โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การศึกษาหลักการและวิธีการเผยแผ่ธรรมของพระมหาสมปอง ตาลปุตฺโต
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Study of Principles and Methods of Dhamma Propagation of Phramahā Sompong Tālaputto
  • ผู้วิจัยพระรุ่งโรจน์ รตนวณฺโณ (ศรีเสริม)
  • ที่ปรึกษา 1พระครูสิริรัตนานุวัตร, รศ.ดร.
  • ที่ปรึกษา 2ดร. เจริญ มณีจักร์
  • วันสำเร็จการศึกษา14/08/2019
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/704
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 195
  • จำนวนผู้เข้าชม 715

บทคัดย่อภาษาไทย

              การศึกษาวิจัยเรื่อง “การศึกษาหลักการและวิธีการเผยแผ่ธรรมของพระมหาสมปอง ตาลปุตฺโต” มีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อศึกษาแนวคิดหลักการและวิธีการเผยแผ่ธรรมตามแนวพระพุทธศาสนา (2) เพื่อศึกษาวิธีพัฒนาการเผยแผ่ธรรมของพระมหาสมปอง ตาลปุตฺโต (3) เพื่อเสนอวิธีประยุกต์ใช้การเผยแผ่ธรรมของพระมหาสมปอง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ สืบค้นเอกสารปฐมภูมิได้แก่พระไตรปิฎก  และเอกสารทุติยภูมิ ได้แก่ หนังสือหรือสื่อสารของพระมหาสมปอง ตาลปุตฺโต และ เอกสารอื่น รวมถึงรายงานการวิจัยที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา

              ผลการวิจัยพบว่า

              พระพุทธเจ้ามีหลักการเผยแผ่ธรรมตามอุดมการณ์ที่มอบเป็นปฐมพจน์แก่พระอรหันต์สาวก 60 องค์ ที่สารนาถ กรุงพาราณสี ว่า  เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข เพื่อสังคมสงเคราะห์แก่ชนหมู่มากพระองค์ใช้หลักการแสดงธรรมตามหลักอนุปุพพิกถา 5 คือ (1) ทานกถา แสดงเรื่องทาน (2) ศีลกถา แสดงเรื่องศีล (3)  สัคคกถา แสดงเรื่องสวรรค์  (4) อาทีนวกถา แสดงเรื่องโทษของกาม และ (5) เนกขัมมานิสังสกถา แสดงการออกจากกาม  ใช้เนื้อหาธรรมจากพระสูตรเรื่องเล่าคุณธรรม พระวินัยเรื่องข้อห้ามจริยธรรม และอภิธรรม เรื่องธรรมชาติของจิต  สนองตอบความต้องการตามหลักประมาณ  ๔ คือ  (1) รูประมาณ ถือความพึงพอใจในรูปร่างที่ดีเป็นหลัก (2) โฆษประมาณ ถือความพึงใจในเสียงที่ไพเราะเป็นหลัก  (3) ลูขประมาณ ถือความพึงพอใจในความปอน ๆ เป็นหลัก  (4) ธรรมประมาณ ถือความพึงพอใจในธรรมสาระเป็นหลัก  นิยมใช้แนวทางการเผยแผ่ธรรมในปัจจุบันทางสื่อโซเซียล วิทยุ โทรทัศน์ตามสมัยนิยม 4.0

              พระพุทธเจ้าใช้รูปแบบการแสดงธรรมประเภทสนทนา  บรรยาย  ตอบปัญหา ด้วยลีลาเทศนา 4 วิธี คือ (1) สันทัสสนา ชี้แจงอย่างแจ่มแจ้ง  (2) สมาทปนา ชี้แจงให้เห็นจริงคล้อยตามนำไปปฏิบัติ (3) สมุตเตชนา ให้กำลังใจ ยกย่อง เชิดชู (4) สัมปหังสนา ปลุกใจร่าเริง เบิกบาน เรียกย่อ ๆ ว่า แจงชัด ชวนปฏิบัติ อาจหาญ แกล้วกล้า ร่างเริง เบิกบงาน  ซึ่งมีพระอรหันตสาวกเป็นต้นแบบ เช่น พระสารีบุตร พระมหาโมคคัลลานะ พระมหากัสสปะ พระอานนท์

