โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    ศึกษาแนวทางการใช้มาตรการทางกฎหมายสำหรับพระภิกษุที่กระทำผิดพระวินัย
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Study of Guidelines for Legal Enforcement for Vinaya- Violating Monks
  • ผู้วิจัยพระพระมหาตะวัน ตปคุโณ (พิมพ์ทอง)
  • ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.แม่ชีกฤษณา รักษาโฉม
  • ที่ปรึกษา 2รศ. พิเศษ ดร.อำนาจ บัวศิริ
  • วันสำเร็จการศึกษา17/03/2020
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/698
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 652
  • จำนวนผู้เข้าชม 628

บทคัดย่อภาษาไทย

                  การศึกษาวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ (1) เพื่อศึกษามาตรการทางนิคหกรรม (2) เพื่อศึก ษากระบวนการยุติธรรมว่าด้วยการดำเนินมาตรการสำหรับพระภิกษุที่กระทำผิดพระวินัย ภายใต้กรอบ พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 (3) เพื่อศึกษาแนวทางการใช้มาตร การทางกฎหมายสำหรับพระภิกษุที่กระทำผิดพระวินัย โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ

                  ผลการวิจัยพบว่า                                                                                                                                      นิคหกรรมเป็นมาตรการที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้สงฆ์ใช้เป็นเครื่องมือสำหรับลงโทษพระภิกษุผู้ละเมิดพระธรรมวินัย มีลักษณะเป็นการข่มหรือกำราบให้มีความเข็ดหลาบเกิดสำนึกที่ดีขึ้นมาและจัดเป็นสังฆกรรมประเภทหนึ่ง ซึ่งถือว่าการลงนิคหกรรมดังกล่าวเป็นมาตรการลงโทษขั้นที่ 2 หลังจากที่ปรับอาบัติพระภิกษุผู้ละเมิดสิกขาบทตามสมควรแก่กรณีแล้ว หากพระภิกษุรูปนั้นไม่ยอมรับและไม่แก้ไขให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัย สงฆ์จึงต้องลงนิคหกรรมเป็นการลงโทษอีกตามสมควรแก่ความผิด และในปัจจุบันคณะสงฆ์ไทยได้รับการพัฒนารูปแบบระบบนิคหกรรมดั้งเดิมไปสู่สภาพบังคับใช้เชิงกฎหมาย เรียกว่ากฎนิคหกรรมของมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 11 พ.ศ. 2521 ว่าด้วยการลงนิคหกรรม ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นกรอบวิธีดำเนินการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในคณะสงฆ์ให้มีความกระชับรวดเร็ว สอดคล้องกับกระ บวนการยุติธรรมของรัฐ รวมทั้งเพื่อให้ขั้นตอนดำเนินการแก้ไขปัญหาภายในคณะสงฆ์เป็นไปด้วยความเรียบร้อย อีกทั้งยังสอดคล้องกับระบบการบริหารของคณะสงฆ์ที่เป็นแบบระบบราชการ

                  กฎนิคหกรรมดังกล่าวไม่ใช่การลงโทษเป็นแต่เพียงกฎหรือระเบียบที่มหาเถรสมาคมตราขึ้นมาใช้เพื่อการไต่สวนหาคนกระทำผิดหรือเพื่ออำนวยความยุติธรรมให้เกิดขึ้นแก่ผู้เกี่ยวข้องในอธิกรณ์หรือเป็นแต่เพียงกระบวนการทางศาลเท่านั้น เมื่อพิจารณาโดยอำนาจตามเจตนารมณ์แห่งบทบัญญัติแล้วจะเห็นได้ว่า การลงนิคหกรรมหรือการลงโทษภิกษุผู้กระทำผิดนั้น เป็นเรื่องของกฎหมายภายใต้อำนาจของพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 เป็นหลัก และกระ บวนการยุติธรรมที่เป็นการดำเนินนิคหกรรมภายใต้พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ดังกล่าวนี้ เป็นการล้อเอากระบวนการยุติธรรมทางอาญามาปรับใช้ ดังนั้นจึงมีกระบวนการขั้นตอนปฏิบัติเช่นเดียวกับกระบวนการยุติธรรมของฝ่ายโลก กล่าวคือ จัดให้มีกระบวนการทั้ง ๓ ชั้น คือชั้นต้น อุทธรณ์และฎีกา โดยมุ่งหมายให้การลงนิคหกรรมเป็นไปโดยถูกต้องและเป็นธรรม ส่วนผู้มีอำนาจลงนิคหกรรมจะเป็นพระสังฆาธิการตั้งแต่เจ้าอาวาสขึ้นไปโดยจะมีตำแหน่งเพิ่มขึ้นโดยไม่ต้องแต่งตั้ง ซึ่งเทียบได้กับตำแหน่งหน้าที่ของพระวินัยธรและคณะวินัยธร หรือเทียบกับตำแหน่งผู้พิพากษาและคณะผู้พิพากษาของศาลฝ่ายบ้านเมือง ตลอดจนการทำหน้าที่เป็นอนุญาโตตุลาการวินิจฉัยได้อีกด้วย

