โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    ศึกษาวิเคราะห์ความเชื่อเรื่องนาคในสังคมไทยตามหลักพระพุทธศาสนา
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษAn Analytical Study of Thai Society Belief in Naga according to Buddhism
  • ผู้วิจัยพระมนูศักดิ์ อุตฺตโร (คำผา)
  • ที่ปรึกษา 1ดร.สามารถ สุขุประการ
  • ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.ศิริโรจน์ นามเสนา
  • วันสำเร็จการศึกษา17/05/2019
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/697
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 857

บทคัดย่อภาษาไทย

                  วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 3 ประการ คือ (1) เพื่อศึกษาเรื่องนาคในคัมภีร์พระพุทธศาสนา (2) เพื่อศึกษาความเชื่อเรื่องนาคในสังคมไทย (3) เพื่อวิเคราะห์ความเชื่อเรื่องนาคในสังคมไทยตามหลักพระพุทธศาสนา ผลการศึกษาพบว่า

                  งูได้รับความนับถือมาก่อนที่จะเกิดศาสนา โดยถูกตีความว่าเป็นสัญลักษณ์ของน้ำ พลังชีวิต ความอุดมสมบูรณ์ ความดีและความชั่วร้าย เมื่อถูกพัฒนามาสู่รูปแบบของนาคจึงเกิดความหมายใหม่ กลายเป็นบริวารของเทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และกลายเป็นผู้ประเสริฐในศาสนาพุทธ ตามความเชื่อของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูพญานาคกำเนิดจากฟองไข่เหมือนกับสัตว์ประเภทงูทั่วๆ ไป แต่ทางพระพุทธศาสนาจัดให้นาคมีกำเนิดได้ใน 4 ลักษณะ คือ จากฟองไข่ (อัณฑชะ) จากครรภ์ (ชลาพุชะ) จากเถ้าไคลที่ชื้นแฉะสกปรก (สังเสทชะ) และจากการผุดขึ้น (โอปปาติกะ) โดยนำหลักกรรมมาผูกกับการกำเนิดเป็นนาค คือต้องมีความปรารถนาที่จะเกิดเป็นนาค มีความผูกพันกับน้ำ และทำกรรมดีเป็นอย่างมากแต่ยังไม่เพียงพอสำหรับการเกิดเป็นมนุษย์ เมื่อนาคกำเนิดแล้วจะถูกแบ่งออกเป็น 4 ตระกูลตามสีกาย คือ สีทอง สีเขียว สีรุ้ง และสีดำ โดยฤทธิ์ของนาคมีผลต่อความเชื่อของผู้คน ทั้งการใช้พิษเป็นอาวุธ การแปลงกาย การดลบันดาลด้วยฤทธิ์ ทำให้นาคกลายเป็นเทพในสายตาคนไทย

                  นาคในความเชื่อของสังคมไทย มีที่มาจาก เรื่องราวในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา ตำนานพื้นบ้านและความเชื่อในเรื่องฤทธิ์เดชของนาคจากศาสนาพราหมณ์  ซึ่งในสังคมไทยเองก็ยังคงเชื่อว่านาคเป็นเพียงสัตว์ชนิดหนึ่ง ซึ่งแม้จะมีฤทธิ์เดชมากกว่าสัตว์ทั่วไป แต่ก็ยังตกอยู่ในกฎแห่งกรรม คือต้องสิ้นอายุขัยไปตามกาลเวลา ไม่ได้เป็นอมตะอย่างที่เทพควรจะเป็น สังคมไทยจึงมีมุมมองต่อนาคว่าเป็นเพียงสิ่งที่ใช้ในการยึดเหนี่ยวใจ เมื่อประสบกับปัญหาความไม่มั่นคง หรือการสร้างขวัญกำลังใจ และจากเรื่องราวของนาคในตำนาน และในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา จึงก่อให้เกิดความเชื่อที่หลากหลาย ตั้งแต่เรื่องนาคให้น้ำ นาคสร้างบ้านแปลงเมือง ไปจนถึงบั้งไฟพญานาค กลายเป็นประเพณีวัฒนธรรมที่สืบต่อกันมาในสังคมไทย

