-
ชื่อเรื่องภาษาไทยศึกษาความเชื่อและอิทธิพลของความเชื่อที่มีต่อพระพุทธบาท 4 รอยของชาวล้านนา
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Study of Beliefs and Their Influences on the Four Buddhapāda of Lanna People
- ผู้วิจัยพระธงชัย สิริมงฺคโล (บุญเป็ง)
- ที่ปรึกษา 1พระอธิการสมนึก จรโณ, ดร.
- ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร ไพรินทร์ ณ วันนา
- วันสำเร็จการศึกษา10/03/2020
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/709
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 1,106
- จำนวนผู้เข้าชม 1,313
บทคัดย่อภาษาไทย
วิทยานิพนธ์เรื่องศึกษาความเชื่อและอิทธิพลของความเชื่อที่มีต่อพระพุทธบาท 4 รอย ของชาวล้านนา เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาคือ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดความเป็นมาของรอยพระพุทธบาท 2) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของพระพุทธบาท 4 รอย วัดพระพุทธบาท 4 รอย อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ และ 3) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ความเชื่อและอิทธิพลของความเชื่อที่มีต่อพระพุทธบาท 4 รอย ของชาวล้านนา จากการศึกษาพบว่า รอยพระพุทธบาทหมายถึงรอยเท้าของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ถือเป็นสัญลักษณ์แทนพระพุทธเจ้า รอยพระพุทธบาทแรกปรากฏคือรอยพระบาทที่ทรงแสดงแก่คันทิยาพราหมณ์และภรรยา ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงประดิษฐานไว้ด้วยพระองค์เอง ส่วนรอยพระพุทธบาทที่พบในแผ่นหินปัจจุบัน เกิดขึ้นในอินเดียช่วง 400 ปีหลังพุทธปรินิพพาน ต่อมาได้ทำสัญลักษณ์มงคล 108 เพิ่มขึ้นที่ฝ่าพระบาท ส่วนในประเทศศรีลังกาเชื่อว่าพระพุทธองค์ได้ทรงประทับรอยพระบาทไว้ที่ฝั่งแม่น้ำนัมมทา เขาสัจจพันฑคีรี และบนยอดเขาสุมนกูฏ เนื่องจากเป็นรอยพระพุทธบาทที่พระพุทธเจ้าเสด็จประทับด้วยพระองค์เองจึงจัดเป็นบริโภคเจดีย์
รอยพระพุทธบาทประเทศไทยได้รับอิทธิพลทั้งจากอินเดียและศรีลังกา ในสมัยสุโขทัยได้มีจำลองรอยพระพุทธบาทจากเขาสุมนกูฏ ณ ประเทศศรีลังกามาประดิษฐานในกรุงสุโขทัย โดยรอยพระพุทธบาทมีสัญลักษณ์ลายมงคล 108 ประการตามแบบของลังกา ต่อมาในสมัยอยุธยา-ธนบุรี ได้มีการสร้างพระบาทศิลาไว้ ณ เมืองชัยนาท และยังได้มีการค้นพบรอยพระพุทธบาทที่สระบุรี โดยมีความเชื่อว่าเป็นของจริงจากคำบอกกล่าวจากพระเถระจากลังกา ความเชื่อเรื่องรอยพระพุทธบาทก็ได้ สืบทอดต่อมาจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ซึ่งได้ลดความสำคัญลงไปบ้างแต่ก็ยังได้รับการสักการบูชาเลื่อมใสกันมาตลอด
สำหรับรอยพระพุทธบาทที่วัดพระพุทธบาทสี่รอย อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ เป็นหนึ่งในรอยพระพุทธบาทที่ชาวล้านนาเชื่อว่าเป็น 1 ใน 5 ของรอยพระพุทธบาทที่พระพุทธเจ้าทรงประทับด้วยพระองค์เอง ลักษณะของรอยพระพุทธบาทนั้นทับซ้อนกัน 4 รอย ขนาดแตกต่างกันจากใหญ่ไปหาเล็ก คือรอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้า 4 พระองค์ ได้แก่ พระกกุสันธะ พระโกนาคมนะ พระกัสสปะ และโคตรมะ ที่ปรากฏในตำนานพระบาทรังรุ้ง โดยมีความเชื่อว่าการได้สักการบูชาพระพุทธบาท 4 รอย มีอานิสงส์ให้เกิดความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต สมปรารถนา มีความเจริญในหน้าที่การงาน และมีอานิสงส์ที่จะได้ไปเกิดในยุคพระศรีอริยเมตไตรย ในปัจจุบันได้มีพิธีสรงน้ำพระพุทธบาทสี่รอยในวันเพ็ญเดือน 6 เหนือ พระพุทธบาท 4 รอย มีอิทธิพลต่อประเพณีวัฒนธรรม เช่น ประเพณีสรงน้ำ มีอิทธิพลต่อศิลปกรรม เช่น วิหารครอบรอยพระพุทธบาท อุโบสถ เจดีย์ เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีอิทธิพลต่อระบบเศรษฐกิจชุมชน สร้างรายได้ให้แก่ราษฎรในพื้นที่ และสร้างความเจริญให้เกิดแก่จังหวัดในฐานะที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัดและเป็นพุทธสถานที่ได้รับความนิยมในระดับประเทศ
