-
ชื่อเรื่องภาษาไทยวิเคราะห์หลักพุทธธรรมที่ปรากฏในประเพณีการเปลี่ยนผ้าครองสรีระ ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษAn Analysis of Buddhadhamma in Cloth Changing Tradition of Kruba Chayawongsa Phatthana Wat Phra Phutthabat Huai Tom, Li District, Lamphun Province
- ผู้วิจัยพระมหากาชาติ กลฺยาณธมฺโม (คนึงความดี)
- ที่ปรึกษา 1พระครูสิริสุตานุยต, ผศ. ดร.
- ที่ปรึกษา 2ผศ. (พิเศษ) ดร.ปกรณ์ มหากันธา
- วันสำเร็จการศึกษา10/03/2020
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/690
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 321
- จำนวนผู้เข้าชม 358
บทคัดย่อภาษาไทย
การศึกษาวิจัยเรื่อง “วิเคราะห์หลักพุทธธรรมที่ปรากฏในประเพณีการเปลี่ยนผ้าครองสรีระครูบาชัยยะวงศาพัฒนา วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน” มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาประเพณีการเปลี่ยนผ้าครองสรีระของพระเถระที่มรณภาพในล้านนา 2) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมที่ปรากฏในประเพณีการเปลี่ยนผ้าครองสรีระครูบาชัยยะวงศาพัฒนาของชุมชนบ้านห้วยต้ม อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน และ 3) เพื่อวิเคราะห์หลักพุทธธรรมที่ปรากฏในประเพณีการเปลี่ยนผ้าครองสรีระครูบา ชัยยะวงศาพัฒนาของชุมชนบ้านห้วยต้ม อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้วิจัยเลือกผู้ให้สัมภาษณ์ 25 รูป/คน จากกลุ่มผู้ที่ให้ข้อมูลสำคัญ คือ กลุ่มที่ 1 พระสังฆาธิการ จำนวน 5 รูป/คน กลุ่มที่ 2 ข้าราชการหรือนักวิชาการทางศาสนา จำนวน 5 รูป/คน และกลุ่มที่ 3 ผู้นำชุมชนและผู้ศรัทธา จำนวน 15 คน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ประเพณีการเปลี่ยนผ้าครองสรีระของพระเถระที่มรณภาพในล้านนา พบว่า ในอดีตไม่ปรากฏหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรว่ามีการเก็บสรีระสังขารของพระเถระไว้ คาดว่าการเก็บสรีระได้เกิดขึ้นในช่วงพุทธศักราช 2520 ซึ่งเป็นการเก็บสรีระของครูบาอภิชัยขาวปี ไว้ในวัดพระพุทธบาท ผาหนาม และพบประเพณีการเปลี่ยนผ้าครองสรีระครูเจ้ากัญไชย กาญจโน และหลวงปู่ครูบาครอง ขัตติโย ประเพณีการเปลี่ยนผ้าครองสรีระ มีความสำคัญต่อการแสดงออกถึงความกตัญญูรู้คุณของ ครูบาอาจารย์
2. หลักพุทธธรรมที่ปรากฏในประเพณีการเปลี่ยนผ้าครองสรีระครูบาชัยยะวงศาพัฒนาของชุมชนบ้านห้วยต้ม อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ได้แก่ 1) หลักศรัทธา ซึ่งเกิดจากการที่ศิษยานุศิษย์มีความเลื่อมใสศรัทธาจริยาวัตรที่ดีงามของครูบาชัยยะวงศาพัฒนา 2) หลักสามัคคีธรรม คือ ความสามัคคี ความพร้อมเพรียงกันทั้งของผู้จัดงานประเพณีและผู้ที่เข้าร่วมงานประเพณี 3) หลักกตัญญู คือ การแสดงออกถึงความกตัญญูของศิษยานุศิษย์ที่มีต่อครูบาชัยยะวงศาพัฒนา 4) หลักทาน คือ เป็นการให้ทานด้วยทรัพย์สิน เงินทอง อาหาร สิ่งของ และทานด้วยการให้ชีวิต เป็นการงดเว้นจากการฆ่า 5) หลักบูชา คือ มีการบูชาด้วยอามิสบูชา และปฏิบัติบูชา
3. วิเคราะห์หลักพุทธธรรมที่ปรากฏในประเพณีการเปลี่ยนผ้าครองสรีระครูบาชัยยะวงศาพัฒนาของชุมชนบ้านห้วยต้ม อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน พบว่า 1) หลักศรัทธา เป็นการแสดงออกถึงความศรัทธาที่มีต่อครูบาชัยยะวงศาพัฒนา ความศรัทธาที่เกิดขึ้นได้สร้างเป็นอัตลักษณ์เชิงประจักษ์ อันจะเป็นการปฏิบัติตามคติความเชื่อที่จะสืบต่อกันไปในอนาคต 2) หลักสามัคคีธรรม เป็นการแสดงออกถึงความสามัคคี ความพร้อมเพรียงกัน ความมีน้ำหนึ่งใจเดียวกัน เป็นความสมานฉันท์ของหมู่คณะ ที่ร่วมกันจัดงานประเพณีจนสำเร็จลุล่วงด้วยดีในทุกครั้ง 3) หลักกตัญญู เป็นการแสดงออกถึงความกตัญญูกตเวทิตาต่อบุคคลผู้เป็นพระเถระที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบที่ควรกตัญญู ที่ซึ่งควรระลึกถึงและตอบแทน 4) หลักทาน เป็นการให้ทานด้วยทรัพย์สินเงินทองสิ่งของ อาทิ ต้นทานและการแจกจ่ายอาหารอีกทั้งมีการให้ทานด้วยการให้ชีวิต คือ การไม่ทานเนื้อสัตว์ ซึ่งเป็นการงดเว้นจากการฆ่า การให้ทานตามความเชื่อเปรียบเหมือนบันไดขั้นแรกที่จะนำขึ้นสู่สวรรค์ 5) หลักบูชา มี 2 รูปแบบ คือ อามิสบูชา เป็นการบูชาด้วยเครื่องสักการะ มีดอกไม้ธูปเทียน หรือสิ่งของ และปฏิบัติบูชา เป็นการบูชาด้วยธรรม คือ การประพฤติปฏิบัติตามคำสอน มีการสวดมนต์ ไหว้พระ ปฏิบัติธรรม อุทิศถวายบุญกุศลแด่ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
