โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    ศึกษาสังสารวัฏในฐานะเป็นเครื่องพัฒนาอัปปมาทธรรม
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Study of Samsãravatta as a Tool for Appamãdha-dhamma Development
  • ผู้วิจัยพระมหาเอกอนันต์ ฐานวีโร (เชี่ยวชาญยิ่ง)
  • ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.แม่ชีกฤษณา รักษาโฉม
  • ที่ปรึกษา 2รศ. ดร.สมิทธิพล เนตรนิมิตร
  • วันสำเร็จการศึกษา31/03/2020
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/699
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 1,086
  • จำนวนผู้เข้าชม 590

บทคัดย่อภาษาไทย

                  การศึกษาวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์  ดังนี้ (1) เพื่อศึกษาแนวคำสอนเรื่องสังสารวัฏในพระ พุทธศาสนา (2) เพื่อศึกษาแนวคำสอนเรื่องอัปปมาทธรรมในพระพุทธศาสนา (3) เพื่อศึกษาสังสารวัฏในฐานะเป็นเครื่องพัฒนาอัปปมาทธรรม  โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ

                  ผลการวิจัยพบว่า สังสารวัฏตามหลักคำสอนในพระพุทธศาสนา คือหลักคำสอนว่าด้วยเรื่องของกฎธรรมชาติที่มีอยู่  การหลุดพ้นจากสังสารวัฏต้องปฏิบัติตามขั้นตอนดังนี้ คือ 1) การบำเพ็ญทาน บารมี ใช้เพื่อกำจัดความโลภ ความตระหนี่ การให้ทานมีความจำเป็นสำหรับชีวิตฆราวาส บัณฑิตผู้เห็นภัยเวรในสังสารวัฏ ต้องดำเนินชีวิตอยู่ด้วยความไม่ประมาท 2) การรักษาศีลอย่างเคร่งครัด และพัฒนาตัวเองให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้นต่อไป ไม่ควรเป็นผู้ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ  เสพของมึน เมาคือสุราและเมรัย อันเป็นเหตุแห่งความประมาท 3) การตั้งใจงดเว้นจากบาปอกุศลทั้งหลาย ย่อมส่งผลให้อยู่อย่างเป็นสุข แม้ตายไปแล้วก็ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ เป็นพื้นฐานในการเจริญพระกัมมัฏฐานเพื่อเข้าถึงพระนิพพาน  

                  สังสารวัฏในฐานะเครื่องพัฒนา ศีล สมาธิ ปัญญา จึงต้องอาศัยการปฏิบัติด้วยการละมิจฉาวาจา มิจฉากัมมันตะ มิจฉาอาชีวะ เป็นแนวทางการฝึกสติให้กำกับอยู่ในวาจาคำพูด ให้อยู่ในพฤติกรรมการแสดงออก  และให้สติกำกับอยู่กับอาชีพที่ดำเนินไปเพื่อการเลี้ยงชีวิต  เมื่อมีการพัฒนาจิตให้พ้นจากอกุศลกรรม จิตที่เพ่งพินิจอยู่ย่อมยังความไม่ประมาทให้สมบูรณ์ได้ และการพัฒนาปัญญานั้น ทำปัญญาให้พัฒนายิ่งขึ้น เมื่อปัญญานั้น แก้ปัญหาได้ และสร้างสรรค์ทำการต่าง ๆ ได้สำเร็จ การที่เราจะเดินทางก้าวหน้าไปในมรรค และบรรลุอริยผลนั้นได้ ผู้ที่มีปัญญาจะสามารถดำเนินชีวิตไปอย่างมีความสงบสุข  และสามารถแก้ปัญหาของชีวิตได้อย่างถูกต้อง  โดยอาศัยกำลังแห่งธรรมคือ กำลังคือวิริยะ กำลังคือสติ  กำลังคือสมาธิ  กำลังคือปัญญา