                  และในสภาพความเป็นจริงพระภิกษุอาจละเมิดต่อพระวินัยและเข้าข่ายเป็นความผิดต่อกฏ หมายฝ่ายบ้านเมืองได้ ดังนั้นการใช้มาตรการทางกฎหมายเพื่อเป็นแนวทางสำหรับลงโทษพระภิกษุที่กระทำผิดพระวินัยนั้น ถือเป็นหน้าที่ของรัฐที่จำเป็นจะต้องให้ความอุปถัมภ์กิจการคณะสงฆ์ โดยเฉพาะในส่วนของการดำเนินกระบวนการยุติธรรมให้มีความชัดเจนเป็นระบบ การเข้ามาแทรกแซงกิจการทางศาสนาโดยรัฐในส่วนนี้จึงมิได้เป็นไปตามอำเภอใจ หากแต่เป็นการที่รัฐใช้อำนาจเข้ามาเพื่อช่วยปรับ ปรุงโครงสร้างการบริหารกิจการงานพระพุทธศาสนาบนหลักการของพระธรรมวินัยให้มีความเท่าทันกับสถานการณ์ของยุคสมัยมากยิ่งขึ้น เพราะการลงโทษทางกฎหมายแก่พระภิกษุที่กระทำผิดพระวินัยบางอย่างนั้น ถือเป็นการปฏิบัติในฐานะที่พระภิกษุเป็นพลเมืองของรัฐและเป็นการปฏิบัติที่อยู่ภายใต้กรอบธรรมนูญของสงฆ์ด้วย ดังนั้น เมื่อพระภิกษุกระทำความผิด พระภิกษุก็อาจต้องรับโทษตามบทบัญญัติที่กฎหมายได้กำหนดเอาไว้ แต่มีบางขั้นตอนในส่วนของการดำเนินคดีที่อาจแตกต่างไปจากบุคคลธรรม ดาทั่วไปเนื่องด้วยความเป็นสมณเพศ จึงมีสถานะที่ต้องตกอยู่ภายใต้ข้อบังคับแห่งระเบียบว่าด้วยพระธรรมวินัยเป็นสำคัญอีกชั้นหนึ่ง ส่วนในเรื่องของการที่จะกำหนดความรับผิดในทางอาญาต่อการกระทำของพระภิกษุนั้น สมควรจะต้องพิจารณาว่าการกระทำดังกล่าว กรณีที่บุคคลธรรมดาทั่วไปในสังคมที่มิ ได้ดำรงตนอยู่ในสถานะของพระภิกษุ หากกระทำการดังกล่าวแล้วจะมีความผิดทางอาญาหรือไม่ หรือสมควรที่จะบัญญัติให้เป็นความผิดทางอาญาหรือไม่ เช่นนี้จะต้องเทียบเคียงกับแนวทางของหลักกฏ หมายสากลเป็นสำคัญในประเด็นที่มีการถกเถียงกันอยู่มากนั่นคือความผิดที่เป็นอาบัติปาราชิกในข้อที่ว่าด้วยการเสพเมถุน เพราะหลักเกณฑ์การพิจารณาขึ้นอยู่กับการใช้เกณฑ์อายุที่กฎหมายกำหนดความคุ้มครองอยู่หรือไม่ และความผิดที่เป็นอาบัติปาราชิกในข้อที่ว่าด้วยการอวดอุตริมนุสธรรมที่ไม่มีในตนเป็นเรื่องเหลือวิสัยที่จะพิสูจน์ข้อเท็จจริง แต่ส่วนความผิดที่เป็นอาบัติปาราชิกในข้อที่ว่าด้วยการถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของมิได้ให้มาเป็นของตนเป็นความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา และการพรากกายมนุษย์จากชีวิตคือการฆ่าผู้อื่นเป็นความผิดเกี่ยวกับชีวิตตามประมวลกฎหมายอาญานั่นเอง

