-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการศึกษาอานิสงส์ในการฟังเทศน์มหาชาติของชาวพุทธไทย
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Study of the Benefits of Listening to Mahājātakadesanā of the Thai Buddhists
- ผู้วิจัยพระครูประดิษฐ์วชิรเขต ฐิตสาโร (อิ่มวงษ์)
- ที่ปรึกษา 1พระครูสิริรัตนานุวัตร, รศ. ดร.
- ที่ปรึกษา 2ดร. เจริญ มณีจักร์
- วันสำเร็จการศึกษา22/09/2019
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/688
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 264
- จำนวนผู้เข้าชม 448
บทคัดย่อภาษาไทย
การศึกษาวิจัยเรื่อง “การศึกษาอานิสงส์ในการฟังเทศน์มหาชาติของชาวพุทธไทย”
มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาประวัติและความเป็นมาของการเทศน์มหาชาติ 2) เพื่อศึกษาอานิสงส์ในการฟังเทศน์มหาชาติของชาวพุทธไทย 3) เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้หลักอานิสงส์ในการฟังเทศน์มหาชาติในชีวิตประจำวัน การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิจัยตามระเบียบวิธีวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) ซึ่งใช้วิธีการรวบรวมข้อมูล การศึกษาข้อมูลจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
ประวัติและความเป็นมาของการเทศน์มหาชาติ การเทศน์มหาชาติ เป็นพระเพณีของไทยมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยมาจวบจนถึงปัจจุบัน การเทศน์มหาชาติมีการจัดเป็นประจำทุกปี ในระหว่างเดือน 11 เดือน 12 หรือ เดือน 1 (เดือนอ้าย) ในปัจจุบันเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ที่เหมาะสม
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ไม่ห่างจากประเพณีดังเดิมมากมายนัก มหาชาติหรือเวสสันดรชาดกประกอบด้วยพระคาถาภาษาบาลี จำนวน 1,000 พระคาถา ลักษณะการเทศน์ เรียกว่า เทศน์คาถาพัน หรือเทศน์มหาชาติ มหาชาติทั้ง 13 กัณฑ์ ได้มีการต่างเป็นร่ายยาวด้วยท่วงทำนองอันไพเราะ และการเทศน์แต่ละกัณฑ์ก็มีท่วงทำนองที่แตกต่างกันออกไป เมื่อการเทศน์มหาชาติแต่ละกัณฑ์จบลงก็จะมีปี่พาทย์ประโคมเพลงประจำกัณฑ์รับกัณฑ์เทศน์อีกด้วย
อานิสงส์ในการฟังเทศน์มหาชาติของชาวพุทธไทย อานิสงส์ในเรื่องของการฟังเทศน์มหาชาติของชาวพุทธไทยเป็นเครื่องสะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตและคติความเชื่อของผู้คนในสังคมไทยที่มีความแนบแน่นอยู่กับพุทธศาสนามาอย่างยาวนาน กล่าวคือหากผู้ใดได้ฟังเทศน์มหาชาติแล้วจะได้บุญใหญ่กุศลแรง ถือเป็นผู้ที่เกิดทันพระศาสนา หากได้ฟังเทศน์มหาชาติครบทั้ง 13 กัณฑ์
คือ กัณฑ์ทศพร กัณฑ์หิมพานต์ กัณฑ์ทานกัณฑ์ กัณฑ์วนปเวสน์ กัณฑ์ชูชก กัณฑ์จุลพน
กัณฑ์มหาพน กัณฑ์กุมาร กัณฑ์มัทรี กัณฑ์สักบรรพ กัณฑ์มหาราช กัณฑ์ฉกษัตริย์ และกัณฑ์นครกัณฑ์แล้ว กุศลผลบุญนั้นจะส่งผลให้ไปเกิดร่วมพระธรรมยุคพระศรีอริยเมตไตรย จะได้ไปเกิดในทิพยวิมานสมบัติ เป็นผู้มีความสุข มีลาภยศไมตรีและสำเร็จในมรรคผลปรินิพพาน
การประยุกต์ใช้หลักอานิสงส์ในการฟังเทศน์มหาชาติในชีวิตประจำวัน บุคคลใดได้นำหลักของอานิสงส์ในเรื่องของการฟังเทศน์มหาชาติมาประยุกต์ใช้ชีวิตประจำวันแล้วนั้น เชื่อได้ว่าบุญบารมีแห่งการฟังเทศน์มหาชาตินั้น จะแสดงออกมาให้เห็นทางบุคลิกภาพของบุคคลนั้น กล่าวคือจะเป็นผู้มีความสุขุมเยือกเย็น หน้าตาผิวพรรณจะผ่องใส อารมณ์สดชื่นเบิกบานตลอดเวลา เป็นต้น
อีกทั้งยังสามารถนำหลักของอานิสงส์ในการฟังเทศน์มหาชาตินั้นมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
โดยสามารถประยุกต์ใช้เป็นหลักในการดำเนินชีวิต หรือยึดถือเป็นข้อคิดสติเตือนใจ สอนให้คนเรารู้จักการกระทำความดี ประกอบกรรมดี รู้จักการบำเพ็ญบุญ บริจาคทาน สละความเห็นแก่ตัว สละทรัพย์เพื่อสาธารณประโยชน์ เป็นการลดความตระหนี่ในใจ ลดความเห็นแก่ตัว ทำให้ไม่ยึดติดกับสิ่งที่เป็นรูป รสกลิ่น เสียง ที่เป็นอนิจจัง เพื่อเป็นบุญกุศลไว้ใช้ทั้งพบนี้และพบหน้า ดังคำขององค์พระผู้มีพระภาคเจ้าที่ว่า “บุญย่อมเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลายทั้งในโลกนี้และโลกหน้
