-
ชื่อเรื่องภาษาไทยศัสตราวุธในฐานะเครื่องประกอบพิธีสมโภชพระพุทธรูของชาวล้านนา
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษŚastrāvudhā (Weapons) as the Accessories for the Celebration of the Buddha Statues in Lanna
- ผู้วิจัยพระเมธี กญฺจนวํโส (พรมแก้ว)
- ที่ปรึกษา 1พระมหาอินทร์วงค์ อิสฺสรภาณี, ดร.
- ที่ปรึกษา 2พระครูโกวิทอรรถวาที, ผศ.ดร.
- วันสำเร็จการศึกษา10/03/2020
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/691
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 1,186
- จำนวนผู้เข้าชม 650
บทคัดย่อภาษาไทย
การศึกษาวิจัยเรื่อง ศัสตราวุธในฐานะเครื่องประกอบพิธีสมโภชพระพุทธรูปในล้านนา โดยมีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาศัสตราวุธที่ปรากฏในพระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาศัสตราวุธในฐานะที่เป็นเครื่องประกอบพิธีสมโภชพระพุทธรูปในล้านนา 3) เพื่อวิเคราะห์ศัสตราวุธในฐานะที่เป็นเครื่องประกอบพิธีสมโภชพระพุทธรูปในล้านนา โดยศึกษาข้อมูลจากตำราวิชาการทางพระพุทธศาสนา รวมถึงสัมภาษณ์จากผู้ทรงคุณวุฒิหลายท่าน
ผลจากการศึกษาพบว่า ศัสตราวุธ บางทีเขียนเป็นศาสตราวุธ หมายถึงเครื่องมือประหัตประหาร ทำลาย เบียดเบียนชีวิต เป็นต้น โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ศัสตราวุธ และธรรมาวุธ ศัสตราวุธ ได้แก่ ดาบ ลูกศร ดาบ หอก ไม้ ปืน เป็นต้น เพื่อนำมาทำร้าย ป้องกัน ต่อสู้ ประหาร หรือฆ่าศัตรูให้บาดเจ็บหรือเสียชีวิต หรือแม้แต่สิ่งของต่างที่สามารถนำมาทำร้าย ทำให้บาดเจ็บหรือตายได้ ซึ่งก็ถือว่าเป็นอาวุธเช่นเดียวกัน ส่วนธรรมาวุธ คือ อาวุธอันเป็นลักษณะของธรรมะ ใช้สำหรับประหัตประหารทำลายอกุศลกรรมต่างๆ ไม่ได้มีไว้สำหรับการฆ่าฟันทำร้ายผู้อื่นปราศจากการเบียดเบียนชีวิตยังเป็นอาวุธที่ไม่สนับสนุนศัสตราวุธด้วย ธรรมาวุธ ได้แก่ 1) สุตาวุธ อาวุธคือสุตะ 2) ปวิเวกาวุธ อาวุธคือวิเวก และ ๓) ปัญญาวุธ อาวุธคือปัญญา
ในสังคมล้านนาได้นำศัสตราวุธมาใช้กับพิธีกรรมสำคัญ โดยเฉพาะพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาที่สำคัญ คือ พิธีสมโภชพระพุทธรูปในล้านนา ซึ่งมีคติความเชื่อเกี่ยวกับการสร้างพระพุทธรูปในล้านนา โดยมีความเชื่อว่าการสร้างพระพุทธรูปจะสามารถค้ำชูพระพุทธศาสนาให้ดำรงอยู่ยาวถึง 5,000 พรรษา มีอานิสงส์ให้ได้เกิดเป็นมนุษย์ในโลก สวรรค์ และจะได้นิพพาน หรือได้พบพระศรีอาริยเมตไตรย ซึ่งในพิธีกรรมนั้นศัสตราวุธได้ถูกนำมาเป็นเครื่องประกอบพิธีสมโภชพระพุทธรูป เรียกว่ากกุธภัณฑ์ห้าละแอ หมายถึงประกอบไปด้วยสิ่งของ 5 สิ่ง ได้แก่ 1) พิชัยมงกุฎ 2) พรรขรรค์ 3) ธารพระกร 4) พัดวาลวิชนะพร้อมด้วยแส้จามรี และ 5) ฉลองพระบาท บางตำราเรียกเครื่องท้าว 5 ประการ ได้แก่ 1) เพิงพัตร 2) พัดพ้าว 3) จามร 4) บังวัน (บังศูนย์) และ 5) ไม้เท้าหรือไม้วา
ศัสตราวุธในฐานะเป็นเครื่องประกอบพิธีสมโภชพระพุทธรูปในล้านนาพบว่า อาวุธที่ใช้ในพิธีสมโภชพระพุทธรูปเป็นการนำอาวุธมาเป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมในลักษณะของเครื่องสูง โดยอาวุธเหล่านี้อาจเป็นอาวุธจริงหรือจำลองที่ทำมาจากไม้ก็ได้ โดยใช้เป็นสัญลักษณ์แทนความเป็นพระมหากษัตริย์ แสดงฐานะความเป็นเจ้าชายสิทธัตถะก่อนออกผนวช และยังแสดงถึงอัตลักษณ์ความเป็นล้านนา ซึ่งแสดงให้เห็นว่าแม้พระพุทธเจ้าจะทรงผนวชเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว แต่ชาวล้านนายังคงเคารพนับถือและให้เกียรติในฐานะที่ทรงอยู่ในวรรณะกษัตริย์มาจนถึงปัจจุบัน
ผลการศึกษาพบว่า ศัสตราวุธ เป็นสิ่งที่พระพุทธศาสนาไม่ให้เข้าไปเกี่ยวข้อง ห้ามนำมาค้าขาย ถือว่าเป็นมิจฉาวณิชชา เพราะจะส่งผลให้เกิดการเบียดเบียนฆ่าฟันกัน ทำให้ผู้อื่นเกิดอันตรายถึงขั้นบาดเจ็บล้มตาย แต่ก็ใช่ว่าจะห้ามขายเลยทีเดียวทั้งนี้ต้องพิจารณาถึงเจตนาอันเป็นประโยชน์ด้วยเพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์สังคมโลกในปัจจุบันโดยใช้หลักพุทธจริยศาสตร์เข้ามาวินิจฉัยร่วม นอกจากนี้แล้วศัสตราวุธได้ถูกนำมาใช้ในพิธีสมโภชพระพุทธรูปของชาวล้านนา ที่ใช้เป็นสัญลักษณ์แทนความเป็นกษัตริย์ของเจ้าชายสิทธัตถะ และสาระธรรมปัญญาเปรียบดั่งอาวุธ ตามพุทธพจน์ที่ว่า ปัญญาเปรียบดั่งอาวุธ นั่นเอง
