-
ชื่อเรื่องภาษาไทยพุทธจิตวิทยาการพัฒนาคุณธรรมและความสุขในเพลงลูกทุ่งไทย
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษBuddhist Psychological Virtues And Happiness Enhancement Through Thai Country Songs
- ผู้วิจัยนายจำนงค์ ไชยมงคล
- ที่ปรึกษา 1ผศ.ดร.สิริวัฒน์ ศรีเครือดง
- ที่ปรึกษา 2ดร.สมโภช ศรีวิจิตรวรกุล
- วันสำเร็จการศึกษา30/01/2018
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
- ระดับปริญญาปริญญาเอก
- สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/675
- ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 316
บทคัดย่อภาษาไทย
การศึกษาเรื่องพุทธจิตวิทยาการพัฒนาคุณธรรมและความสุขในบทเพลงลูกทุ่งไทย มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์โครงสร้าง เนื้อหา องค์ประกอบและกระบวนการของเพลงลูกทุ่งไทย เชิงพุทธจิตวิทยาทั้งหลักการ วิธีการ และเป้าหมายของเพลงลูกทุ่งไทย 2) เพื่อสังเคราะห์เชิงบูรณาการ หลักพุทธธรรมและหลักจิตวิทยาเพื่อการพัฒนาคุณธรรมและความสุขในบทเพลงลูกทุ่งไทย และ 3) เพื่อเสนอรูปแบบการพัฒนาคุณธรรมและความสุขเชิงพุทธจิตวิทยาในบทเพลงลูกทุ่งไทย การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงผสมวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญทางด้วยพุทธจิตวิทยา และผู้เชี่ยวชาญในการใช้ดนตรี จำนวน 17 รูป/คน ใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลเชิงปริมาณจากกลุ่มตัวอย่างของนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังจำนวน 440 คน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อห้า และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติประกอบด้วย การแจกแจงความถี่ (Frequency Distributions) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) สถิติวิเคราะห์เชิงอนุมาน (Inferential analysis statistics) ประกอบด้วยการทดสอบค่าที ( t-test) ค่าเอฟ (F-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) ผลการวิจัย มีดังนี้
1. จากการวิเคราะห์โครงสร้าง เนื้อหา องค์ประกอบและกระบวนการของเพลงลูกทุ่งไทยเชิงพุทธจิตวิทยาทั้งหลักการ วิธีการ และเป้าหมายในขอบเขตของเพลงลูกทุ่งไทย พบว่า โครงสร้างของเพลงลูกทุ่งไทยเป็นศิลปะแบบชาวบ้านที่สัมผัสพร้อมกันทั้งนาฏกรรม การแสดง วรรณกรรม เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวในวิถีชีวิตชาวบ้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความรัก ครอบครัว วัฒนธรรมประเพณี ศาสนา และการเมืองการปกครอง ด้วยส่วนผสมของทัศนศิลป์เพื่อถ่ายทอดทำนอง จังหวะ และสาระของเพลง แม้ว่าเพลงจะมุ่งเน้นความบันเทิงเป็นหลัก แต่เพลงลูกทุ่งที่เป็นอมตะก็จะปรากฏมีเนื้อหาที่กินใจด้วย โดยเฉพาะเนื้อหาที่เอื้อต่อความเข้าใจชีวิต เพื่อการพัฒนาคุณธรรมและความสุข ดังนั้นนอกจากจะได้ความบันเทิงแล้ว ผู้ฟังที่ดียังได้รับสาระปัญญาจากเนื้อหาเพลงด้วย
2. จากการสังเคราะห์เชิงบูรณาการหลักพุทธธรรมและหลักจิตวิทยาเพื่อการพัฒนาคุณธรรมและความสุขในบทเพลงลูกทุ่งไทย พบว่า การบูรณาการหลักพุทธจิตวิทยา ประกอบด้วย หลักอริยสัจจ์ 4 ซึ่งเป็นกระบวนการแก้ปัญหา หลักไตรสิกขา ซึ่งเป็นกระบวนการพัฒนาคุณธรรมและความสุขตามระบบศีล สมาธิ และปัญญา โดยองค์ธรรมทั้ง 3 เอื้อต่อกันและกันในกระบวนการพัฒนาคุณธรรมและความสุขของบุคคล พร้อมกับพัฒนาอินทรีย์หรือสมรรถนะของบุคคลตามหลักพละ 5 คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา ส่วนความสุขพัฒนาตามองค์สมาธิ 5 ซึ่งประกอบด้วยปราโมทย์ ปิติ ปัสสัทธิ สุข และสมาธิ 3. จากการวิเคราะห์รูปแบบการพัฒนาคุณธรรมและความสุขเชิงพุทธจิตวิทยาในบทเพลงลูกทุ่งไทย พบว่า
1) การวัดผลคุณธรรมและความสุขเชิงพุทธจิตวิทยาในบทเพลงลูกทุ่งไทย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 เรียนคณะวิทยาศาสตร์ อาชีพครอบครัวเป็นข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจและรับจ้าง สนใจองค์ประกอบเพลงด้านดนตรี เป็นกลุ่มกำหนดเพลง ให้ความสนใจต่อดนตรี ทำนอง และเนื้อหาสาระเพลงในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.98 มีความสุขในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.61 เพศมีผลต่อความแตกต่างในความพึงพอใจด้านภาษาในบทเพลง ชั้นปีที่ศึกษา คณะที่ศึกษา อาชีพครอบครัว จุดสนใจเพลง และการกำหนด/ไม่กำหนดเพลง มีความแตกต่างในระดับความพึงพอใจในตัวศิลปิน ดนตรี เนื้อหา ภาษาคุณธรรม และความสุขด้านปราโมทย์ ปิติ ปัสลัทธิ สุข และสมาธิ
2) รูปแบบการพัฒนาคุณธรรมและความสุขเชิงพุทธจิตวิทยาในบทเพลงลูกทุ่งไทย พบว่า รูปแบบการพัฒนาสอดคล้องกับหลักการพัฒนาในกระบวนการอริยสัจจ์ 4 คือ ในแง่ของเนื้อหาสาระเพลง ผู้ประพันธ์ได้บรรยายสภาพปัญหาหรือทุกข์ของสังคม สาเหตุหรือสมุทัยของปัญหา การพ้นจากปัญหา คือ นิโรธ แนวทางที่ทำให้พ้นจากสภาพปัญหา การแต่งเพลงตามกระบวนแห่งอริยสัจจ์ คือ การกำหนดปัญหาได้ครอบคลุม การรู้เหตุผลของประเด็นที่จะนำเสนอ การชี้ทางออก และเสนอวิธีแก้ไขปัญหาหรือทางออกของปัญหา และเพราะเหตุที่เพลงลูกทุ่งไทยมีความหลากหลายยืดหยุ่นทั้งในแง่ของเนื้อหา เป้าหมายและวิธีการ จึงทำให้เพลงลูกทุ่งไทยสามารถที่จะสังเคราะห์เชิงบูรณาการเนื้อหาและความเป็นจริงเชิงบวกได้หลากหลายสอดคล้องกับกาลเทศะตามหลักพุทธจิตวิทยาอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The thesis entitled ‘Buddhist Psychology for Development of Virtues and Happiness in Thai