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The thesis entitled “A Study of the Benefits of Listening to Mahājātakadesanā of the Thai Buddhists” consisted of three objectives namely: 1) to study the origin and history of Mahājātakadesanā
(Great Birth Sermon), 2) to study the benefits of listening to Mahājātakadesanā of the Thai Buddhists, and 3) to study the application of benefits in listening to Mahājātakadesanā in daily lives. The study was a documentary research with the data collected from related documents and research works.
From the study, it was found as follows:
1) From the study of the origin and history of Mahājātakadesanā, it reveals that Mahājātakadesanā or the Great Birth Sermon has been a tradition of Thailand since the Sukhothai period until the present time. Mahājātakadesanā is held annually during the eleventh month, twelveth month or first month. Although at present, Mahājātakadesanā is held accordingly to the appropriate situation, it does not differ much from the original tradition. Mahājātakadesanā or Vessantarajātaka consists of 1,000 Pali verses. The style of the sermon is called Phra Kha Tha Phan (1,000 stanzas). All 13 chapters of Mahājātakadesanā are verse form with beautiful melodies, and each chapter has a different melody. After the finish of each chapterof Mahājātakadesanā, there is a gamelan striking up a fanfare together with a song of each chapter to begin the new chapter.
2) From the study of the benefits of listening to Mahājātakadesanā of Thai Buddhists, it reveals that the benefits are the reflection of the ways of lives and beliefs of people in the Thai society that are closely attached to Buddhism for a long time. Those who listen to Mahājātakadesanā will get a lot of merits. Those who listen to all 13 chapters of Mahājātakadesanā namely: 1) Thotsaphorn (Ten Blessings);
2) Himaphaan (Himalayan Forest); 3) Thaanaakan (Charity/ Donations); 4) Vannaphravet (Entrnce into the forest); 5) Chuchok (Chuchok, the Brahmin); 6) Julaphon (Sparse forest); 7) Mahaphorn (Think forest);
8) Kumaan (The Royal children); 9) Matsi (Masti, Vessantdorn’s wife); 10) Sakkaban (Indra’s words); 11) Mahaaraat (The Great king);
12) Chaukrasat (The Six royals); and 13) Nakhonakan (Return to the Kingdom),the benefits will result in being reborn in the same era as Metteyya, reborn in the divine fairly-palace, being happy, full of fortune and successful in attaining Nibbāna.
3) From the study of the application of benefits in listening to Mahājātakadesanā in daily lives, it reveals that any person who applies Mahājātakadesanā in daily lives will get a lot of merits resulting in the personality of that person, that is, calm; bright skin and face, joyful mood, etc. The benefits of Mahājātakadesanā can also be applied as the principles for the way of life to always do good deeds; do good kamma; make merits; give donation; and give one own's property for public benefit as these are the ways to decrease the stinginess and selfishness in a person’s mind and not to be attached to the material things including taste; scent; and voice that all are impermanent. These will result in the merits for both present life and the next life which is acoordingly to the word of the Buddha, “Merits are the refuge of beings in the life thereafter
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 1.92 MiB | 264 | 12 มิ.ย. 2564 เวลา 21:40 น. | ดาวน์โหลด |