โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    ศึกษาวิเคราะห์หลักพุทธธรรมที่ปรากฏในวรรณกรรมอีสาน เรื่อง ปู่สอนหลาน
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษAn Analytical Study on Buddhadhamma Appeared in The Literature Named “A Grandfather Teaches His Grandson”
  • ผู้วิจัยพระสุดสาคร ญาณวีโร (จันทาทิพย์)
  • ที่ปรึกษา 1พระครูธรรมธรศิริวัฒน์ สิริวฑฺฒโน, ผศ.ดร.
  • ที่ปรึกษา 2พระมหาณัฐกิตติ อนารโท, ดร.
  • วันสำเร็จการศึกษา13/03/2018
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/672
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 2,346
  • จำนวนผู้เข้าชม 1,292

บทคัดย่อภาษาไทย

                วิทยานิพนธ์เรื่อง “การศึกษาวิเคราะห์หลักพุทธธรรมที่ปรากฏในวรรณกรรมอีสานเรื่อง ปู่สอนหลาน” มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา 3 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของวรรณกรรมอีสานเรื่อง ปู่สอนหลาน 2) เพื่อศึกษาหลักพุทธจริยธรรมที่ปรากฏในวรรณกรรมอีสานเรื่อง ปู่สอนหลาน และ 3) เพื่อศึกษาวิเคราะห์คุณค่าวรรณกรรมอีสานเรื่อง ปู่สอนหลานที่มีต่อสังคมไทยอีสานที่ได้ศึกษาข้อมูลระดับปฐมภูมิ และทุติยภูมิแล้วนำมาเรียบเรียงบรรยายเชิงพรรณนาสามารถสรุปผลการศึกษาดังนี้

              จากการศึกษา วรรณกรรมอีสานเรื่อง ปู่สอนหลาน เป็นวรรณกรรมประเภทคำสอน เขียนประพันธ์แบบกาพย์อีสาน จารึกด้วยอักษรไทน้อย สันนิษฐานน่าจะถูกแต่งขึ้นในช่วงสมัยพญาสามแสนไท สมัยของพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช  มีการชำระปริวรรตครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๘ โดยพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจันโท) และเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๓ อาจารย์สวิง บุญเจิม ก็ได้ชำระปริวรรตอีกครั้ง

              จากการศึกษาพบว่ามี หลักพุทธธรรมที่ปรากฏในวรรณกรรมอีสานเรื่อง ปู่สอนหลานนี้ 9 เรื่องคือ  1) พุทธธรรมที่ว่าด้วยเรื่องเบญจศีล เบญจธรรม 2) พุทธธรรมที่ว่าด้วยเรื่องธรรมคุ้มครองโลก 3) หพุทธธรรมที่ว่าด้วยเรื่องสุจริต 3 4) พุทธธรรมที่ว่าด้วยเรื่องฆราวาสธรรม 5) พุทธธรรมที่ว่าด้วยเรื่องสังคหวัตถุ 6) พุทธธรรมที่ว่าด้วยเรื่องทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ 7) พุทธธรรมว่าด้วยเรื่องกัลยาณมิตร 8) พุทธธรรมที่ว่าด้วยเรื่องกิเลส และ 9) พุทธธรรมที่ว่าด้วยเรื่องอบายมุข

                  ผลการวิเคราะห์คุณค่าของวรรณกรรมอีสานเรื่อง ปู่สอนหลานนี้พบว่ามีต่อสังคมไทยอีสานใน 6 ด้าน คือ 1) คุณค่าด้านการเป็นต้นแบบของความดี 2) คุณค่าด้านประเพณี และวัฒนธรรม 3) คุณค่าด้านสืบทอดอายุพระพุทธศาสนา 4) คุณค่าด้านความรู้ และคติธรรมในการดำเนินชีวิต 5) คุณค่าด้านความสัมพันธ์ของชุมชนในท้องถิ่น และ 6) คุณค่าด้านการปฏิบัติหน้าที่ของสุภาพบุรุษและสุภาพสตรี

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

                The thesis named “An analytical Study on Buddhadharma Appeared in the Literature Named “A Grandfather Teaches his Grandson” has 3 objectives: 1) to study history of Isaan literature a grandfather teaching his grandson 2) to study buddhist ethic appearing in Isaan literature a grandfather teaching his grandson 3) to analyze its values to Isarn society. The data has been studied from primary and secondary and compiled and depicted in concluded results.     

                 The Isarn literature named a grandfather teaches his Grandson is the teaching literature in Esarn language with Thainaiy consonants. It was assumed that the literature was in Phrayasarmsanthai to Phrachoasuriyawongsardhammikarat period. It was corrected at the first in B.E. 2448 by the most venerable Phra Ubalikunupamajarn 

(Chan Sirichando) and the next, in B.E. 2543 by Saving Bunjeum

                 From the study, it was found that Buddhadhamma in literature has 9 items: 1) five precepts and five Dhammas 2) Lokapala-dhamma: virtues that protect the world 3) 3 good conducts  4) virtues for a good household life 5) base of social solidarity 6) virtues conducive to benefits in the present 7) Association with good friend 8) defilement 9) Apaya-mukha

                 The analytical results of values of Named a Grandfather Teaches his Grandson  to Thai Esaan society has 6 fronts: 1) model of goodness 2) tradition and culture 3) maintaining the age of Buddhism 4) knowledge and moral of life 5) relationship of local community 6) duty of man and woman

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 6 MiB 2,346 12 มิ.ย. 2564 เวลา 05:11 น. ดาวน์โหลด