             พระมหาสมปอง ตาลปุตฺโต มีชื่อเสียงในการบรรยายธรรม ท่านให้ความสำคัญกับรูปร่างหน้าตา น้ำเสียงดังฟังชัด ใช้สมถะไม่ติดค่านิยมเกินไป และให้ความสำคัญกับเนื้อหารสาระ ใช้วิธีการบรรยายธรรมด้วยธรรมลีลา 4 วิธี ที่เรียกว่า  ชี้แจ้งให้ชัด ชวนให้ปฏิบัติ ปลุกใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ทำให้ร่างเริง และเอิบอิ่มเบิกบานใจ  หรือผสมผสานเป็นธรรมบันเทิง มีผลงานวิชาการด้านเอกสารชี้นโบว์แดงเจ้าของแบรนด์ ธรรมะเดลิเวอรี่  มีลักษณะเชื่อมโยงคนยุคใหม่ด้วยการฉีกแนวการเทศน์แบบเดิม ๆ ไม่ใช้ใบลาน  มีภาษากายด้วยการเคลื่อนไหว ใช้น้ำเสียงสูงต่ำเป็นจังหวะ ไม่เรียบเย็น มีเครื่องมือช่วยบรรยาย เช่น โน้ตบุ๊ก พรีเซนเตชั่นทั้งพาวเวอร์พอยต์และภาพเคลื่อนไหว มีจังหวะยิงมุกให้ได้ฮาเป็นระยะ ด้วยคอนเซ็ปต์ สนุกแบบมีสาระแต่จบแบบซาบซึ้ง เพื่อให้ผู้ฟังเข้าถึงความสงบตามแก่นของธรรมะ ทั้งหมดได้จัดการอย่างเป็นระบบ เป็นกุศโลบายการส่งธรรมะถึงผู้รับได้อย่างทั่วถึงอย่างรวดเร็ว

              พระมหาสมปอง ใช้รูปแบบสื่อสารบรรยายธรรม 2 ลักษณะ คือ (1) รูปแบบการสื่อสารเชิงวัจนะ โดยการตั้งคำถามพร้อมไปกับคำตอบ  เลือกใช้ถ้อยคำใหม่ คำแปลก คำทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ  ภาษาสมัยใหม่/ภาษาวัยรุ่น คำคม ภาษาพระ  คำสัมผัสคล้องจอง  คำอุปมาอุปไมยพร้อมกับสร้างอารมณ์ขัน และ (2) รูปแบบการสื่อสารเชิงอวัจนะ โดยใช้ภาษากาย แสดงท่าทางที่หลากหลายปะปนกันประกอบการพูด  การแสดงออกทางใบหน้าอย่างเป็นธรรมชาติ ยิ้มแย้มแจ่มใส มีชีวิตชีวาสอดคล้องตามเนื้อหาที่ต้องการนำเสนอ  มีการสบสายตากับผู้ฟังตลอดเวลา  มีน้ำเสียงน่าฟัง ชัดถ้อยชัดคำ มีจังหวะในการพูดที่ค่อนข้างเร็ว เลียนเสียงพฤติกรรมการพูดของวัยรุ่น การเลียนเสียงศิลปินตลก   ใช้กระบวนการสร้างสรรค์ 3 ด้าน (1) ด้านความรู้ความเข้าใจที่กำหนดรูปแบบธรรมเดลิเวอรี่  (2) ด้านทักษะ การเลือกใช้สื่อ การเลือกสาร (3) ด้านกลยุทธ์ การใช้อารมณ์ขันในการเล่าเรื่องในเหตุการณ์ปัจจุบัน การใช้ความรู้ประสบการณ์เดิมและการเลียนแบบชื่นชอบรูปแบบใหม่ของผู้รับสารเป็นส่วนใหญ่  โดยเฉพาะรสนิยม/ความชื่นชอบของผู้รับสารกลุ่มเด็กและวัยรุ่น

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

           The thesis entitled “A Study of Principles and Methods of Dhamma Propagation of Phramahā Sompong Tālaputto” consisted of three objectives: 1) to study the concepts and methods of Dhamma propagation according to Buddhism, 2) to study the methods for developing the Dhamma propagation of Phramaha Sompong Tālaputto, and 3) to propose ways to apply the Dhamma propagation of Phramaha Sompong Tālaputto. This was qualitative research with the data collected from both primary source, namely, the Tipiṭaka and secondary sources such as books or media of Phramaha Sompong Tālaputto and other related documents and researches. The

data was analyzed by narration.