                  เมื่อวิเคราะห์ตามหลักพระพุทธศาสนา ความเชื่อของคนไทยในการมีอยู่จริงของนาค มาจากเหตุปัจจัย 2 ประการ คือ 1) การเคยศึกษาเรื่องราวของนาคผ่านคัมภีร์และตำนาน และ 2) การรับฟังการบอกต่อเรื่องความเชื่อจากบรรพบุรุษ แล้วทำการวิเคราะห์และประมวลผลด้วยตนเองจนกลายเป็นความเชื่อที่ไม่ต้องอาศัยการพิสูจน์ใดๆ เป็นความเชื่อแบบอจินไตย ไม่ต้องการเหตุผลรับรอง จนส่งผลให้ความมีอยู่จริงหรือไม่มีอยู่จริงของนาคไม่มีผลต่อความเชื่อในตัวของนาค ส่วนความเชื่อในการสักการบูชาเพื่อหวังผลตามความปรารถนาที่แตกต่างกันของสังคมไทย เมื่อวิเคราะห์แล้วพบว่า สังคมไทยส่วนใหญ่ยังเชื่อเรื่องกรรมหรือการกระทำ เพราะถึงแม้ว่าจะทำการบนบานศาลกล่าวหรือตั้งความปรารถนาแล้ว แต่ท้ายที่สุดบุคคลนั้นก็ต้องลงมือกระทำด้วยตนเองด้วย โดยไม่สามารถรอความสำเร็จที่เกิดจากการอ้อนวอนได้ และเมื่อสังคมไทยได้ศึกษาและย้อนระลึกถึงการบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ของนาค ที่มีต่อชุมชน ต่อสังคม และต่อพระพุทธศาสนา ทำให้คนไทยเกิดความศรัทธา จึงสร้างตัวแทนของนาค ผ่านศิลปกรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี เพื่อเป็นการระลึกถึงเหตุการณ์นั้นๆ

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

    This research aims to go through Naga in 3 following aspects: (1) to study the Naga in the Buddhist Scriptures, (2) to understand the belief of Naga in Thai society, and (3) to analyze the Belief of Naga in Thai society to Buddhism. The results are found as follows.

                Serpents have been respected long before the existence of religious in Thailand. It was considered be as a symbol of river, life, fertility, virtue and evil. When the snake was developed into the Naga, it was interpreted under Brahminism-Hinduism context as a retinue of God also in Buddhist context, Naga-symbolizes a virtuous person who aspire to achieve Nirvana. According to the Brhami-Hindu belief, the Naga was born from egg like other snakes. However, Buddhism believes that Naga can be born in 4 ways : (1) Egg born creatures (Andaja). (2) Womb born creatures (Jalabuja). (3) Moisture born creatures (Samsedaja).  And (4) Spontaneously born creatures (Opapatika). The doctrine of Karma was intertwined with the births of Naga : the aspiration to be born as Naga, the profound connection with river, and a large of good deeds that having done but insufficient to be born as a human. The Naga was catergorised into 4 families according to their skin colours : golden, green, rainbow and black. Naga’s supernatural power has a great impact on Thai people. The Thai people revere Naga as a deity because they believe that it can use poison as a weapon, can transform themselves to be either humans or animal and, can create anything people want.

                The belief of Naga in Thai society derives from the Buddhist scriptures and the local legend, and the supernatural power of Naga from Branhminism-Hinduism. The Thai society believes Naga that is a mythical animal, despite its supernatural power, cannot avoid law of Karma (laws of cause-action and death) Naga is subjected to death unlike other deities who are believed to be immortal. People in Thai society consider Naga as a spiritual anchor when they face instability or need moral boost. A story of Naga from scriptures and legend has created varied beliefs and stories in Thai society such as – the Water Naga, the Naga’s city creation and the Naga Fireballs. This has developped into the cultural traditions which still widely practices in Thailand today.

                Analysing the belief of Naga according to Buddhist principles, Thai people believes in the existence of Naga thanks to (1) learning of Naga from the scriptures and folklore  (2) passing the oral history from generation to generation. Then, Thai people think and interpret the Naga story as a coomon belief without proving (Acinteyya). They do not need the empirical reasons to prove the existence of Naga. The belief in Naga requires no concrete proofs. The scrutiny of different Naga worship for fulfilling wishes among Thai people shows that the Thai society still mainly believes in the law of actions (Karma). This is because they worship with the hope that their wish will come true, they still have to take some action to make it happen. No one can succeed with merely praying and waiting. When the Thai society studies and realize the benevolent power of Naga, they consequently create the Naga artifacts and traditions with faith (Saddha) to commemorate.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