-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการศึกษาจรรยาบรรณแพทย์แนวพุทธที่ปรากฏในตำราแพทย์แผนไทย
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Study of Buddhist Medical Ethics Appearing in the Textbook of Thai Traditional Medicine
- ผู้วิจัยนางศิวนาถ ยอดสุวรรณ์
- ที่ปรึกษา 1พระครูสิริรัตนานุวัตร, รศ.ดร.
- ที่ปรึกษา 2ดร.เจริญ มณีจักร์
- วันสำเร็จการศึกษา09/09/2019
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/692
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 461
- จำนวนผู้เข้าชม 3,478
บทคัดย่อภาษาไทย
การศึกษาวิจัยเรื่อง “การศึกษาจรรยาบรรณแพทย์แนวพุทธที่ปรากฏในตำราแพทย์แผนไทย” มีวัตถุประสงค์ศึกษา คือ (1) เพื่อศึกษาคำสอนทางพระพุทธศาสนาที่มีต่อการแพทย์แผนไทย (2) เพื่อศึกษาจรรยาบรรณแพทย์ที่ปรากฏอยู่ตำราแพทย์แผนไทยและ (3) เพื่อศึกษาคำสอนทางพุทธศาสนาที่มีต่อจรรยาบรรณแพทย์แผนไทย มีวิธีวิจัยเชิงเอกสาร และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา
ผลการวิจัย พบว่า คำสอนทางพระพุทธศาสนาที่มีต่อการแพทย์แผนไทยโดยหลัก ๆ คือ โดยมีจิตสำนึกที่จะรักษาคนไข้ เป็นไปตามที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า ความไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ พระองค์ทรงบัญญัติเสขิยวัตรเกี่ยวกับน้ำที่สะอาด เสนาสนะสะอาด กำหนดเก็บอาหารตามกาลิก เช่น อาหารสัตตาหกาลิกเก็บไว้รับประทานได้ 7 วันเพื่อป้องกันการบูดเน่า ทรงอนุญาตปัญจเภสัชแก่ภิกษุสงฆ์ฉันได้ตลอด 7 วัน บัญญัติศีล 5 เป็นหลักการประกันชีวิต ใช้โพชฌงคสูตรซึ่งเป็นมนต์ที่มีอานุภาพซึ่งใคร ๆ สาธยายแล้วสามารถบรรเทาอาการไข้ได้ พระพุทธจ้าสอนให้แพทย์แผนไทยมีความเมตตากับคนไข้ด้วยการคิดค่าที่เป็นธรรม ปราศจากความโลภ ไม่เห็นแก่ได้ และทำกิจกรรมคิลานุปัฏฐากเยี่ยมไข้เพื่อ (1) การให้กำลังใจคนป่วย (2) การให้กำลังใจคนชรา (3) การให้กำลังใจนิสิต นักศึกษา (4) การให้กำลังใจคนประสบทุกข์ (5) มีปิยวาจาต่อคนไข้ (6) บริหารสถานพยาบาลด้วยหลักจักขุมา วิธุระ และนิสสยสัมปันนะ
จรรยาบรรณแพทย์แผนไทยที่ปรากฏอยู่ตำราแพทย์แผนไทย พบว่า มี 12 ข้อหลัก ๆ คือ (1) มีความเมตตา (2) ไม่เห็นแก่ลาภ (3) ไม่โอ้อวด (4) โอ้อวดรู้ (5) ไม่อิจฉาปิดบังความดีของผู้อื่น (6) ไม่เพ่งหวังลาภแก่ผู้อื่น (7) ไม่ลุแก่อำนาจที่ตรงข้ามกับคำสอน (8) ไม่หวั่นไหวในโลกธรรม (9) มีหิริโอตตัปปะ (10) ไม่เป็นคนเกียจคร้านมักง่าย (11) มีโยนิโสมนสิการ และ (12) ไม่มัวเมาหรือดื่มสุรา และจรรยาบรรณรองคือ ตัวอย่างจรรยาบรรณหมอพร ที่เป็นต้นแบบเสียสละ (จาคะ) รวมถึงจรรยาบรรณในเรื่องการไม่เห็นแก่อามิสสินจ้าง (อามิสสจักษุ) ระวังอวิชชา มีนิสสัยดี และเชื่อกฎแห่งกรรม
คำสอนทางพุทธศาสนาสอนให้แพทย์แผนไทยมีจรรยาบรรณต่อคนไข้โดยดูแลใกล้ชิด นับแต่ที่ไข้เข้าหาแพทย์จนถึงคนไข้ออกจากการรักษา โดยอาศัยธรรมหลัก ๆ คือ วิริยะ ความขยัน อัปปมาทะ ไม่ประมาท สัจจะ มีความสัตย์ หิริโอตตัปปะ มีความละอายเกรงกลัวต่อบาป ปริปุจฉาการสืบค้นหาความรู้ และมีธรรมอื่น ๆ จากนี้ที่จะครอบคลุมจรรยาบรรณของบุคคลทางการแพทย์ได้แก่ มีสัมมากัมมันตะ ที่งดเว้นจากการไม่ฆ่าสัตว์ จากการลัก และจากการประพฤติผิดประเวณี มีสัมมาวาจา ทำหน้าที่โดยไม่พูดเท็จ ไม่พูดคำหยาบ ไม่พ่อส่อเสียด ไม่พูดเพ้อเจ้า มีทาน คือการให้ด้วยสิ่งของ สิ่งจำเป็นในยามปกติหรือยามประสบภัยแม้ให้ความรู้ความเข้าใจ และให้อภัย โดยอโหสิกรรมหรือยกโทษให้ และสุดท้ายคือ มีสัมมาปัญญา รู้เข้าใจในสัจธรรม รู้กฎแห่งกรรม รู้ความถูกต้องและความผิดที่จะให้คุณให้โทษอย่างไร
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The thesis entitled “A Study of Buddhist Medical Ethics Appearing in the Textbook of Thai Traditional Medicine” consisted of 3 objectives, namely: 1) to study the Buddhist teachings on the Thai traditional medicine, 2) to study medical ethics appearing in the textbook of Thai traditional medicine, and 3) to study the Buddhist teachings on the medical ethics of Thai traditional medicine. The study employed documentary qualitative method.