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The thesis entitled “Śastrāvudhā (Weapons) as the Accessories for the Celebration of the Buddha Statues in Lanna” consisted of three objectives: 1) to study Śastrāvudhā (weapons) in Buddhism; 2) to study Śastrāvudhā (weapons) as the accessories for the celebration of the Buddha statues in Lanna; 3) to analyze Śastrāvudhā (weapons) as the accessories for the celebration of the Buddha statues in Lanna. The study was conducted by studying the data from Buddhist academic books as well as an in-depth interview with experts.
The study found that Śastrāvudhā refers to any device that can be used to execute, destroy and inflict damage or harm, etc. There are two types of āvudhā, which are Śastrāvudhā and Dhammavudhā. Śastrāvudhā can harm, protect, execute or injure and kill the enemy. Examples of Śastrāvudhā are such as sword, arrow, spear, wood, gun, etc. Any device or thing that can be used to harm, hurt or kill others is also categorized as a weapon. Dhammāvudhā refers to Dhamma as weapon for executing an unwholesome action (Akusalakamma), not for killing or harming others. Dhammāvudhā is without the harming of life and does not support Śastrāvudhā. Examples of Dhammāvudhā are such as 1) Śastrāvudhā: weapon is Suta (Learning); 2) Pavivekāvudhā: weapon is Viveka (Seclusion); and 3) Paññāvudhā: weapon is Paññā (Wisdom).
In Lanna society, Śastrāvudhā has been used in important rituals, especially Buddhist rituals, that is, the celebration of the Buddha’s statues in Lanna, as there is a belief about the building of the Buddha’s statues in Lanna that it will be able to sustain Buddhism for as long as 5,000 years. The benefits from building Buddha’s statues are believed to be reborn as a human in the world, heaven, and will attain Nibbāna, or getting to meet with Maitreya, the future Buddha. In the celebration, Śastrāvudhā is being used as the accessories, which is called the Royal Regalia consisting of five things, as follows: 1) The Great Crown of Victory (Uṇhīsa); 2) The Sword of Victory (Khagga); 3) Royal Scepter (Chatta); 4) The Royal Fan (Vāḷavījanī); and 5) The Royal Slippers (Pādukā).
Śastrāvudhā as the accessories for the celebration of the Buddha statues in Lanna, it was found that weapons used as part of a ritual for the celebration may be real weapons or wooden simulations weapons by using as a symbol representing the King. They also represent the status of Prince Siddhartha before ordination as well as representing the identity of Lanna. Even though Prince Siddhartha had ordained and became the Buddha, Lanna people still have respected and honored as being the king in the social caste to the present day.
The results of the study found that Buddhism does not allow to get involved with Śastrāvudhā and cannot be traded. They are categorized as trades which should not be plied by a lay disciple (Micchāvaṇijjā) because they can result in the killing of each other's life and causing others to be dangerous to the extent of casualties. However, it is not strictly forbidden to sell. The intention must be taken into account, in a way that it can benefit society, in order to be suitable for the current world social situation by applying Buddhist ethics to help in the decision-making. As in the case that Śastrāvudhā have been used in the celebration of the Buddha’s statues of Lanna people, representing the kingship of Prince Siddhartha. As well as, according to the words of the Buddha that “Wisdom is like a weapon.”
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 7.7 MiB | 1,186 | 13 มิ.ย. 2564 เวลา 01:17 น. | ดาวน์โหลด |