โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    พลวัตประเพณีการทำบุญกฐินของชาวภูไทในตำบลบุ่งเลิศ อำเภอเมยวดี จังหวัดร้อยเอ็ด
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Dynamics of Kaṭhina Merit-Making Tradition of Phu Thai People in Bunglert Subdistrict, Moei Wadi District, Roi Et Province
  • ผู้วิจัยพระสมุห์สุรพล สุทฺธญาโณ (ดอนเตาเหล็ก)
  • ที่ปรึกษา 1ดร.ไพฑูรย์ สวนมะไฟ
  • ที่ปรึกษา 2พระวิมาน คมฺภีรปญฺโญ, ดร.
  • วันสำเร็จการศึกษา07/03/2020
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/680
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 887
  • จำนวนผู้เข้าชม 504

บทคัดย่อภาษาไทย

                  งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึ­กษาการทำบุญกฐินในพระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาการทำบุญกฐินของชาวภูไท ตำบลบุ่งเลิศ อำเภอเมยวดี จังหวัดร้อยเอ็ด 3) เพื่อศึกษาพลวัตประเพณีการทำบุญกฐินของชาวภูไท ตำบลบุ่งเลิศ อำเภอเมยวดี จังหวัดร้อยเอ็ด การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งได้ศึกษาค้นคว้าข้อมูลทางพระไตรปิฎก อรรถกถา เอกสาร ตำราและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดทั้งมีการลงพื้นที่ภาคสนามเพื่อเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ และนำข้อมูลมาวิเคราะห์แล้วนำเสนอผลการวิจัยเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า

                 การทำบุญกฐินในพระพุทธศาสนา พบว่า การทำบุญกฐินนั้นถือว่าเป็นบุญเฉพาะกาล เพราะเป็นบุญที่สามารถทำได้ในช่วงเวลาที่กำจัด คือ ช่วงแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 เท่านั้น ซึ่งถือว่ามีเวลากำจัดเพียงแค่ 1 เดือน โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1. จุลกฐิน 2. มหากฐิน ถ้าเลยช่วงเวลานั้นไปก็จะไม่ใช้การทำบุญกฐินอีกต่อไปซึ่งวิธีการทำบุญกฐิน มีขั้นตอนลำดับดังต่อไปนี้ จองกฐิน การตั้งองค์กฐิน นำกฐินไปทอด การถวายกฐิน การกรานกฐิน เป็นต้น

                  การทำบุญกฐินของชาวภูไท ตำบลบุ่งเลิศ อำเภอเมยวดี จังหวัดร้อยเอ็ด แบ่งออกเป็น 2 คือ การทำบุญกฐินในอดีต ได้แก่ จุลกฐิน คือ การทำกฐินแบบด่วนหรือชาวบ้านเรียกว่ากฐินแล่น ซึ่งจะมีการทอผ้ากฐินให้เสร็จภายในวันเดียวและทอดถวายในวันถัดไป และการทำบุญกฐินในปัจจุบันจะเป็นการทำบุญกฐินแบบมีเจ้าภาพมาถวายซึ่งองค์กฐินจะเน้นไปทางด้านการซื้อตามร้านค้ามากกว่าจัดทำกันเองและเน้นปัจจัยที่จะนำมาถวายมากกว่าผ้ากฐิน

                   พลวัตประเพณีการทำบุญกฐินชาวภูไท ตำบลบุ่งเลิศ อำเภอเมยวดี จังหวัดร้อยเอ็ด แบ่งออกเป็น 7 ด้าน คือ พลวัตด้านเศรษฐกิจ พลวัตด้านสังคม พลวัตด้านวัฒนธรรมประเพณี พลวัตด้านสภาพแวดล้อม พลวัตด้านวัตถุทาน พลวัตด้านระยะเวลา และพลวัตด้านเทคโนโลยี

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

                 The research entitled “The Dynamics of Kathina Merit-Making Tradition of Phu Thai People in Bunglert Subdistrict, Moei Wadi District, Roi Et Province” consists of three objectives: 1) to study the Kaṭhina merit-making tradition in Buddhism; 2) to study the Kaṭhina merit-making tradition of Phu Thai people in Bunglert subdistrict, Moei Wadi district, Roi Et province; and 3) to study the dynamics of Kaṭhina merit-making tradition of Phu Thai people in Bunglert subdistrict, Moei Wadi district, Roi Et province. This is qualitative research by studying the documents and field studies through an interview. The data result is presented in descriptive analysis.

                The results of the research show that Kaṭhina or Robe Offering merit-making tradition in Buddhism is timely giving merit because it can only be done for a limited period of one month following the Buddhist Lent, and each temple can accept Kaṭhina only once a year. The purpose of the Kaṭhina merit-making tradition is for laypeople to find new clothes to make robes for monks. The recipient monks are those who observe the Vinaya rules strictly and have high morality. Buddhists consider Kaṭhina a grand merit-making ceremony. There are two types of Kaṭhina which are Cula Kaṭhina and Maha Kaṭhina. Any layperson who would like to sponsor the Kaṭhina ceremony, they must reserve it in advance. The ceremony consists of organizing Kaṭhina requisites, taking the Kaṭhina to the temple, offering the Kaṭhina, and making the Kaṭhina cloth.

                 The Kaṭhina merit-making tradition of Phu Thai people in Bunglert subdistrict, Moei Wadi district, Roi Et province is classified into two parts, namely: 1) In the past, Phu Thai people usually did the Cula Kaṭhina, that is, the quick Kaṭhina or what the local people called "Kaṭhina Laen (quick)" in which the making of the Kaṭhina cloth must be completed within one day to offer on the following day. This required unity of the local people and the monks together; and 2) The Kaṭhina merit-making ceremony at present is the merit-making based on the donation of sponsors, in which the Kaṭhina requisites are through buying from stores rather than doing by themselves, as well as the amount of the money that will be offered to the monks.

                 From studying the dynamics of Kaṭhina merit-making tradition of Phu Thai people in Bunglert subdistrict, Moei Wadi district, Roi Et province, it is found that at present, Phu Thai people do not usually do the Cula Kaṭhina like in the past but rather focus on the merit-making having the main sponsors. The Kaṭhina merit-making behavior of the local people has changed from being a co-host to being only a participant of the ceremony, resulting in the decreased role of the community participation in the Kaṭhina making-merit ceremony. It is also found that there are seven aspects for the dynamics of Kaṭhina merit-making tradition of Phu Thai people in Bunglert subdistrict, which are: Economic dynamics, Social dynamics, Cultural dynamics, Environmental dynamics, Material dynamics, Time dynamics, and the Technology dynamics.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 2.32 MiB 887 12 มิ.ย. 2564 เวลา 06:38 น. ดาวน์โหลด