โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: library@mcu.ac.th

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    กระบวนการสร้างสันติสุขสัมพันธ์ตามหลักสันติวิธีเชิงบูรณาการของชุมชนดอยช้าง จังหวัดเชียงราย
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Process of Building Peaceful Relations by the Principles of Peaceful Means in the Integrated Perspective of Doi Chang Community, Chiengrai Province
  • ผู้วิจัยชนาภา ศรีวิสรณ์
  • ที่ปรึกษา 1พระมหาดวงเด่น ฐิตญาโณ
  • ที่ปรึกษา 2พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส
  • วันสำเร็จการศึกษา25/11/2020
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชาสันติศึกษา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/7
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 893
  • จำนวนผู้เข้าชม 1,021

บทคัดย่อภาษาไทย

            ดุษฎีนิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาบริบทสภาพปัญหาและแนวคิดการสร้างความสัมพันธ์ของชุมชนดอยช้าง จังหวัดเชียงราย 2) เพื่อศึกษากระบวนการสร้างสันติสุขสัมพันธ์ตามหลักสันติวิธี 3) เพื่อเสนอกระบวนการสร้างสันติสุขสัมพันธ์ตามหลักสันติวิธีเชิงบูรณาการของชุมชนดอยช้าง จังหวัดเชียงราย ดุษฎีนิพนธ์นี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพแบบลงภาคสนาม โดยการศึกษาเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก และการทำกลุ่มสนทนา โดยแบ่งกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญเป็น 2 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มประชากรทั่วไป จำนวน 10 คน 2. กลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ กลุ่มชาวไร่กาแฟดอยช้าง จำนวน 20 คน รวมผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการวิจัยครั้งนี้ จำนวน 30 คน
             ผลการศึกษาพบว่า
             1) บริบทสภาพปัญหาด้านความสัมพันธ์ของชุมชน คือ การไม่ยอมฟังซึ่งกันและกันในชุมชนดอยช้าง แบ่งออกเป็น 4 ประเด็นคือ 1. การมีอคติกับฝ่ายตรงข้าม 2. ยึดมั่นในอุดมการณ์ หรือความเชื่อของตนเอง 3. ไม่ยอมรับความเป็นจริง 4. มีนิสัยที่ชอบแสดงความคิดเห็นเป็นชีวิตจิตใจ แนวคิดการสร้างความสัมพันธ์ของชุมชนดอยช้าง คือชุมชนสามารถอยู่ร่วมกันอย่างเข้มแข็งและแบ่งปันได้ ทั้งระหว่างคนกับคน ระหว่างคนกับป่า ระหว่างคนกับธรรมชาติ และการยืนหยัดด้วยตัวเอง มีพื้นที่อยู่อาศัยที่มีจุดแข็งจุดเด่น สภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศที่เอื้อต่อการแสดงศักยภาพพื้นฐานของความมีจิตสำนึกที่ต้องการจะมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ชุมชนอยู่ร่วมกันภายใต้ความแตกต่างและความหลากหลายทางวัฒนธรรมและชาติพันธุ์ ซึ่งต่างก็เคารพและร่วมในกิจกรรมตามประเพณีในโอกาสต่าง ๆ ของกันและกัน ก่อให้เกิดความสัมพันธ์อันดีต่อกัน เป็นการสร้างความเข้าใจร่วมกันเพื่อที่จะอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข
            2) กระบวนการสร้างสันติสุขสัมพันธ์ตามหลักสันติวิธี พบว่า หลักสาราณียธรรม 6 สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในกระบวนการสร้างสันติสุขสัมพันธ์ให้เกิดขึ้นในชุมชนดอยช้างได้ เพราะจะทำให้สมาชิกในชุมชนไม่ว่าจะมีความเชื่อหรือศาสนาที่แตกต่าง หรือมีความขัดแย้งทางด้านผลประโยชน์จากการทำธุรกิจกาแฟดอยช้างสามารถอยู่ร่วมกันได้ เพราะเป็นหลักธรรมที่ทำให้ผู้ปฏิบัติมีความระลึกถึงกัน ปฏิบัติต่อกันอย่างเหมาะสม มีความเคารพในสิทธิและเงื่อนไขข้อจำกัดของกันและกัน ซึ่งสามารถประยุกต์ใช้ร่วมกับกระบวนการพุทธสานเสวนา (Buddhist dialogue) โดยเน้นการเปิดใจ รับฟังความรู้สึกและความต้องการของกันและกันอย่างลึกซึ้ง ความบาดหมางที่แต่ละคนมีต่อกันก็แปลงเปลี่ยนมาเป็นความเข้าใจซึ่งกันและกัน
           3) กระบวนการสร้างสันติสุขสัมพันธ์ตามหลักสันติวิธีเชิงบูรณาการ เป็นกระบวนการที่อยู่ภายใต้หลักการ 6 คือ 1. การแบ่งปัน 2. การให้กำลังใจ 3. ความหวังดี 4. การให้ความช่วยเหลือ 
5. การไม่เบียดเบียน 6. การยึดมั่นในข้อตกลง อันนำไปสู่ผลลัพธ์ 3 ประการ ที่เห็นเป็นรูปธรรมของการทำกิจกรรมร่วมกันคือ 1. เกิดกิจกรรมตามประเพณีที่มาช่วยเหลือกัน 2. เกิดชุมชนแห่งการแบ่งปันเป็นกิจวัตรและ 3. เกิดกิจกรรมการสานเสวนาและประชุมชี้แจงกฎ กติกา มารยาท โดยกระบวนการสร้างสันติสุขสัมพันธ์ตามหลักสันติบูรณาการของชุมชนดอยช้างมีทั้งหมด 8 ขั้นตอน ที่ได้สะท้อนถึงวิถีการดำรงอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข อันนำไปสู่การสร้างความสัมพันธ์ที่ดี ที่เรียกว่า  DOI CHANG MODEL อันได้แก่ D = Deep Listening รับฟัง O = Open mindedness เปิดใจ  I = Interest ร่วมรับผลประโยชน์ C = Culture ฟื้นฟูประเพณีวัฒนธรรมที่ดีงาม H = Humanity เคารพคุณค่าความเป็นมนุษย์ A = Awareness ดำเนินชีวิตอย่างมีสติ N = Nature รักษาธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม G = Gratitude กตัญญูต่อดอยช้าง โดยขับเคลื่อนภายใต้กรอบของการคิดดี ทำดี พูดดี คือการมีพฤติกรรมทางใจ ทางกาย และทางวาจาที่ประกอบด้วยเมตตา
 

