โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: library@mcu.ac.th

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    ศึกษาแนวทางปฏิบัติภาวนาของสมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จ พระสังฆราช (สุก ญาณสํวโร) และพระโสภณมหาเถระ (มหาสีสยาดอ)
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Study of Guidelines of Bhāvanā Practice of Somdej Phra Ariyavaṃsañāṇa Somdej Phra Saṅgharāja (Suk Ñāṇasaṅvaro) and Phra Sobhaṇamahāthera (Mahāsisayādaw)
  • ผู้วิจัยนายศรุต วัฒนกุลศิลปชัย
  • ที่ปรึกษา 1พระมหาอดิเดช สติวโร, ดร.
  • ที่ปรึกษา 2ผศ.ดร.บุญเลิศ โอฐสู
  • วันสำเร็จการศึกษา01/10/2019
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/687
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 788
  • จำนวนผู้เข้าชม 409

บทคัดย่อภาษาไทย

วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ (1) เพื่อศึกษาแนวทางปฏิบัติภาวนาแบบสมถยานิกะและวิปัสสนายานิกะที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนา (2) เพื่อศึกษาแนวทางปฏิบัติภาวนาของสมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (สุก ญาณสํวโร) และ และ (3) เพื่อศึกษาแนวทางปฏิบัติภาวนาของพระโสภณมหาเถระ (พระมหาสีสยาดอ) โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพด้านเอกสาร และภาคสนาม คือการลงไปสัมภาษณ์เชิงลึก

ผลการวิจัยพบว่า แนวทางปฏิบัติภาวนาแบบสมถยานิกะเน้นการปฏิบัติสมถะแล้วเจริญวิปัสสนาโดยใช้ฌานเป็นบาทฐาน และแนวทางปฏิบัติภาวนาแบบวิปัสสนายานิกะ เน้นการปฏิบัติวิปัสสนาล้วน ๆ โดยมุ่งสู่ญาณโดยตรง ซึ่งเรียกว่า “โสฬสญาณ”

แนวทางการปฏิบัติภาวนาของสมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (สุก
ญาณสํวโร) มีความสอดคล้องกับพระไตรปิฎกและคัมภีร์วิสุทธิมรรค เป็นแนวทางการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาแบบสมถยานิกะอย่างชัดเจน กล่าวคือเน้นการปฏิบัติสมถะแล้วเจริญวิปัสสนาโดยใช้ฌานเป็นบาทฐาน และแนวทางปฏิบัติภาวนาของพระโสภณมหาเถระ (มหาสีสยาดอ) มีความสอดคล้องกับพระไตรปิฎกและคัมภีร์วิสุทธิมรรคเช่นเดียวกัน มีการปฏิบัติทั้งแบบสมถยานิกะและวิปัสสนายานิกะ แต่ส่วนมากเป็นแนวทางการปฏิบัติภาวนาแบบวิปัสสนายานิกะ กล่าวคือเน้นการปฏิบัติวิปัสสนาล้วน ๆ โดยมุ่งสู่โสฬสญาณ

แนวทางปฏิบัติภาวนาของสมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (สุก
ญาณสํวโร) และพระโสภณมหาเถระ (พระมหาสีสยาดอ) สามารถนำมาเป็นแนวทางการปฏิบัติภาวนาร่วมสมัยหรือสำหรับสังคมปัจจุบันได้ 3 แนวทาง คือ (1) แนวทางปฏิบัติภาวนาที่มุ่งสู่ความสงบสุขเพื่อแก้ปัญหาความไม่สงบสุขของชีวิต (2) แนวทางปฏิบัติภาวนาที่มุ่งสู่ความรอบรู้เท่าทันเพื่อแก้ปัญหาความไม่รู้เท่าทันความจริงของชีวิต และ (3) แนวทางปฏิบัติภาวนาที่มุ่งสู่ทั้งความสงบสุขทั้งความรอบรู้เท่าทันเพื่อแก้ปัญหาไม่ความสงบสุขและปัญหาความไม่รู้เท่าทันความจริงของชีวิต

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

This thesis has three objectives:(1) to study practical guideline of bhāvanā including samathayānika and vipassanāyānika that appeared in Buddhist scriptures,  (2to study practical guidelines of bhāvanā of Somdej Phra Ariyavaṃsañāṇa Somdej Phra Saṅgharāja (Suk Ñāṇasaṅvaro) and  (3) to study practical guidelines of bhāvanā of Phra Sobhaṇamahāthera (Mahāsisayādaw) by using qualitative research methods in documentary research and the field studies.

The finding showed that the practical guideline of bhāvanā include samathayānika, emphasizing the practice of peace and meditation by using absoration as a base. And The practical guideline of bhāvanā include vipassanāyānika focusing on pure vipassana practice by focusing directly on the so-called "soḷasañāṇa".

Guidelines for the practice of bhāvanā of Somdej Phra Ariyavaṃsañāṇa  Somdej Phra Saṅgharāja (Suk Ñāṇasaṅvaro) is consistent with the Tipitaka and Visuddhimagga scripture. It is a clear guideline for meditation practice that emphasizes the practice of peace and prosperity by using absoration as a base. And the practice of bhāvanā of Phra Sobhaṇamahāthera (Mahāsisayādaw) is consistent with the Tipitaka and Visuddhimagga scripture.There are practices in both samathayānika and vipassanayānika but most of them are focused on vipassanā meditation practice aiming for soḷasañāṇa.

Guidelines for the practice of bhāvanā of Somdej Phra Ariyavaṃsañāṇa  Somdej Phra Saṅgharāja (Suk Ñāṇasaṅvaro)and Phra Sobhaṇamahāthera (Mahāsisayādaw) can be used as a guideline for contemporary bhāvanā or for the current society in 3 ways: (1) Guidelines for bhāvanā that focuses on peace to solve the life problems. (2) The practice of bhāvanā that focuses on the knowledge of wisdom, to solve the problems of ignorance towards truthfulness of life, and (3) guidelines for bhāvanā that leads to both peaceful and knowledgeable, to solve problems of non peace and ignorance towards the truth of lif

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 13.71 MiB 788 12 มิ.ย. 2564 เวลา 21:29 น. ดาวน์โหลด