-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการใช้ตัณหาส่งเสริมกุศลธรรมในทางพระพุทธศาสนา
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Use of Taṇhā for the Promotion of Wholsome Deeds in Buddhism
- ผู้วิจัยพระยุรศักดิ์ ยสวฑฺฒโน (ยิ่งสกุล)
- ที่ปรึกษา 1พระครูสิริรัตนานุวัตร, รศ. ดร.
- ที่ปรึกษา 2ดร.เจริญ มณีจักร์
- วันสำเร็จการศึกษา09/09/2019
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/702
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 873
- จำนวนผู้เข้าชม 290
บทคัดย่อภาษาไทย
การศึกษาวิจัยในครั้งนี้เป็นการศึกษาวิธีการใช้ตัณหาเพื่อเป็นแรงจูงใจส่งเสริมให้เกิด กุศลธรรมในทางพระพุทธศาสนา เป็นการศึกษาวิจัยเชิงเอกสาร โดยมีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1. เพื่อศึกษาแนวคิดของตัณหาในคัมภีร์พระพุทธศาสนา 2. เพื่อศึกษาการใช้ตัณหาเพื่อส่งเสริมกุศลธรรมทางพระพุทธศาสนา 3. เพื่อเสนอแนวทางประยุกต์ใช้ตัณหา เพื่อส่งเสริมกุศลธรรมทางพระพุทธศาสนาในสังคมปัจจุบัน เป็นการศึกษาเชิงเอกสารโดยเอกสารปฐมภูมิพระไตรปิฎกเป็นหลัก
ผลการศึกษา พบว่า ตัณหา หมายถึง ความทะยานอยาก เป็นอาการของจิตที่ดิ้นรนอยากได้อารมณ์ที่พอใจ ชอบใจ ก่อให้เกิดการแสวงหาที่ไม่รู้จักพอ แล้วยึดมั่นไม่อยากให้เปลี่ยนแปลง หรือ อารมณ์ที่ไม่พอใจ ไม่ชอบใจ ก่อให้เกิดความต้องการที่จะกำจัดให้พ้นไป ตัณหา มีเวทนาเป็นปัจจัย มีอวิชชาเป็นมูลราก กระบวนการเกิดขึ้นของตัณหา คือ อายตนะภายนอก อายตนะภายใน และวิญญาณกระบทกัน จึงเกิดผัสสะ เมื่อมีผัสสะจึงก่อให้เกิดเวทนาตามมา ตัณหาแบ่งได้ 3 ประเภท คือ 1. แบ่งตามอาการมี 3 ประการ 2. แบ่งตามอารมณ์มี 6 ประการ 3. แบ่งตามกาลมี 108 ประการ
ตัณหาเป็นความอยากที่ก่อให้เกิดทุกข์ การจะใช้ประโยชน์จากตัณหา จึงต้องเปลี่ยนตัณหาเป็นฉันทะ กล่าวคือ เบื้องต้นต้องอาศัยตัณหาเป็นแรงจูงใจ ต่อมาจึงพยายามสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง จนเปลี่ยนเป็นฉันทะ ตัณหาหรือแรงจูงใจในทางที่ไม่ดี จึงต้องควบคุมตัณหาด้วยหลักไตรสิกขา กล่าวคือ สีลสิกขา เป็นเครื่องควบคุมตัณหาให้อยู่ในขอบเขตแห่งศีลธรรม จิตตสิกขา เป็นเครื่องควบคุมจิตไม่ให้กลับไปตัณหาครอบงำ ปัญญาสิกขา เป็นเครื่องแสดงความรู้ความเข้าใจตามความเป็นจริง จนทำให้หลุดพ้นจากการครอบงำของตัณหา ตัวอย่างเช่น ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี สร้างเงื่อนไข โดยใช้ประโยชน์จากตัณหา หรือความอยากได้เงินค่าจ้างของนายกาละ โดยให้นายกาละไปฟังธรรมทุกวัน ผ่านไประยะหนึ่ง ก็สร้างเงื่อนไขอีกว่า ถ้าจำข้อธรรมได้แม้เพียงข้อเดียว ก็จะเพิ่มเงินค่าจ้างให้ ด้วยความที่อยากได้เงินค่าจ้าง นายกาละจึงรับปากอีก ซึ่งการฟังธรรมบ่อย ๆ นั้น เปรียบเสมือนการขันเกลาจิตใจให้บริสุทธิ์ จนในที่สุดนายกาละก็เกิดปัญญา บรรลุเป็นอริยบุคคล
ในปัจจุบันสังคมความเจริญทางด้านวัตถุเป็นไปอย่างรวดเร็ว ผู้คนในสังคมหันมาแสวงหาความสุขทางกาย มากกว่าคามสุขทางใจ สังคมขาดหลักคุณธรรม จริยธรรม ขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในหลักธรรม ดังนั้น การใช้ตัณหาเพื่อเป็นแรงจูงใจในการส่งเสริมให้เกิดกุศลธรรมในสังคมปัจจุบัน จึงต้องอาศัยหลักธรรมขั้นพื้นฐาน สร้างความรู้ความเข้าใจถึงสาเหตุและแนวทางบรรเทาทุกข์ จนถึงการดับทุกข์ ใช้หลักธรรมที่ง่ายและสามารถประยุกต์ใช้กับวิถีชีวิตในสังคมปัจจุบัน แต่ต้องรักษาหลักการของพระพุทธศาสนาที่ถูกต้องไว้ ด้วยวิธีการพัฒนาตามกระบวนการของหลักไตรสิกขา ซึ่งเป็นระบบและเป็นกระบวนการพัฒนาคนที่เชื่อมโยงครบทุกด้าน ตัวอย่างการใช้ความอยากส่งเสริมให้เกิดผลสำเร็จ เช่น การสร้างเงื่อนไขในการเรียน คือ ถ้าผลการเรียนออกมาดี ก็จะให้รางวัล ถ้าพนักงานขาย ขายสินค้าได้เกินกว่าที่กำหนด ก็จะมีเงินตอบแทนให้เป็นพิเศษ (Commission) เงื่อนไขเหล่านี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อให้เกิดความสำเร็จตามเป้าหมาย โดยใช้ประโยชน์จากความต้องการของบุคลมาเป็นแรงผลักดันจนนำไปสู่ความสำเร็จ
