โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การศึกษาประเพณีการปฏิบัติธรรมในวันธัมมัสสวนะของชาวพุทธล้านนา
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Study of the Dhamma Practice Tradition on the Buddhist Holy Day of the Lanna Buddhists
  • ผู้วิจัยพระดนัย ชยฺยเมธี (ไชยมี)
  • ที่ปรึกษา 1พระครูสิริสุตานุยุต, ผศ. ดร.
  • ที่ปรึกษา 2พระอธิการสมนึก จรโณ, ดร.
  • วันสำเร็จการศึกษา10/03/2020
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/703
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 659
  • จำนวนผู้เข้าชม 294

บทคัดย่อภาษาไทย

การศึกษาวิจัยเรื่องประเพณีการปฏิบัติธรรมในวันธัมมัสสวนะของชาวพุทธในล้านนา ในครั้งนี้ผู้วิจัยได้ตั้งวัตถุประสงค์ไว้ 3 ประการ ได้แก่ (1) เพื่อศึกษาการปฏิบัติธรรมของพุทธศาสนิกชนในพระพุทธศาสนา (2) เพื่อศึกษาประเพณีการปฏิบัติธรรมในวันวันธัมมัสสวนะของชาวพุทธในล้านนา และ (3) เพื่อวิเคราะห์ประเพณีการปฏิบัติธรรมในวันพระของชาวพุทธในล้านนา การศึกษาวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นการค้นคว้าข้อมูลจากเอกสาร และการเก็บข้อมูลภาคสนาม                                           ผลการวิจัยพบว่า                                                                                                                                     การปฏิบัติธรรมของพุทธศาสนิกชนในพระพุทธศาสนา มีประวัติความเป็นมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล เป็นการปฏิบัติธรรมโดยนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตจริง ทำให้เป็นชีวิตที่ดีมีความสุข การปฏิบัติได้จัดวางไว้เป็นหลักธรรมคือสิกขาหรือการศึกษาซึ่งแยกออกไปเป็น ศีล สมาธิ ปัญญา เรียกว่า ไตรสิกขาการปฏิบัติธรรมนั้นยังมีชื่อเรียกว่าการปฏิบัติสมถวิปัสสนากรรมฐาน คือการรู้แจ้ง  รู้ชัด ญาณและปัญญา จนเห็นสภาวะตามความเป็นจริงในกฎแห่งหลักไตรลักษณ์ การปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา คือการปฏิบัติตามหลักสติปัฏฐาน 4 โดยแบ่งการปฏิบัติออกเป็น 4 หมวด คือ (1) กายา   นุปัสสนาสติปัฏฐาน (2) เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน (3) จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน (4) ธัมมานุปัสสนา   สติปัฏฐาน                           ด้านศึกษาประเพณีการปฏิบัติธรรมในวันวันธัมมัสสวนะของชาวพุทธในล้านนา การปฏิบัติธรรมในวันวันธัมมัสสวนะ คือการนอนวัดจำศีล หรือถืออุโบสถศีลนิยมทำกันเป็นประเพณีทุกวันพระขึ้นหรือแรม 8 ค่ำ 15 ค่ำ ซึ่งเรียกว่า วันศีล ตรงกับวันอุโบสถศีลของภาคกลาง ปฏิบัติตลอดระยะเวลาเข้าพรรษา มีรูปแบบการปฏิบัติธรรม ประกอบด้วย (1) การตกลูกประคำ เป็นเครื่องมือหนึ่งที่จะทำให้ผู้ปฏิบัติธรรมมีจิตใจที่สงบ โดยการไหว้พระสวดมนต์เสร็จแล้วถอดลูกประคำที่คล้องคออยู่ยกลูกประคำจบใส่หัว แล้วตั้งจิตอธิษฐานลดลูกประคำมาอยู่ระหว่างอก โดยใช้หัวแม่มือข้างที่ถนัดนับไปทีละลูกจนครบ 108 ลูก (2) การเจริญสมาธิภาวนา (3) การเดินจงกรม (4) การทำวัตรเช้าเย็น และ (5) การสวดมนต์ในวันวันธัมมัสสวนะของพุทธศาสนิกชนนิยมสวดมนต์อยู่ 2 ประเภทคือ (1)การสวดกัมมัฎฐาน นอกจากสวด  กัมมัฎฐานแล้วแล้วยังมีการสวดมนต์บารมี 30 ทัศและ (2) การสวดมนต์ทั่วไป                                   ด้านวิเคราะห์ประเพณีการปฏิบัติธรรมในวันวันธัมมัสสวนะของชาวพุทธในล้านนา พบว่าการปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนา เรียกว่าภาวนาหรือกัมมัฎฐาน มีอยู่ 2 แบบคือ (1) สมถภาวนา การอบรมใจให้สงบขั้นสมาธิ และ (2) วิปัสสนาภาวนา การทำใจให้รู้แจ้งเห็นจริงขั้นปัญญา ในการปฏิบัติธรรมในล้านนานั้น ในปัจจุบันมีการประยุกต์รูปแบบการปฏิบัติธรรมตามจารีตเดิม ใช้แบบผสมผสานกับรูปแบบใหม่ๆ ซึ่งประกอบไปด้วยก่อนการปฏิบัติสมาธิภาวนา จะมีการไหว้พระ รับศีล การทำวัตร สวดมนต์ สวดกรรมฐาน สวดบารมี 10 ทัศ หรือ 30 ทัศ สวดมนต์ทั่วไป  จากนั้นจะปฏิบัติสมาธิภาวนา เริ่มจากสมาทานกรรมฐาน การนั่งสมาธิ บางวัดใช้รูปแบบตกลูกประคำ การเดินจงกรม ผลจากการปฏิบัติธรรม ทำให้เข้าใจทางโลกและธรรมมากที่สุด เชื่อในหลักธรรมทางพุทธศาสนา เชื่อว่าทำดีได้ดี ทุกสิ่งทุกอย่างมีเกิดย่อมมีดับ เกิดความสมดุลในร่างกายพัฒนาบุคลิกภาพให้สง่างาม และสุขภาพกายดีขึ้นทำให้ไม่เจ็บไข้ช่วยบำบัดโรคร่างกายแข็งแรง รู้จักให้อภัยทำให้เกิดจิตใจที่ดีงามขึ้น

