โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    พุทธวิธีการยับยั้งปัญหาความประมาทในชีวิตประจำวันของวัยรุ่น
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Buddhist Methods for Restraining Problems of Carelessness in Daily life of teenagers
  • ผู้วิจัยพระใบฏีกาเอกชัย อภิชยญาโณ (พลอยอร่าม)
  • ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.แม่ชีกฤษณา รักษาโฉม
  • ที่ปรึกษา 2ดร.อรชร ไกรจักร์
  • วันสำเร็จการศึกษา24/10/2019
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/695
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 240
  • จำนวนผู้เข้าชม 350

บทคัดย่อภาษาไทย

                     การศึกษาเรื่อง “พุทธวิธีการยับยั้งปัญหาความประมาทในชีวิตประจำวันของวัยรุ่น” มีวัตถุ ประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาความประมาทในชีวิตประจำวันของวัยรุ่น 2) เพื่อศึกษาการยับยั้งความประมาทในชีวิตประจำวันของวัยรุ่น และ 3) เพื่อเสนอพุทธวิธีการยับยั้งปัญหาความประมาทในชีวิตประจำวันของวัยรุ่น วิธีดำเนินการวิจัยในครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ (Quality Research)   

                    ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัญหาพฤติกรรมความประมาทในชีวิตประจำวันของวัยรุ่น ที่ทำให้วัยรุ่นประมาทในการดำเนินชีวิตมี 3 สาเหตุ คือ 1) ปัญหาที่เกิดจากตัวของวัยรุ่นเอง 2) ปัญหาที่เกิดจากครอบครัว และ 3) ปัญหาที่เกิดจากสภาพแวดล้อมทางสังคม  พุทธวิธียับยั้งความประมาทในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท มีวิธียับยั้งความประมาทใน 3 ประเด็น ดังนี้ 1) พุทธวิธีการยับยั้งความประมาททางกาย ได้แก่ ไม่ฆ่ามนุษย์และสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่คดโกง และไม่ประพฤติผิดในกาม 2) พุทธวิธียับ ยั้งความประมาททางวาจา ได้แก่ ไม่กล่าวคำเท็จหลอกลวงผู้อื่น ไม่กล่าวคำหยาบคายด่าทอ ไม่กล่าวคำยุยงให้แตกสามัคคี  ไม่กล่าวคำเพ้อเจ้อ และ 3) พุทธวิธียับยั้งความประมาททางใจ ได้แก่ ไม่เป็นคนมักมาก ไม่โลภมาก ไม่พยาบาทอาฆาตจองเวรผู้อื่น และไม่หลงมัวเมาเห็นผิดเป็นชอบ

                    พุทธวิธีการยับยั้งความประมาทในชีวิตประจำวันของวัยรุ่นในทัศนะของนักวิชาการได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับวิธียับยั้งความประมาท 5 วิธี คือ 1) การวางแผนชีวิตในการพัฒนาตนเองให้สูงขึ้นในด้านศีลธรรมและหน้าที่การงานพร้อมทั้งทรัพย์สินเงินทอง 2) การระลึกได้หมายรู้ โดยมีสติสัมปชัญญะเป็นเครื่องกำกับ 3) การสร้างความรักความเข้าใจในครอบครัว 4) การตระหนักรู้ถึงคุณค่าชีวิต และ  5) ตระหนักรู้ในหน้าที่ รู้ตัวตนของตนเอง ส่วนแนวทางการปลูกฝังการยับยั้งความประมาท มี 8  แนวทาง คือ 1) การวางแผนอย่างเป็นระบบของหน่วยงาน องค์กร สถาบันการศึกษา ศาสนา และสถาบันครอบครัว 2) การสอนให้ใช้ชีวิตอย่างถูกต้องเหมาะสม  3) การฝึกระเบียบวินัยในตนเอง  4) การพูดคุยกันเชิงกัลยาณมิตร  5) การมีกิจกรรมเชิงธรรมะ  6) มีเวทีให้เด็กได้แสดงความคิดเห็น  7) การมีกรอบกติกาในการดำเนินชีวิต และ 8) การเป็นแบบอย่างที่ถูกต้อง   สำหรับวิธีการยับยั้งความประมาทในชีวิตประจำวันในทัศนะของวัยรุ่นมี 5 วิธีดังนี้ 1) การวางแผนตั้งเป้าหมายในชีวิต 2) การคบเพื่อนดี  3) การไม่คึกคะนอง  4) การมีความยับยั้งชั่งใจก่อนทำ พูด คิด และ 5) มีกิจกรรมจิตอาสาและพัฒนาสังคม

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

                  This qualitative research consists of three objectives: 1) to examine carelessness in daily life of teenagers, 2) to study methods for restraining carelessness in daily life of teenagers, and 3) to propose Buddhist methods for restraining problems of carelessness in daily life of teenagers.

                 The results showed that behavioral problems of carelessness in daily life of teenagers were caused by 1) problems from the teenagers themselves, 2) problems from the family, and 3) problems from the surroundings social. Buddhist methods for restraining carelessness in Theravada Buddhist scripture consisted of three methods, including:- 1) the Buddhist ways to restrain the bodily carelessness, such as not killing human beings and animals, not stealing, not cheating, and not committing sexual miss conduct, 2) the Buddhist ways to restrain the verbal carelessness, such as not telling a lie, not using harsh speech, not scolding, not instigating conflicts, and not vain talk, and finally 3) the Buddhist ways to restrain the mental carelessness, such as not being greedy, not being vengeful, and not seeing wrongs as the rights.

                  Buddhist methods for restraining carelessness in daily life of teenagers according to the scholars consisted of five ways, including:- 1) creating a life plan that aims toward self improvement in regards to morals and work that brings prosperity, 2) having mindfulness and clear comprehension a s a self – constant reminder, 3) fostering the love and understanding within the family, 4) being aware of the values of life, 5) be aware of one’s own duty and identity. The approaches for instilling restrains of carelessness consisted of eight approaches: 1) systematic planning of relevant organizations from educational, religious, and family institutions, 2) instruction of right ways of living, 3) practice of self-discipline, 4) congenial conversation, 5) Dhamma activities, 6) providing a venue for teenagers to express their opinions, 7) having rules and framework for living, and 8) providing a role model. For methods to restrain carelessness in daily life of teenagers, there are five ways, including 1) creating goals in life, 2) having good friends, 3) not to be reckless, 4) restraining oneself before one’s bodily, verbal and mental action 5) doing volunteer works for social development.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 6.6 MiB 240 13 มิ.ย. 2564 เวลา 02:35 น. ดาวน์โหลด