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

           This Dissertation is of 3 objectives: 1) To study the context of problems, and the concept of relationship building of Doi Chang Community in Chiengrai Province;  2) To study the process of creating peaceful relations according to Buddhist Peaceful means, 3) To present the process of building peaceful relations by the principles of peaceful means in the integrated perspective of Doi Chang Community, Chiengrai Province. The dissertation is a field-work qualitative research by the tools of documentary study, in-depth interviews, and focus group discussion divided the key informants into 2 groups: 1. General population (Independent Variables) amounting 10 people, 2. Significant informants, Doi Chang coffee farmers amounting 20 people; altogether total of the key informants of this research is 30 people.
From the research, it is found the followings:
           1) Context of the problems in view of community relations: It is the refusal to listen to each other in Doi Chang community divided into 4 issues: 1. Being prejudiced with opponents, 2. Adhering to ideology or beliefs of one own selves, 3. Not accepting the actuality, 4. Having a very habit of expressing opinions. The concept of the relationship building of Doi Chang community is that the community: can strongly coexist and share both between man and man, as well as between man and the forest, between man and the nature, and stand on one own selves, has residential areas with strength and prominent point; has topography and climate facilitating the demonstration of the fundamental potential of having consciousness of wanting to be involved in helping one another. The community coexists under differences and diversities of cultures and ethnic races that each race respects and participates in traditional activities on different occasions of one another’s. This causes good relationships among one another and creates mutual understanding in order to live together peacefully.
           2) The process of creating peaceful relations according to Buddhist Peaceful means: It is found that Sāraṇiyadhamma can be applied in the process of creating peaceful relations in Doi Chang community as it makes community members, whether they have different beliefs or religions or conflict of interest from doing Doi Chang coffee business, coexist; as it is a Dhamma principle that makes practitioners remember one another, treat one another properly, respect one another's rights and restrictions which can be applied in conjunction with Buddhist dialogue process with an emphasis on open-mindedness, deep listening to one another's feelings and needs. The discord that each person has towards each other hence transforms into mutual understanding.
           3) The process of building peaceful relations by the principles of peaceful means in the integrated perspective: The process of building peaceful relations by the principles of Buddhist peace integration: It is the process under the 6 principles: 1. Sharing, 2. Encouragement, 3. Regards, 4. Offering assistance, 5. Not treating with persecution, and 6. Adherence to agreement. This leads to 3 results that can be seen as a concrete outcome of doing mutual activities: 1. The arise of traditional activities which is meant to help each other, 2. The arise of a community of sharing as a routine, and 3. The arise of dialogue and meeting activities to clarify the rules, restrictions and courtesy which ultimately results in the identity of the villagers in 8 aspects that reflect the way of living together in peace leading to the creation of a good relationship; they are called DOI CHANG MODEL: D = Deep Listening, O = Open mindedness, I = Interest: Mutually receive benefits, C = Culture: Restore good traditional culture, H = Humanity: Respect human values, A = Awareness: Live with consciousness, N = Nature: preserve the nature and environment, and G = Gratitude: Being grateful to Doi Chang; these are to be driven under the framework of thinking good, doing good, and speaking good, that is having compassionate mental, physical and verbal behaviors.
 
 

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text 11.24 MiB 893 12 ม.ค. 2564 เวลา 17:34 น. ดาวน์โหลด