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

                  This thesis entitled ‘The study of guidelines for legal enforcement for Vinaya-violating monks’ has three objectives: 1) to study the measure of suppression, 2) to study the judicial process on the measure of Vinaya-violating monks under the Sangha’s Act, 2505 B.E., a revised version (2nd version) 2535 B.E., and 3) to study the guidelines being applied into the legal measure for Vinaya-violating monks. This is a qualitative research.

                  In the research, it was found that the suppression is principally regarded as the measure being allowed by the Buddha so that the Sangha can use it as the tool to punish the Vinaya-violating monks; its characteristic is to control or regulate those monks whose behaviours are not Orderly good by which they can be behaviorally corrected and this is a kind of a formal act where it is held as the second measure of punishment after the offence is given to those who intentionally violated the Order according to the violated offence, but they did not agree with whatever offence is given and thereby denying the prescribed correction as regulated by the Order. By virtue of the mentioned rule, they deserve to be punished in accordance with such offence. And in the present time, Thai Sangha has developed the system of suppression from the original to the legal enforcement where it is called the suppression processes on version of 11th, 2521 B.E., regulated by the Mahathera Council concerning with the punishment according to the Sangha’ Act, 2505 B.E., a revised version (2nd version) 2535 B.E., wherein the application of judicial administration based on penal law which belongs to the civil law can be practically carried out so as to completely solve the Sangha’s problems where the Sangha’s administration can be accorded with the fiscal system.

                  But such suppression is not a kind of punishment; it is just a kind of rule or regulation given by Mahathera Council in order to investigate the offenders or to provide the justice to those who involved the case or only judicial process. When the real intention of the Act is taken into account, it shows that such suppression or punishment is under the law of the Sangha’ Act, 2505 B.E., a revised version (2nd version) 2535 B.E., and the judicial process done in accordance with the Sangha’s Act is done in accordance with the application of the judicial process of criminal law. Therefore, such process should be the same as the worldly process of judiciary, that is, three processes should be provided, primary, appeal and supreme, where such suppression is carried out rightly and justly. As regards those who have the authority to carry out such suppression should be the Sangha’ s leaders starting from the Abbot by which their duty is not further appointed; this is equivalent to the duty of judicature or the judiciaries or the civil judiciaries and they should be allowed to be arbitrators for judging.

                  In fact, most of Buddhist monks may violate the Order and thereby violating the civil law, under this situation, the onus in the legal enforcement to be the guidelines for punishing those monks who violating the Vinaya should belong to state officers where they are supposed to support the Sangha’s affairs especially the judicial process, and they should not intervene the religious matters as they wish; they should use their authority to improve the structure of the Buddhist administration based on the Buddhist Order where it is updated in accordance with the present situation as much as possible because the legal enforcement as such is held as the measure being used to Buddhist monks as the members of the state and they are regarded as those who follow the Sangha’s constitution. Therefore, when Buddhist monks committed any offence, they should be punished in accordance with the rules of law, but in some process, there may be different legal enforcement due to their Buddhist monks’ status quo where they are under the regulation of the Order. Under these circumstances, the legal enforcement should be carefully considered in accordance with the criminal law; it should be considered that if such case committed by the general man not Buddhist monks, what kind of punishment should be legally enforced if they are Buddhist monks, whether or not it is appropriate, how is it suitable if such legal enforcement is done. In doing these processes, it is necessary for people involved to compare the case with the universal law. It appears that there is certain debate over such matter on the offence of the serious offence in having sex. It shows that whether or not such a principle should rely on the legal period. And the serious offence on super human being state leads to the question that how can we prove it, and the rest two offences will not cause any problem when judgment is needed because taking what is not given can be considered in accordance with criminal law on the property, and deprivation of human life, that is killing man, can belong to the offence of taking life in accordance with the criminal law respectively.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 5.77 MiB 652 13 มิ.ย. 2564 เวลา 03:18 น. ดาวน์โหลด