โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: library@mcu.ac.th

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    แนวทางการพัฒนาปัญญาที่ปรากฏในพระราชนิพนธ์เรื่องพระมหาชนก
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Guidelines for the Intellectual Development in the Royal Composition on Mahājanaka Tales
  • ผู้วิจัยเจ้าอธิการณ์ณัฏฐพงษ์ กิตฺติสาโร (กันหา)
  • ที่ปรึกษา 1ดร.ชญาน์นันท์ อัศวธรรมานนท์
  • ที่ปรึกษา 2พระมหาอินทร์วงค์ อิสฺสรภาณี, ดร.
  • วันสำเร็จการศึกษา10/03/2020
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/700
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 653
  • จำนวนผู้เข้าชม 345

บทคัดย่อภาษาไทย

 วิทยานิพนธ์เรื่องแนวทางการพัฒนาปัญญาที่ปรากฏในพระราชนิพนธ์เรื่องพระมหาชนก เป็นงานวิจัยเชิงเอกสาร มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาคือ 1) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาปัญญาตามหลักพระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาปัญญาที่ปรากฏในพระราชนิพนธ์เรื่องพระมหาชนก 3) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์แนวทางการพัฒนาปัญญาตามหลักพุทธศาสนากับพระราชนิพนธ์เรื่องพระมหาชนก                                                                                                                                                       จากการศึกษาพบว่า การพัฒนาปัญญาในทางพระพุทธศาสนามีแนวทาง 2 ประการ คือ 1) การพัฒนาปัญญาตามหลักปัญญาวุฒิธรรม เริ่มต้นจากการคบหาบัณฑิตผู้มีความรู้ มีความเป็นกัลยาณมิตร ฟังพระสัทธรรมของท่าน ตั้งใจศึกษาเล่าเรียน แล้วนำมารู้ที่ได้เล่าเรียนมานั้นมาพิจารณาอย่างแยบคาย สิ่งไหนเป็นประโยชน์ สิ่งไหนมิใช่ประโยชน์แล้วนำมาใช้ตามความสมควรแห่งธรรม    2) การพัฒนาปัญญาตามหลักไตรสิกขา ได้แก่ ศีล สมาธิ และปัญญา โดยมีแนวทางคือมรรคอันเป็นทางสายกลางเป็นหนทางให้ผู้ปฏิบัตินั้นได้บรรลุเป้าหมายในชีวิตได้ด้วยตนเอง อันได้แก่ ดำริชอบ เจรจาชอบ ทำงานชอบ เลี้ยงชีพชอบ เพียรชอบ ระลึกชอบ และตั้งใจชอบ ส่วนอุปสรรคในการพัฒนาปัญญาซึ่งผู้ปฏิบัติควรหลีกเลี่ยงระวังตนไม่ให้ตัวอุปสรรคเกิดขึ้น เพราะจะเป็นตัวขัดขวางไม่ให้เกิดปัญญา ได้แก่ ตัณหา มานะ ทิฏฐิ นิวรณ์ และอโยนิโสมนสิการในพระราชนิพนธ์เรื่องพระมหาชนกมีแนวทางการพัฒนาปัญญาปรากฏจากหลักฐานการฟื้นฟูมะม่วง 9 ประการ ซึ่งเป็นหลักฟื้นฟูประเทศ 9 อย่าง ได้แก่ ได้แก่ 1) เพาะเม็ดมะม่วง 2) ถนอมรากที่ยังมีอยู่ให้งอกใหม่ 3) ปักชำกิ่งที่เหมาะแก่การปักชำ 4) เอากิ่งดีมาเสียบยอดกิ่งของต้นที่ไม่มีผลให้มีผล 5) เอาตามาต่อกิ่งของอีกต้น 6) เอากิ่งมาทาบกิ่ง 7) ตอนกิ่งให้ออกราก 8) รมควันต้นที่ไม่มีผลให้ออกผล 9) ทำชีวาณูสงเคราะห์ อันเป็นหลักการทางด้านปัญญาที่มุ่งแก้ให้ตรงกับต้นตอของความไม่รู้ ทรงแนะนำให้จัดตั้งโพธิยาลัยมหาวิชชาลัย อันสามารถที่จะก่อเกิดประโยชน์แก่พสกนิกรปวงชนชาวไทยเป็นสมบัติล้ำค่าของแผ่นดินที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ได้ระดับ บุคคล องค์กร และประเทศชาติ                                                                                                                    ผลการศึกษาถึงแนวทางการพัฒนาปัญญาพบว่า ความสัมพันธ์ของแนวทางการพัฒนาปัญญาตามหลักพระพุทธศาสนากับพระราชนิพนธ์เรื่องพระมหาชนก มีความสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาปัญญาตามหลักพระพุทธศาสนา ที่มีความครอบคลุมทั้งศีล สมาธิ ปัญญา ที่จะเห็นได้จากการที่พระมหาชนกได้เผชิญเหตุการณ์เรืออับปางในมหาสมุทร โดยมีสติมั่นคงไม่หวั่นไหวเสียใจ ร้องไห้คร่ำครวญเหมือนปุถุชนทั่วไป ทรงพิจารณาหาทางแก้ไขเหตุการณ์จนสามารถรอดพ้นจากเหตุการณ์อันโหดร้ายได้ และสอดคล้องกับหลักปัญญาวุฒิธรรม 4 อย่าง คือ คบสัตบุรุษ ฟังพระสัทธรรมของท่าน นำมาพิจารณาไตร่ตรอง และนำความรู้ไปใช้ตามสมควรแก่ธรรม จะเห็นจากการที่พระมหาชนกได้มีโอกาสพบปะสนทนากับนางมณีเมขลาและอุทิจจพราหมณ์ จนได้จัดตั้งโพธิยาลัยและหลักการฟื้นฟูต้นมะม่วง 9 ประการ อันเป็นหลักการฟื้นฟูประเทศชาติ