                  โลกุตตระเป็นหลักธรรมที่สามารถข้ามพ้นจากสังสารวัฏคือ ไม่ตั้งอยู่ในโลก ไม่เป็นคติของโลกคือ สติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4 สามัญญผล 4 นิพพาน 1 เพราะการเห็นภัยในโทษแม้เพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบท ประกอบด้วยกายกรรมและวจีกรรมอันเป็นกุศล มี อาชีวะบริสุทธิ์ สมบูรณ์ด้วยศีล คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย  สมบูรณ์ด้วยสติสัมปชัญญะและเป็นผู้สันโดษ ความไม่ประมาท  เมื่ออัปปมาทธรรมเกิดขึ้นสมบูรณ์ รู้ลักษณะความเป็นจริงของสิ่งต่าง ๆ  ที่กำลังเกิดขึ้น เรียกว่าสติสัมโพชฌงค์และอุเบกขาสัมโพชฌงค์ การวางเฉยจะเด่นชัดยิ่งขึ้น จิตจะไม่หวั่นไหวต่ออิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์ ความสุขสบายอย่างลึกซึ้งทางทาย ทางจิตก็จะเกิดขึ้น เป้าหมายสุดท้ายของนิพพานก็เห็นได้ชัดตามลำดับ การตัดวงจรแห่งสังสารวัฏก็ปรากฎ จึงกล่าวในที่นี้ว่า การเสวยรสของพระอริยะผล เป็นอานิสงส์ของวิปัสสนาภาวนา การฝึกสติสัมปชัญญะความไม่ประมาท ดำเนินชีวิตอยู่ด้วยหลักของ ศีล สมาธิ ปัญญา คือเครื่องพัฒนานำออกจากความทุกข์  ในสังสารวัฏ ในที่นี้เรียกว่าอริยมรรคมี 4 คือ โสดาปัตติมรรค  สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรคอรหัตตมรรค เป็นมรรคที่เกิดจากการฝึกฝนสติสัมปชัญญะอย่างต่อเนื่อง ส่วนอริยผลนั้นพบว่ามี 4 อย่างคือ โสดาปัตติผล  สกทาคามิผลอนาคามิผล  อรหัตตผล เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุง หรือเรียกว่าเป็นผลมาจากความเป็นอรหัตตผล

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

                This thesis entitled ‘A Study of Saṁsãravatta as a Tool for Appamãdhadhamma Development’ has three objectives: 1) to study the teachings of Saṁsãra in Buddhism, 2) to study the teachings of Appamãdhadhamma in Buddhism, and 3) to study Saṁsãra as a development tool for Appamãdhadhamma. This is a documentary research.

                The results of the research are found that the Saṁsãra according to the Buddhist doctrines is the law of nature. The release from the Saṁsãra must be done through the following processes: 1) performing the perfections of liberality for eliminating the greed or the stinginess.  Giving charity is necessary for the laypeople’s lives.  The educated person who sees the danger in the Saṁsãra has to live without negligence, 2) strictly following the precepts and developing oneself progressively where killing, stealing, sexual misconduct, telling lies and taking intoxicants being the cause of non-negligence are no longer observed, and 3) willing to abstain from all sins or wrong-doings, which causes happy livings and to be born in peaceful places as the world or the heaven after death, this is the foundation of meditation for the Nibbãna.

               With respect to Saṁsãra as a tool for developing morality, consciousness and wisdom, it needs the practices without wrong speech, wrong action and wrong livelihood.  These practices are the ways of developing the consciousness to be along with speaking, acting and living.  After mind development releases oneself from wrong-doing, the cultivation of mind will make one’s own non-negligence perfect.  The development of wisdom helps solve the problems and make the activities successful.  The wise one who lives for the Noble Eightfold Paths and Fruits will be able to be in peaceful life and to rightly solve the life problems with such Dhamma powers as the power of perseverance, consciousness, meditation and wisdom.

               Here, Supramundane (Lokuttara) which is the Dhamma principle to help release from the Saṁsãra, is neither relying on the world nor being the terminal of the world.  It is  four kinds of Satipatṭhãna (The four foundations of mindfulness), four kinds of Sammappadhãna  (the four right efforts), four kinds of Sãmaññaphala (the four results of being noble Buddhist persons), Nibbãna 1) When the Dhamma of non-negligence is completely consisted of seeing the danger in a little wicked things; keeping in morality of bodily and verbal merits; having moral occupation with complete precepts; and being careful of one’s own sense doors with complete consciousness and contentment, knowing the truth of existing things such as Sati- saṁbojjhanga (mindfulness), and Upekkhã- saṁbojjhanga (equanimity) will happen.  The detachment will be more distinct.  The mind will not respond to the pleasant and unpleasant things.  The bodily and mental happiness will sentimentally happen.  The final target of Nibbãna will be respectively seen. The termination of the circle of the Saṁsãra will appear.  We can say that sensing the Noble Buddhist Fruits is the result of Vipassanã meditation.  The Practices of consciousness and non-negligence with morality, consciousness and wisdom Dhamma principles are the developing tools of eliminating the suffering from the Saṁsãra. The Noble Buddhist Paths of such 4 noble Buddhist persons as Sotãpatimagga, Sakadãgãmimagga, Anãgãmimagga, and Arahattamagga are the paths which made by the continuous practices of consciousness.  The Noble Buddhist Fruits of such 4 noble Buddhist persons as Sotãpatiphala, Sakadãgãmiphala,  Anãgãmiphala, and Arahattaphala are the natural conditions which are not impacted by factors, or can be called the results of Noble Buddhist Paths.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 4.52 MiB 1,086 13 มิ.ย. 2564 เวลา 03:32 น. ดาวน์โหลด