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The thesis entitled “The Use of Taṇhā for the Promotion of Wholsome Deeds in Buddhism” was to study the ways to use Taṇhā (craving) as the motivation to promote wholesome deeds (Kusalakamma) in Buddhism. The study consisted of three objectives namely: 1) to study the concept of Taṇhā in Buddhist scriptures, 2) to study the use of Taṇhā for the promotion of wholesome deeds in Buddhism, and 3) to propose ways for applying Taṇhā for the promotion of wholsome deeds in Buddhism in today’s society. The study was documentary research with the data collected mainly from the primary source such as the Tipiṭaka.
From the study, it was found that Taṇhā referred to craving. It is the state of restless mind that wants to experience desirable objects causing an insatiable pursuit, getting attached to it and not wanting it to change. On the other hand, undesirable objects cause a desire of getting rid of it. Taṇhā is conditioned by Vedanā (feelings), with Avijjā (Ignorance) as its root cause. Taṇhā arises from the process of co-working among external objects, internal senses, and consciousness, which is called 'Phassa' (contact). The contact gives rise to Vedanā (feeling). And Vedanā gives rise to Taṇhā. The Taṇhā can be divided into three types: 1) divided into 3 kinds according to categories, 2) divided into 6 kinds according to objects, and 3) divided into 108 kinds according to times.
Taṇhā is the main cause of suffering. To benefit from Taṇhā, it must be transformed into Chanda (wholesome motivation), that is, initially Taṇhā must be used as motivation followed by having the right knowledge and understanding, only then Taṇhā can be transformed into Chanda. Taṇhā or negative motivation must be controlled by Sikkhāttya (the Threefold Learning), in other words, Sīlasikkhā (training in morality) controls Taṇhā to be in line of morality.
Citta-sikkhā (training in mentality) controls the mind not to be dominated by Taṇhā. Paññāsikkhā (training in wisdom) helps to know and understand the truth leading to liberation from being dominated by Taṇhā. As in the case of Anāthapiṇḍika, the wealthy man who took advantages of Taṇhā, that was, the desire for wages of Kāla, his only son, by asking him to go listen to the Dhamma every day. After some times passed, Anāthapiṇḍika gave one more condition, namely, if Kāla could remember one Dhamma principle, he would get higher wage. From wanting to get more and more wages leading Kāla to listen to the Dhamma more and more and could eventually remember them. This was like the process of purifying the mind and giving rise to wisdom. Eventually, Kāla attained Sotāpatti fruition.
In today’s society, material prosperity has been going fast. People in society have turned to seek physical happiness rather than mentally happiness. The society is lack of virtue, morality, the right knowledge, and understanding of the Dhamma. Therefore, to use Taṇhā as the motivation to promote wholesome deeds in today’s society requires the basic Dhamma, that are, to have knowledge and understanding of the causes, the ways to alleviate suffering and the ways to end suffering by applying the simple Dhamma that can be applied in the way of life in today’s society. Most importantly, the correct principles of Buddhism must be maintained by means of self-development according to the process of Sikkhāttya (the Threefold Learning), which is a system and a human development process that connects all aspects. An example of using Taṇhā to promote success such as creating conditions in studying, that is, if the learning outcome is good, the student will be awarded; if the salesperson is able to sell more than the specified amount, he/she will be awarded commission. All these conditions are created in order to motivate a person to achieve a goal by using the benefit from Taṇhā as a motivation leading to success.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 2.12 MiB | 873 | 13 มิ.ย. 2564 เวลา 05:27 น. | ดาวน์โหลด |