From the study, it was found that The main Buddhist teaching on Thai traditional medicine is to have consciousness to treat patients which is according to what the Buddha said, that is, “Health is wealth.” The Buddha laid down the Sekhiya (training rule) dealing with pure water, cleaning dwelling places, and keeping food within the allowed time. For example, Sattāhakālika, the food that is allowed to keep for eating within 7 days in order to prevent rotting. He laid down the Five Precepts as the life insurance. He taught the Bojjhanga Sutta for treating the patients, it is the powerful sutta that could relieve the illness. He taught the Thai traditional medicine to have kindness towards the patients by: 1) giving encouragement to patients, 2) giving encouragement to elderly, 3) giving encouragement to students, 4) giving encouragement to those who are suffering, 5) having kindly speech with patients, and 6) managing the hospital according to the Three Qualities of a Successful Businessman (Pāpanika-dhamma) which consists of: 1) Vision factors (Cakkhumā), 2) Skillful factors (Vidhūro), and 3) Relationship factors (Nissayasampanno).
The medical ethics of Thai traditional medicine appearing in the textbook consist of 12 main principles which are: 1) to be kind, 2) to not take favor in fortune, 3) to not boast, 4) to not cover up one’s foolishness, 5) to not be jealous and cover up other people’s goodness, 6) to not be greedy in other people’s fortune, 7) to not take favor in power that is against with the teaching, 8) to not be waver in worldly pleasure, 9) to have moral shame and fear (Hiri Ottappa), 10) to not be a lazy and careless person, 11) to have an analytical reflection (Yonisomanasikāra), and 12) to not drink alcohol and get drunk. The next below medical ethics is the medical ethics of Doctor Pon who is the role model in sacrificing (Cāga) including the ethics on not taking favor in bribery (Āmisacakkhu), to be farefull in ignorance (Avijjā), good habit and the belief in the law of kamma.
The Buddhist teachings teach the Thai traditional medicine to have the medical ethics when getting in contact with the patients starting from the moment when the patients come to see the doctors until the patients finish with the treatment by applying the teachings on Viriya or Perseverance, Appamāda or Diligence, Sacca or Truth, Hiri Ottappa or moral shame and fear, and Paripucchā or to have virtuous counselors and seek after greater virtue. There are also other Buddhist teachings regarding the ethics of medical people such as Sammākammanta or the right action by abstaining from killing, stealing and committing adultery; Sammāvācā or the right speech by speaking no lie, no rude word, and no blathering; Dāna or giving by giving necessary things in both normal times or in times of disaster. Giving can also be knowledge, understanding, and forgiveness; and Sammāpaññā or right understanding by having understanding in the truth, the law of kamma, the right and the wrong.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 3.04 MiB | 461 | 13 มิ.ย. 2564 เวลา 01:52 น. | ดาวน์โหลด |