โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การวิเคราะห์ประเพณีบุญข้าวสากในเชิงพุทธจริยศาสตร์ ของชุมชนบ้านโคกเล้า ตำบลบะยาว อำเภอวังสามหมอ จังหวัดอุดรธานี
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษAn Analysis of Boon-Khow-Sak Tradition in Buddhist Ethics of Ban Khok Lao Community, Ba Yao Sub-district, Wang Sam Mo District, Udon Thani Province
  • ผู้วิจัยพระภัทรโภคิน ฐิตสาโร (พรมโคตร)
  • ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.จรัส ลีกา
  • ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.สุวิน ทองปั้น
  • วันสำเร็จการศึกษา27/05/2021
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาปรัชญา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/677
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 760
  • จำนวนผู้เข้าชม 139

บทคัดย่อภาษาไทย

        การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาประเพณีบุญข้าวสากของชุมชนชาวอีสานในบริบทของชุมชนบ้านโคกเล้า ตำบลบะยาว อำเภอวังสามหมอ จังหวัดอุดรธานี 2) เพื่อศึกษาทฤษฎีทางพุทธจริยศาสตร์ในประเพณีบุญข้าวสาก 3) วิเคราะห์บุญข้าวสากในเชิงพุทธจริยศาสตร์ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก มีผู้ให้ข้อมูลจำนวน 21 รูป/คน แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ด้วยการวิเคราะห์เชิงพรรณนาตามหลักอุปนัยวิธี

        ผลการวิจัยพบว่า

        1. แนวคิดเกี่ยวกับประเพณีบุญข้าวสากมีแนวคิดประเด็นสำคัญ อยู่ 2 แนวคิด คือ 1) เปรตพลี หมายถึง การทำบุญอุทิศแก่ญาติผู้ล่วงลับ 2) กตัญญูกตเวที หมายถึง การรู้จักบุญคุณคนอื่นแล้วตอบแทนบุญคุณ

        2. แนวคิดทฤษฎีทางพุทธจริยศาสตร์ ที่เป็นสิ่งที่มีความเกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตอยู่ของมนุษย์หรือคนในสังคม เพื่อการตอบคำถามเชิงเหตุผลต่อคำถามหรือปัญหาที่ว่า บาปบุญมีจริงหรือไม่ เหตุและบทสรุปของการกระทำเป็นเช่นไร โดยใช้ทฤษฎีทางพุทธจริยศาสตร์ทั้ง 3 ระดับ มาเป็นเกณฑ์ตัดสิน ดี-ชั่ว ได้คำตอบแต่ละระดับ ดังนี้ 1) เป็นการไม่ทำบาป 2) เป็นการทำกุศลให้ถึงพร้อม 3) เป็นการทำจิตของตนให้บริสุทธิ์

         3. การวิเคราะห์ประเพณีบุญข้าวสากในเชิงพุทธจริยศาสตร์ ทำให้บุคคลนั้นได้รับประโยชน์สุข 2 ด้าน คือ 1) อัตหิตประโยชน์ สุขเพื่อตน ซึ่งเป็นการสร้างประโยชน์สุขเฉพาะตนเอง ได้แก่ การทำความดี การสั่งสมคุณงามความดีไว้เพื่อจะได้รับผลในชีวิตหลังความตายจะไปเกิดในภพภูมิที่ดีหรือสุคติภูมิ, 2) ปรหิตประโยชน์สุขเพื่อผู้อื่น ซึ่งเป็นการสร้างประโยชน์สุขให้แก่บุคคลอื่น ซึ่งการสร้างความสุขเพื่อผู้อื่น เช่น การช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

        The objectives of this research were: 1) to study Boon-Khow-Sak Tradition of Isan communities in the context of Ban Khok Lao community, Ba Yao Sub-district, Wang Sam Mo District, Udon Thani Province; 2) to study the theory of Buddhist ethics in Boon-Khow-Sak Tradition; 3) to analyze Boon-Khow-Sak Tradition in Buddhist ethics. This study was qualitative research conducted by collecting information from documents and in-depth interviews of 21 key informants. The data were analyzed by descriptive analysis according to the inductive method.

        The results of the research were as follows:

        1) There are two essential concepts of Boon-Khow-Sak Tradition: 1) ‘Peta-plī’ means making merit in dedication to the deceased relatives; 2) Kataññūkatavedī means being thankful for benefits received and reciprocate them.

        2) The theory of Buddhist ethics is associated with the lives of humans or people in society to answer a logical question or problem ‘Is there a sin or merit?’ ‘What is the cause and conclusion of the action?’ using the theory of Buddhist ethics at all three levels as a criterion for judging good–evil deeds. The answers to each level are as follows: 1) to avoid bad deeds; 2) to conduct good deeds; 3) to purify the mind.

        3) The analysis of Boon-Khow-Sak Tradition in Buddhist ethics allows people to receive two aspects of happiness: 1) self-benefits, happiness for oneself, which creates benefits for one's happiness, such as doing good deeds, accumulating virtues to gain fruitions in the afterlife to be born in the happy realms; 2) benefits for others, which is to create benefits and happiness for other people such as helping the others.    

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
6205205023 6205205023 10.19 MiB 760 12 มิ.ย. 2564 เวลา 05:50 น. ดาวน์โหลด