 2) to study the concept of justice of John Rawls; 3) to analyze the justice of the administrative order period following the perspective of John Rawls in the Administrative Procedure Act 1996 (BE 2539), Section 39/1. This study was documentary research carried out by using the descriptive analysis method.
The research results were as follows:
1) The justice concept of the administrative order period is to set a minimum standard for the administrative officer to issue an order in writing within 30 days from the date the officer receives the request, and the documents are correct and complete to bring justice to the people and enforce the law effectively.
2) John Rawls’ concept of justice is influenced by social contract, liberalism, and utilitarianism. Rawls focuses on freedom and equality and does not accept naturalistic reasoning. Equality only occurs to help disadvantaged individuals.
3) The justice of the administrative order period according to Rawls' concept in the Administrative Procedure Act 1996 (BE 2539), Section 39/1 with the case the officer receives the request and the documents are correct and complete, do not make it an illegal order within 30 days. The measure forcing officials to issue orders within 30 days is a command power, not a law enforcement measure causing the officials to neglect the legal procedure, delay the process, do not consider the individual to accept freely. The solution must be clearly defined in disciplinary action. After the expiration of the period specified by the law, it shall be deemed that the issuance of an implicit order to protect freedom and equality upholds the law's state.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
6105105030 | 6105105030 | 8.49 MiB | 267 | 12 มิ.ย. 2564 เวลา 04:58 น. | ดาวน์โหลด |