Country Songs’ is of 3 objectives: 1) to analyze the structure, content, elements and process of country songs based on Buddhist Psychology in terms of principles, methods and goals of Thai country songs; 2) to integrally synthesize the Buddhadhamma and Psychological principles for the development of virtues and happiness in Thai country songs; and 3) to propose the development model of virtues and happiness based on Buddhist Psychology in Thai country songs. This study is a Mixed methods research between a qualitative research and quantitative one, using an In-depth interview to collect qualitative data from 17 key informants and questionnaire to collect quantitative data from 440 samples who are students of King Mongkul Institute of Technology Ladgrabang. A content analysis is used to analyze qualitative data and statistics including Frequency, Percentage, Mean and Inferential analysis statistics comprising t-test, F-test and One-way ANOVA are used to analyze quantitative data Results are as follows.
1. From the analyzing of the structure, content, elements and process of country songs based on Buddhist Psychology in terms of principles, methods and goals of Thai country songs it found that Thai country songs structure consisted of dramatic works, acting and literature for transmitting the story in walks of villagers’ life regardless of love, family, culture, tradition, religion, politics and administration partially mixed with visual arts to transmit melody, rhythm and content of the country songs even if It basically emphasized the entertainment but the classical country songs were of profound contents related to the understanding of life for the development of virtues and happiness, so besides the entertainment good listeners had got a wisdom from the content of country songs as well.
2. Regarding the integrally synthesizing of the Buddhadhamma and Psychological principles for the development of virtues and happiness in Thai country songs it revealed that the integration of Buddhist Psychology found in Thai country songs included the Four Noble Truths that was basically the problems solving process, the principle of Threefold Training which was the development process of virtues and happiness called the systems of precept, concentration and wisdom the three of which were related to each other in the development process of people’s virtues and happiness and the development of power or competency of people as Five Powers including faith, effort, mindfulness, concentration and wisdom, besides, the happiness was also developed as 5 elements of concentration comprising satisfaction, coolness, cheery, happiness and calmness. 3. With regard to the proposal of the development model of virtues and happiness based on Buddhist Psychology in Thai country songs it found as follows:
1) The measurement of virtues and happiness based on Buddhist Psychology in Thai country songs it revealed that the most respondents were female, fresh, belonging to Faculty of Science, their family’s occupations as public servants/state enterprise and hires, being interested in elements of music, self-determination of songs, being interested in melody, rhythm and content of the country songs the mean of which was high at 3.98, they were highly happy at the mean of 3.61, besides it showed their sex effected on the difference of their satisfaction with the language in the song and it also showed that their class of study, faculty, family’s occupation, points of music interests and determination/non-determination of songs were different in the level of satisfaction with singers, music, content, language, virtues and happiness in terms of satisfaction, coolness, cheery, happiness and calmness.
2) The development model of virtues and happiness based on Buddhist Psychology in Thai country songs it revealed that the development model was related to the development principle in the process of the Four Noble Truths in terms of the content of songs. The authors explained the condition of problems or social problems, its causes, cessation of problems and ways out of problems. Composing a song as the process of the Four Noble Truths was the determination of problems covered the realization of reasons of points, ways out and solutions and because Thai country songs were various and flexible in the aspects of content, goal and methods they could have integrally synthesized contents and positive reality in multi-dimension in association with circumstances based on Buddhist Psychology with the end.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|