-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการศึกษาวิเคราะห์การฟื้นฟูพระพุทธศาสนา ของอนาคาริก ธรรมปาละ"
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษAn Analytical Study of the Revival of Buddhism by Anãgãrika Dhammapãla”
- ผู้วิจัยนายพชรวีร์ ทองประยูร
- ที่ปรึกษา 1รศ. ดร.สมิทธิพล เนตรนิมิตร
- ที่ปรึกษา 2พระมหาทวี มหาปญฺโญ (ละลง), ผศ. ดร.
- วันสำเร็จการศึกษา06/07/2019
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/685
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 534
- จำนวนผู้เข้าชม 1,405
บทคัดย่อภาษาไทย
งานวิจัยเรื่อง “การศึกษาวิเคราะห์การฟื้นฟูพระพุทธศาสนาของอนาคาริก ธรรมปาละ” มุ่งศึกษาวัตถุประสงค์หลัก 3 ประการ ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาประวัติ ของ อนาคาริก ธรรมปาละ 2) เพื่อศึกษาบทบาทด้านการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาของอนาคาริก ธรรมปาละ 3) เพื่อวิเคราะห์การฟื้นฟูพระพุทธศาสนาของอนาคาริก ธรรมปาละ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Method) มุ่งการศึกษาวิจัยในตัวบุคคล จากเอกสารวิชาการ ที่นักวิชาการได้ทำการศึกษา จนเป็นที่ยอมรับโดยทั่วกัน แล้วนำออกเผยแพร่ การศึกษาพบว่า อนาคาริก ธรรมปาละ เกิด 17 กันยายน พ.ศ. 2407 มรณภาพ 29 เมษายน พ.ศ. 2476 รวมสิริอายุได้ 68 ปี มีชื่อก่อนที่จะมาเป็นอนาคาริก ธรรมปาละว่า ดอน เดวิด เหวะวิตารเน เกิดในตระกูลชาวพุทธผู้มั่งคั่ง ในเมืองโคลัมโบ ตำบลเปตตาห์ ประเทศศรีลังกา อนาคาริก ธรรมปาละ ได้ตั้งใจไว้ตั้งแต่ต้นว่า หากจะตายก็จะขอตายในเพศบรรพชิต ท่านได้บรรพชา ณ วัดมูลคันธกุฎิวิหาร ในปลายปี พ.ศ. 2475 มีฉายาว่า "ภิกฺขุ ศรี เทวมิตฺร ธมฺมปาล" อนาคาริก ธรรมปาละ เป็นบุคคลที่มีความสำคัญที่สุด ในการฟื้นฟูพระพุทธศาสนา ในประเทศอินเดีย หลังจากที่พระพุทธศาสนาเกือบจะสูญหายไปแล้ว และเป็นผู้ก่อตั้งสมาคมมหาโพธิ์ เพื่อเรียกร้องเอาพุทธสถานพุทธคยา ในอินเดียกลับคืนมาเป็นของชาวพุทธ นอกจากนี้ท่านยัง เป็นชาวพุทธคนแรกในยุคปัจจุบัน ที่เผยแผ่พระพุทธศาสนาในทวีปต่างๆ คือเอเชีย อเมริกาเหนือและยุโรป การฟื้นฟูพระพุทธศาสนา ของ ท่านเกิดจากแรงจูงใจ ที่ได้พบเห็นสภาพที่ทรุดโทรม ของสังเวชณียสถานพุทธคยา และท่านได้ อธิฐานต่อต้นพระศรีมหาโพธิ์ ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ ว่าจะทำการฟื้นฟูพระพุทธศาสนา ให้กลับมาเจริญรุ่งเรืองอีกครั้ง เพื่อเป็นศูนย์กลางการเผยแผ่พุทธศาสนา ในที่สุดการฟื้นฟูพุทธศาสนา ในอินเดียก็ประสบผลสำเร็จ ชาวพุทธกลับมานับถือพุทธศาสนามากขึ้น ผลการวิเคราะห์พบว่า ดร.บี.อาร์.เอ็มเบ็ดก้าร์ ผู้ที่นับถือศาสนาฮินดู พาผู้คนที่อยู่ในวรรณจัณฑาลกว่า ๓ แสนคน เข้าร่วมปฏิญาณตน เป็นพุทธมามกะ รับเอาพระรัตนตรัยเป็นสรณะ และปรากฎว่ามีชาวอินเดียอีกจำนวนมาก ในทุกวรรณะต่างๆหันกลับมานับถึอพระพุทธศาสนา ทำให้พระพุทธศาสนากลับมาเจริญขึ้นอีกครั้งในอินเดีย จนกระทั่งนักแสวงบุญชาวพุทธได้มาสักการะพุทธคยา ซึ่งเป็นสถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า สมกับที่เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของชาวพุทธทั่วโลก ซึ่งปัจจุบันพุทธยาได้รับการขึ้นทะเบียนจากองค์การยูเนสโกเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของโลก
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
This thesis entitled “An Analytical Study of the Revival of Buddhism by Anãgãrika Dhammapãla”has three objectives: 1) to study the history of Anãgãrika Dhammapãla, 2) to study Anãgãrika Dhammapãla’s role in the revival of Buddhism, and 3) to analyze Anãgãrika Dhammapãla’s revival of Buddhism. This is a qualitative research done by studying academic documentaries.
In the research, it was found that Anãgãrika Dhammapãla was born on 17 September, 1864 in the wealthy family of Buddhism in the city of Colombo, Pettah sub-district, and died on 29 April, 1933; his total age was of 68 years. Before he was named ‘Anãgãrika Dhammapãla’, he was named ‘Don David Heva Vitãrane’. In early childhood, he was determined that if he were to die, he would die in the form of renouncer and thereby becoming a novice in the temple of Mũlagandhakutĩvihãra in the end of the year 1932 whereby his Buddhist monk’s name was given as ‘Bhikkhu Siri Devamitta Dhammapãla’. It is said that Anãgãrika Dhammapãla was an exceptional person who pioneered the revival of Buddhism in India after long recession. In this matter, he also established the Association of Mahabodhi in order to taking back Bodh Gaya wherein the Buddhist site located to the Buddhist control and he was regarded as the first Buddhist man in that period who propagated Buddhism to various continents, Asia, America and Europe. It is strongly believed that his chief motivation in the revival of Buddhism was inspired by seeing the ruined Buddhist sites in Bodh Gaya where he made certain resolution in front of Bodhi Tree where the Buddha got enlightenment to re-establish Buddhism in the prosperous way in order to centralize the propagation of Buddhism. Finally, the revival of Buddhism was obviously made where many people come to follow Buddhism again. In the analysis, it was clearly found that Dr. B. R. Ambedkar who used to follow Hinduism converted more than three hundreds thousands of untouchables to Buddhism through taking refuge in the Triple Gems. By virtue of this, it appeared that many Indians from various castes converted to Buddhism later on and thereby bringing prosperity to Buddhism again in India. Furthermore, many Buddhist pilgrimages once came to pay respect to one of the four places of Buddhist sites proved such a claim due to its being sacred place of Buddhism. Suffice it to say that Bodh Gaya deserves to be the Buddhist place of appreciation to the whole world resulting in the world licensing as the world heritage of the cultural heritage given by UNESCO
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 3.4 MiB | 534 | 12 มิ.ย. 2564 เวลา 20:54 น. | ดาวน์โหลด |