 

 

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

            The thesis entitled “The Guidelines for the Intellectual Development in the Royal Composition on Mahājanaka Tales” was a documentary research consisting of three objectives: 1) to study the guidelines for the intellectual development according to Buddhism; 2) to study the guidelines for the intellectual development in the royal composition on Mahājanaka tales; and 3) to analyze the relation of the guidelines for the intellectual development according to Buddhism and the royal composition on Mahājanaka tales.                                                                                 From the study, it was found that there are two principles for the intellectual development in Buddhism as follows: 1) The intellectual development according to the Virtues Conductive to Growth (Vuḍḍhi-dhamma) by starting from association with wise persons who is like a good friend (Kalyāṇamitta), hearing the Buddha’s teachings, paying attention and studying hard, and using the gained knowledge for an analytical reflection to consider which one is useful in order to apply in life as appropriate with the Dhamma; and 2) The intellectual development according to the Threefold Training (Trisikkhā) which includes Precepts (Sīla), Concentration (Samadhi), and Wisdom (Paññā) by employing the Noble Eightfold Path (Aṭṭhagika-magga) as the middle path for practicing in order to achieve life goals on his/her own which consists of Right Thought, Right Speech, Right Action, Right Livelihood, Right Effort, Right Mindfulness, and Right Concentration. The obstacles in the intellectual development that should be avoided and be careful of are Craving (Tahā), Conceit (Māna), Wrong View (Diṭṭhi), Five Hindrances (Nīvaraa), and lack of Analytic Reflection (Ayonisomanasikāra).                                                                                            In the royal composition on Mahājanaka tales, there are 9 ways as the guidelines for intellectual development appearing from the evidence of mango rehabilitation, as follows: 1) Culturing the seeds; 2) Nursing the existing roots to regenerate; 3) Culturing the cuttings; 4) Grafting; 5) Bud-grafting; 6) Splicing the branches; 7) Layering the branches; 8) Smoking the fruitless tree; and 9) Culturing the cells. This is the intellectual principle aiming to solve the source of ignorance, therefore, the establishment of Bodhivijjalaya College which would benefit Thai people and is considered a valuable treasure of the nation that can be applied at the individual, organizational, and national levels.                                                                                                                                  The results of the study on the guidelines for the intellectual development found that the relation of the guidelines for the intellectual development according to Buddhism and the royal composition on Mahājanaka tales are consistent with the intellectual development according to Buddhism by which the doctrines on Precepts (Sīla), Concentration (Samadhi), and Wisdom (Paññā) are covered. This can be seen when Mahājanaka confronted the boat wrecking in the ocean, however, he had mindfulness and did not waver by sadness like ordinary people. With contemplation, he found a way to solve the problem that he could escape from the terrible event. His action was according to the Four Virtues Conductive to Growth (Vuḍḍhi-dhamma), namely, association with a good and wise person, hearing the good teaching, using the analytical reflection, and practicing it as appropriate with the Dhamma. This could be reflected from when Mahājanaka had the chance to meet and converse with Manimekhala and Udicca brahmin leading to the establishment of Bodhivijjalaya College and 9 principles for mango tree rehabilitation, which is the principles for revitalizing a nation.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 2.6 MiB 653 13 มิ.ย. 2564 เวลา 05:07 น. ดาวน์โหลด