-
ชื่อเรื่องภาษาไทยอิทธิพลแห่งคำสอนพระพุทธศาสนามหายานที่มีต่อการสถาปนาเส้นทางราชมรรคาของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Influence of Mahayana Doctrines on the Construction of the Royal Road of King Jayavarman VII
- ผู้วิจัยนางสาวจิรารัตน์ จารุวัฒนาศิริ
- ที่ปรึกษา 1พระมหาสมบูรณ์ วุฑฺฒิกโร, รศ. ดร.
- ที่ปรึกษา 2รศ. ดร.สมิทธิพล เนตรนิมิตร
- วันสำเร็จการศึกษา16/03/2020
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/693
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 171
- จำนวนผู้เข้าชม 604
บทคัดย่อภาษาไทย
วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ (1) เพื่อศึกษาความสำคัญของเส้นทางราชมรรคา (2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ทางประติมานวิทยาในงานพุทธศิลป์บนเส้นทางราชมรรคากับคติคำสอนในพระพุทธศาสนามหายาน (3) เพื่อศึกษาอิทธิพลของคำสอนพระพุทธศาสนามหายานที่มีต่อการสถาปนาเส้นทางราชมรรคาของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 วิทยานิพนธ์นี้ศึกษาเอกสารและหลักฐานทางโบราณคดีเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ
จากการศึกษาพบว่าราชมรรคาเส้นทางจากเมืองพระนคร-พิมาย เป็นเส้นทางที่ใช้สัญจรเชื่อมระหว่างชุมชนมาตั้งแต่ก่อนสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ความสำคัญของชุมชนแถบเมืองพิมายนอกจากเป็นแหล่งทรัพยากรแล้ว ยังมีความสัมพันธ์ทางเครือญาติและเป็นเครือข่ายการปกครองของอานาจักรเขมรโบราณ พอถึงรัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 จึงสถาปนาเป็นถนนหลวงซึ่งเป็น 1 ใน 5 เส้นทางสำคัญ พร้อมกับสร้างที่พักคนเดินทางหรือธรรมศาลาไว้ตามแนวถนน
ประติมากรรมรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรตามคติพุทธศาสนามหายานนิกายตันตระหรือ วัชรยาน ได้รับการนับถือเป็นรูปเคารพสำคัญที่ธรรมศาลา และอโรคยศาลา การที่พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ทรงประกอบพระราชกรณียกิจ เช่น การสถาปนาถนนราชมรรคา ก็เพื่อเป็นการช่วยเหลือสรรพสัตว์ในโลกให้พ้นทุกข์ตามคติคำสอนเรื่องพระโพธิสัตว์ในพระพุทธศาสนามหายาน
พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรได้รับการเคารพนับถือในอาณาจักรเขมรโบราณมาตั้งแต่ก่อนพุทธศตวรรษที่ 14 แต่เป็นที่นิยมศรัทธามากที่สุดในช่วงพุทธศตวรรษที่ 18 โดยเฉพาะคำสอนเกี่ยวกับพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรจากคัมภีร์การัณฑวยูหสูตร ซึ่งมีอิทธิพลเป็นอย่างมากต่อแนวคิด ค่านิยม ความเชื่อของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 คำสอนเรื่องความเมตตากรุณาของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรได้สะท้อนออกมาเป็นพระราชกรณียกิจต่างๆ ของพระองค์ อาทิเช่นทรงสถาปนาถนนราชมรรคา และคําสอนเรื่องคุณลักษณะพิเศษของพระอวโลกิเตศวร ที่สามารถอวตารปรากฏพระองค์ในรูปลักษณ์ต่างๆ เพื่อความเหมาะสมในการสั่งสอนธรรมให้แก่สรรพสัตว์ได้สะท้อนออกมาเป็นงานประติมากรรมรูปเคารพจำนวนหนึ่งที่มีรูปลักษณ์หลากหลาย แต่ล้วนมีลักษณะพระพักตร์เป็นพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทั้งนี้เพื่อแสดงพระองค์ในฐานะเป็นพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
This thesis has three objectives: 1) to study the significance of the Royal Road, 2) to study the relationship of iconography between the Buddhist art on the Royal Road and the Mahayana doctrines, and 3) to study the influence of the Mahayana doctrines on the construction of the Royal Road of King Jayavarman VII. This is a qualitative research done by studying documents and archeological evidences.
In the study, it was discovered that the royal roads radiate from the centre of the Ancient Khmer Empire toward provincial Khmer cities. There is a royal road that connects the Angkor area to Phimai in Thailand was the route that linked the communities in surrounding areas of Phimai before the reign of King Jayavarman VII. The importance of Phimai community, besides being the land resources, was that it contained the relationship of relatives and the governing network of the Ancient Khmer Empire. During the period of King Jayavarman VII, the route Angkor-Phimai was constructed as one of the five essential routes of the royal roads. In addition, the rest houses for pilgrims or the Fire Shrines (Dharmaçala in Sanskrit) were also built along the royal roads.
Many sculptures of Bodhisattva Avalokiteshvara based on Mahayana Buddhist Tantric principles or Vajrayãna were regarded as the most important worshiping Iconic at the Fire Shrines and hospitals (Arogayaçala in Sanskrit). King Jayavarman VII performed the royal duties such as the royal road establishment for the purpose of helping all beings to be free from suffering according to Mahayana Buddhist doctrines of Bodhisattva.
The Bodhisattava Avalokiteshvara was respected among the kingdom of ancient Khmer since before the 14th Buddhist century but become the most popular in the reign of King Jayavarman VII (the 18th Buddhist century). The doctrine about Bodhisattava Avalokiteshvara from Kãraṇḍavayuhasutta scripture was the most influential to the value, concept and belief of King Jayavarman VII. The doctrines on loving kindness and compassion of Bodhisattava Avalokiteshvara were reflected in the form of his personal royal duties such as his construction the Royal Roads and the doctrine that Bodhisattava Avalokiteshvara can take the serveral forms of appearances to ensure the most effective ways of teaching Dhamma to all living creatures and whereby reflecting in the iconography of various sculptures; all were the only faces of King Jayavarman VII. This is to show himself as the Bodhisattva Avalokiteshvara.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 17 MiB | 171 | 13 มิ.ย. 2564 เวลา 02:05 น. | ดาวน์โหลด |