This research entitled "An Analysis of Buddhadhamma in Cloth Changing Tradition of Kruba Chaiyawongsa Phatthana Wat Phra Phutthabat Huai Tom, Li District, Lamphun Province" has the objectives as follows: 1) to study the tradition of clothes changing of senior monks who died in Lanna, 2) to explore the principles of Buddhadhamma in cloth changing tradition of Kruba Chaiyawongsa Phatthana of Huai Tom community, Li district, Lamphun province, and 3) to analyze the principles of Buddhadhamma in the tradition of cloth changing of Kruba Chaiyawongsa Phatthana of Ban Huai Tom community, Li district, Lamphun province. This study is a qualitative research by using participant observation and in-depth interviews. The researcher interviews 25 people from the key informants, including the first group is 5 executive monks, the second group is 5 officials or religious scholars, and the third group is 15 community leaders and believers.
The findings of this research are as follows:
1. The tradition of clothes changing of senior monks who died in Lanna found that, in the past, there was no written evidence that there was kept the body senior monks and expected that keeping body occurred during the year 1977 that is the keeping body of Kruba Aphichai Khao Pi at Wat Phra Phutthabat Pha Nam, found the tradition of cloth changing of Kru Chao Kanchai Kanchano and Luang Poo Kruba Khrong Khattiyõ. The importance of cloth changing tradition is to express the gratitude to teachers.
2. The principles of Buddhadhamma in the tradition of cloth changing of Kruba Chaiyawongsa Phatthana of Ban Huai Tom community, Li district, Lamphun province, including 1) the principle of faith: that occurs from the followers believe in the conducting of Kruba Chaiyawongsa Phatthana. 2) the principle of fellowship: that is the unity and unison of both the organizers and those who attend the tradition. 3) the principle of gratitude: that is to express the gratitude of followers towards Kruba Chaiyawongsa Phattana. 4) The principle of charity: that is to donate through money, food, belongings and giving life that is to refrain from killing. 5) the principle of Worship: that is to worship with material worship (Āmisa-püjã) and practical worship (Papatti - püjã).
3. An analysis of Buddhadhamma principles in changing cloth tradition of Kruba Chaiyawongsa Phattana of Ban Huai Tom Community, Li district, Lamphun province found that 1) the principle of faith is to indicate the faith towards Kruba Chaiyawongsa phathana. The faith that occurred has been created an empirical identity by following the belief that will inherit in the future. 2) the principle of fellowship is to show the unity, unison, solidarity, conformity of the group that helps each other in organizing the tradition until accomplished well every time. 3) The principle of gratitude is to express the gratitude to the people who are the senior monks, good practices that should be grateful and those who should be remembered and repaid. 4) the principle of charity is to give through money, possessions belongings such as money tree and food distribution as well as donation with giving life, including not eating meat which is a refrain from killing. Donation by faith is like the first step that leads to heaven. 5) the principle of worship has 2 types, including Āmisa-püjã is the worship with flowers, joss sticks, candles, or objects, and Papatti- püjã is the worship with practice, including that is to follow the teachings; there are to chant, pay respect to Buddha image, practice meditation in order to dedicate merit to Kruba Chaiyawongsa Phattana.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 11.82 MiB | 321 | 13 มิ.ย. 2564 เวลา 01:05 น. | ดาวน์โหลด |