-
ชื่อเรื่องภาษาไทยแนวทางป้องกันโรคซึมเศร้าตามหลักของอานาปานสติ
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Guideline for Depression Prevention according to Ānapanasati Principle
- ผู้วิจัยนายภูมิพัฒน์ แดงโสภา
- ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.แม่ชีกฤษณา รักษาโฉม
- ที่ปรึกษา 2ดร.อรชร ไกรจักร์
- วันสำเร็จการศึกษา25/05/2019
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/686
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 535
- จำนวนผู้เข้าชม 331
บทคัดย่อภาษาไทย
วิทยานิพนธ์เรื่อง “แนวทางป้องกันโรคซึมเศร้าตามหลักของอานาปานสติ” ใช้วิธีการศึกษาวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) มีวัตถุประสงค์คือ 1. เพื่อศึกษาหลักอานาปานสติตามแนวทางพระพุทธศาสนา 2. เพื่อศึกษาแนวทางป้องกันโรคซึมเศร้าในสังคมไทยปัจจุบันและ 3 เพื่อเสนอแนวทางป้องกันโรคซึมเศร้าตามหลักของอานาปานสติ
ผลการวิจัย พบว่า หลักอานาปานสติตามแนวทางพระพุทธศาสนา คือ การเจริญสมาธิ โดยยึดหลักการกำหนดลมหายใจเข้า ออก เป็นสำคัญ อานาปานสติมีอยู่ 4 หมวด โดยแบ่งเป็นหมวดละ 4 ขั้น เป็น 16 ขั้น ถ้าทำครบ 16 ขั้นนี้ แล้ว สติปัฏฐานทั้ง 4 จะสมบูรณ์ ระยะเวลาในการทำนั้นขึ้นอยู่กับความสะดวกของผู้ปฏิบัติเป็นสำคัญ สาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยเป็นโรคนี้ คือ สภาพจิตใจซึมเศร้าในสังคมปัจจุบันนิยมบำบัดด้วยการฝึกสมาธิ สติ เพื่อบำบัดทางจิต ร่วมกับการใช้ยารักษาทางจิตเวช มีรูปแบบแบ่งเป็นกลุ่มบำบัด และการบำบัดรายบุคคล ฉะนั้นการนำหลักอานาปานสติ ประยุกต์ใช้กับผู้ป่วย การทำสมาธิด้วยวิธีปฏิบัติแบบอานาปานสติ สะสมก่อให้เกิดสติให้ประโยชน์กับผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามากเป็นแนวทางของพุทธศาสนาที่เกี่ยวข้องกับการฝึกสติแนวพุทธ
แนวทางป้องกันโรคซึมเศร้าตามหลักของอานาปานสติ นำเสนอแนวทางการบำบัดรายบุคคล 5 วิธีการ โดยเริ่มต้นที่ปัญหาทบทวนตน วิธีการที่ 1 นั่ง5 นาที วิธีการที่ 3 บำบัดด้วยยารักษาโรคแผนปัจจุบันตามอาการ วิธีการที่ 4 ยอมรับความเป็นจริงในปัญหา วิธีการที่ 5 ใกล้ชิดกัลยาณมิตรเพื่อสนับสนุนส่งเสริมความคิดบวกและเกื้อหนุนแนวทางป้องกันโรคซึมเศร้าตามหลักของอานาปานสติ
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
This thesis entitled “A Guideline for Depression Prevention according to Ānapanasati Principle” is a documentary research, and the objectives are 1) to study the principle of Ānapanasati 2) to study alternative guideline in preventing depression in Thai society 3) to propose alternative guideline in preventing depression by principle of Ānapanasati.
The results showed that the principle of Ānapanasati involves the act of concentration by focusing on inhalations and exhalations. The principle consists of four categories, each of which comprises four steps, totaling 16 steps. Once all 16 steps are completed, Satipaṭṭhãna 4 will be fulfilled. The duration of the practice depends on individual convenience. The main cause of depression is negative mind condition which nowadays can be healed by concentration or meditation and psychiatric treatment by modern medicine. Group or individual therapy can be applied. Therefore, the application of Ānapanasati with the depression patient and the meditation with Ānapanasati method can help cultivate conscience for the patient, which is a Buddhist way to develop mindfulness.
Alternative guideline in preventing depression by principle of Ānapanasati proposed five methods of individual treatments as follows: 1) focusing on inhalations and exhalations to create spiritual well being 2) practicing meditation three times a day, each for five minutes 3) using symptomatic treatment by modern medicine 4) accepting patient’s own problems and 5) mingling with good friends in order to create positive thinking and apply alternative guidelines in preventing depression according to Ānapanasati.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 757.2 KiB | 535 | 12 มิ.ย. 2564 เวลา 21:18 น. | ดาวน์โหลด |