                 From the research, it was found that the principle of Dhamma propagation given by the Buddha to the 60 arahants, his disciples, at Sarnath in Vārāṇasī was “for the good of the many, for the happiness of the many, for the welfare of the many”. The Buddha propagated the Dhamma according to the principle of Anupubbikathā or the Five Subjects for Gradual Instruction which consisted of 1) Dāna-kathā: the talk on giving, liberality or charity, 2) Silā-kathā: the talk on morality or righteousness,

3) Sagga-kathā: the talk on heavenly pleasures, 4) Kāmādīnava-kathā: the talk on the disadvantages of sensual pleasures, and 5) Nekkhammānisaṁsa-kathā: the talk on the benefits of renouncing sensual pleasures. The Dhamma on virtues are derived from the Sutta, the disciplinary rules from the Vinaya, and the natural reality of things from the Abhidhamma, corresponding to the Four Measures or Pamāṇa consisting of: 1) Rūpa-Pamāṇa: one whose faith depends on good appearance, 2) Ghosa-Pamāṇa: one whose faith depends on sweet voice or good reputation, 3) Lūkha-Pamāṇa: one whose faith depends on shabbiness or ascetic or self-denying practices, 4) Dhamma-Pamāṇa: one whose faith depends on right teachings and practices. At present, the methods of Dhamma propagation are through social media, radio, and television according to the modern era of 4.0.

               The Buddha propagated Dhamma through Dhamma talk, giving lectures, and answering questions by using the Desanāvidhi or the Buddha’s Style or Manner of Teaching consisting of 1) Sandassanā: elucidation and verification, 2) Samādapanā: incitement to take upon oneself; inspiration towards the goal, 3) Samuttejanā: urging; encouragement; animation; filling with enthusiasm, and 4) Sampahasanā: gladdening; exhilaration; filling with delight and joy. There were 4 arahants who were the role models in propagating the Dhamma, namely, Sāriputta, Mahāmoggallāna, Mahākassapa, and Ānanda.

              Phramaha Sompong Tālaputto is famous for his Dhamma talk. He emphasizes the appearance, the clear and loud tone, the use of plain and easy-understanding words and the contents of the talk. The styles that he uses to give Dhamma talk consist of clearness, an inspiration for the listeners to take upon themselves, enthusiasm and delight with joy. His main academic work is the “Dhamma Delivery” which connects the new generations by the unique way of lecturing, instead of using the palm leaf manuscripts, his talk is full of movement with the use of the dynamic tone rather than being monotone and he also has materials to help with his talk such as laptop and all the presentations that include powerpoint and animation. He knows the right time when to use gag to make the audiences laugh. His concept is “fun but full of essence with an impressive ending” in order for the audiences to reach the state of peacefulness. His ways of lecturing are arranged systematically. This can be considered as the strategy for delivering Dhamma to the recipients thoroughly and quickly. 

               The communication modes that Phramaha Sompong Tālaputto uses for giving Dhamma talk consists of 2 styles which are 1) Verbal communication by asking questions along with giving answers. His words are up-to-date, slang, modern, rhythmic, and metaphoric. He also uses transliterated words, epigram and filled with a sense of humor in his talk, and 2) Non-verbal communication by using his body language to show various gestures mixed together while he is talking. His natural facial expressions with a lot of smiles that are consistent with the contents that he would like to present. He always has an eye contact with his audiences. His tone is clear and smooth-tongued with a fast rhythm. He even imitates the way teenagers talk and voices of comedians. His talk consists of the creative processes that focus on the 3 aspects which are 1) knowledge and understanding for determining the style of the Dhamma Delivery, 2) skills in selecting media and content for his talk, and 3) strategy such as the use of humor in storytelling of current events, the use of knowledge and past experiences, and the imitation of the style or behavior of most of the audiences especially the taste and preferences of the audiences who are kids and teenagers.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 7.51 MiB 195 13 มิ.ย. 2564 เวลา 05:37 น. ดาวน์โหลด