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The thesis entitled “A Study of Beliefs and Their Influences on the Four Buddhapāda of Lanna People” was a qualitative research consisting of three objectives: 1) to study the concepts and background of the Buddhapāda; 2) to study the history and background of the Four Buddhapāda, Wat Phraphutthabat Si Roi, Mae Rim district, Chiang Mai province; and 3) to study and analyze the beliefs and their influences on the Four Buddhapāda of Lanna people.
From the study it was found that Buddhapāda refers to the footprints of all Buddhas, representing the Buddha. The first Buddhapāda appeared was the one that was shown to the Gandiya Brahmin and his wife, which was enshrined by the Buddha himself. The Buddhapāda found in the stone nowadays occurred in India 400 years after the Parinibbāna of the Buddha, which later on the 108 auspicious symbols were made on the footprint. While in Sri Lanka, it is believed that the Buddha impressed his footprints at the banks of Narmada River, Samanelakhanda Mountain, and the peak of Sumanakuta mountain. Since they are the footprints that the Buddha impressed himself, therefore, they are categorized as Paribhoga-cetiya (things and places used by the Buddha). The Buddhapāda in Thailand have been influenced from both India and Sri Lanka. During the Sukhothai period, there was a duplication of Buddhapāda from Sumanakuta mountain in Sri Lanka to be enshrined in Sukhothai, by which the Buddhapāda had the 108 auspicious symbols according to the real one in Sri Lanka. Later on, in the period of Ayutthaya-Thonburi, Buddhapāda made from stone was built at Chai Nat. Moreover, another Buddhapāda was also discovered at Saraburi with the belief that it is real according to the senior monk from Sri Lanka. The belief in Buddhapāda has been passed down to Rattanakosin period, although its importance has been decreased, still it has been worshiped all along.
The four Buddhapāda at Wat Phraphutthabat Si Roi, Mae Rim district, Chiang Mai province, is believed by Lanna people that it is one of the five footprints that the Buddha impressed himself. The characteristics of the four Buddhapāda are overlapping. The sizes vary from large to small, representing the footprints of the four Buddhas, namely, Kakusandha Buddha, Koṇāgamana Buddha, Mahākāśyapa Buddha, and Gautama Buddha, as appeared in the Legend of Rang Rung Footprint. There is a belief that the worship of the four Buddhapāda has the merits as follows: bringing prosperity for life, prosperity in work, having one’s wish fulfilled, and will get to be born in the era of the Maitreya Buddha. At present, there is a water-pouring ceremony on the four Buddhapāda on the full moon day of the 6th month. The four Buddhapāda have influenced the tradition and culture such as the water-pouring ceremony has an influence on the art, for example, the pavilion covering the Buddhapāda, the Uposatha hall, and Pagoda, etc. In addition, the four Buddhapāda also have an influence on the community-based economics by generating income for the local people and creating prosperity for the province from being an important tourist attraction and a Buddhist place that is popular at the national level.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 8.3 MiB | 1,106 | 13 มิ.ย. 2564 เวลา 09:03 น. | ดาวน์โหลด |