 

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

             The thesis entitled “A Study of the Dhamma Practice Tradition on the Buddhist Holy Day of the Lanna Buddhists” consisted of three objectives: 1) to study the Dhamma practice of the Buddhists in Buddhism; 2) to study the Dhamma practice tradition on the Buddhist holy day of the Lanna Buddhists; and 3) to analyze the Dhamma practice tradition on the Buddhist holy day of the Lanna Buddhists. This was a qualitative research with the data collection employed from documents and field study.                                                                 The results of the study revealed as follows:                                                                             1) The Dhamma practice of the Buddhists in Buddhism found to have history since from the Buddha’s time by having been applied in real life, resulting in a good and happy life. The practice was laid down as Sikkhā or the training that was separated into Precepts (Sīla), Concentration (Samadhi), and Wisdom (Paññā), which is called the Threefold Training (Trisikkhā). The Dhamma practice is also called Calmness (Samatha) Meditation or Concentration Meditation and Insight (Vipassanā) Meditation, that was, to become enlightened, to know thoroughly, to gain insight (ñāṇa) and wisdom until one can realize the reality in the law of the Three Characteristics (Tilakkhaa). The practice of Insight Meditation is based on the FourFoundations of Mindfulness (Satipaṭṭhāna) by which the practice is divided into four sections as follows: 1) Contemplation of the body (Kāyānupassanā); 2) Contemplation of feelings (Vedanānupassanā); 3) Contemplation of mind (Cittānupassanā); and 4) Contemplation of mind-objects (Dhammānupassanā).                                                                                                       2) From the study of the Dhamma practice tradition on the Buddhist holy day, it was found that the Dhamma practice on the Buddhist holy day refers to the staying at the temple for the observance of the precepts or the Eight precepts (Uposathasīla) occurring on  the 8th and 15th day of waxing and waning moon, which is called the Precepts Observing Day (Wan Sil) or the Uposatha day of the central region and it is usually practiced throughout the Buddhist Lent period. The style of the Dhamma practice consists of 1) Keeping count of the Mala beads which is one of the tools making the practitioners have a calm mind. Starting from paying homage to the Buddha’s statue, removing the mala beads from the neck, lifting the beads reaching to the head, making determination, lowering the mala beads to around the chest, then using the thumb to count one by one until finishing all 108 beads; 2) Meditation practice; 3) Walking meditation; 4) Morning and evening chanting; 5) On the Buddhist holy day, Buddhists usually chant two kinds of chanting which are 5.1) Meditation chanting and Thirty Perfections (Tisa-pāramī) chanting; and 5.2) General chanting.                                                                                                     3) From the study of the Dhamma practice tradition on the Buddhist holy day of Lanna Buddhists, it was found that the Dhamma practice in Buddhism is called as Bhāvanā (Development) or Kammaṭṭhāna (Meditation) consisting of two types: 1) Concentration Development (Samathabhāvanā) which is the training of the mind to reach the concentration stage; and 2) Insight Development (Vipassanā-bhāvanā) to develop wisdom to realize the reality. At present, the Dhamma practice in Lanna has the application of traditional practice in combination with the new ones which consists of meditating, paying homage to the Buddha’s statue, observing the precepts, meditation chanting, Ten or Thirty Perfections chanting, general chanting, then meditating. The meditation will start from undertaking the meditation (Kammaṭṭhāna), sitting meditation or in some temples use the counting of Mala beads and walking meditation, instead. The results of Dhamma practice are the understanding in the mundane and Dhamma world, the belief in the Buddhist doctrines, the belief that good deeds bring good results and that all things arise and cease, the balance of the body by improving the personality to be dignified and being healthy and strong without illness as well as knowing to forgive which will lead to the good mental health.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 6.21 MiB 659 13 มิ.ย. 2564 เวลา 05:36 น. ดาวน์โหลด