-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการศึกษาความเชื่อเรื่องโหราศาสตร์ของชาวพุทธในล้านนา
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Study of Astrology Belief of Lanna Buddhists Phrapalad Arthid Iddhijoto (Konkaew)
- ผู้วิจัยพระปลัดอาทิตย์ อิทฺธิโชโต (ก้อนแก้ว)
- ที่ปรึกษา 1ผศ. พิเศษ ดร. ปกรณ์ มหากันธา
- ที่ปรึกษา 2พระครูโกวิทอรรถวาที, ผศ. ดร.
- วันสำเร็จการศึกษา10/03/2020
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/712
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 3,443
- จำนวนผู้เข้าชม 1,162
บทคัดย่อภาษาไทย
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาโหราศาสตร์ที่ปรากฏในพระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาความเรื่องโหราศาสตร์ของชาวพุทธในล้านนา 3) เพื่อวิเคราะห์ความเชื่อเรื่องโหราศาสตร์ของชาวพุทธในล้านนา
ผลการวิจัยพบว่า
โหราศาสตร์ มีรากศัพท์มาจากภาษาสันสกฤต มากจากคำว่า อโห และ ราตรี หมายถึง ความรู้หรือวิชาที่ว่าด้วยดวงดาว แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ โหราศาสตร์เพื่อทำนายปัจจุบันและอนาคต ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาพบว่าโหราศาสตร์ได้รับความนิยมมากในประเทศอินเดีย
ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนา เช่น การทำนายลักษณะมหาบุรุษ 32 ประการ การทำนายพระสุบินของพระเจ้าปเสนทิโกศล พระพุทธเจ้าทรงมีท่าทีปฏิเสธโหราศาสตร์ เพราะเห็นว่าเป็นดิรัจฉานวิชา ทรงปฏิเสธเรื่องฤกษ์ยาม การดูดาว การทำนายทายทัก เป็นต้น
โหราศาสตร์ในสังคมล้านนา มีการนำมาใช้กันอย่างต่อเนื่อง เป็นการผสมผสานกันระหว่างอิทธิพลของพระพุทธศาสนากับความเชื่อดั้งเดิมของชาวล้านนา พระสงฆ์ในล้านนาบางส่วนจึงมีความรู้ด้านโหราศาสตร์เพื่อสงเคราะห์ชาวบ้าน โดยเฉพาะเรื่องของฤกษ์ยาม ตำราพรหมชาติ ทำให้เกิดพิธีกรรมที่แตกต่างกันออกไป เช่น พิธีสืบชะตา สะเดาะเคราะห์ พิธีถอนขึด เป็นต้น โดยพิธีกรรมและประเพณีที่ปรากฏนั้นพระสงฆ์เป็นผู้กระทำพิธีและทำหน้าที่เป็นโหราจารย์ที่ส่งผลกระทบเชิงบวกและเชิงลบ
จากการวิเคราะห์ พระพุทธศาสนากับโหราศาสตร์เป็นศาสตร์ที่ขัดแย้งกัน เพราะแก่นแท้ของโหราศาสตร์เป็นเพียงเพื่อการพยากรณ์ให้เตรียมความพร้อมรับมือกับเหตุการณ์ ไม่ได้เป็นไปเพื่อดับทุกข์อย่างสิ้นเชิง แต่ก็สามารถประยุกต์ให้โหราศาสตร์กับพระพุทธศาสนาเกื้อกูลกัน โดยใช้โหราศาสตร์เป็นเครื่องชักนำเข้าสู่พระพุทธศาสนา จากนั้นสอดแทรกหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา เช่น หลักกรรม หลักอริยสัจ เป็นต้น
ดังนั้น พระสงฆ์ที่ใช้วิชาโหราศาสตร์ จะต้องมีความเคารพในพระวินัยเป็นหลัก ตั้งความปรารถนาด้วยความเมตตา ไม่มุ่งหวังสักการะและไม่ชักนำให้ประชาชนหลงอยู่ในความงมงาย ส่วนพุทธศาสนิกชนควรมีหลักการพิจารณา ไม่ยึดเอาโหราศาสตร์มาเป็นที่พึ่งยึดเหนี่ยวอย่างจริงจังและควรใช้โหราศาสตร์ใน 2 กรณี คือ ใช้โหราศาสตร์ส่งเสริมพุทธศาสตร์และเป็นศาสตร์สมัยใหม่เท่านั้น
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
This thesis has 3 objectives as follows: 1) to study the astrology that appears in Buddhism, 2) to study the astrology of Buddhist in Lanna, and 3) to analyze the astrology belief of Buddhists in Lanna.
The results of the research showed that
The astrology derived from Sanskrit word “Hora-sastra” , which came from “Ahõ” and “Rãtrî” (night) means knowledge or subject about stars which can be divided into 2 types, including astrology for predicting the present and the future. In the Buddhist scriptures that was very popular in India, such as the prediction of the 32 great characteristics of the Buddha by the dreaming prediction of Pasinadi. The Buddha refused to astrology because he saw that it was Tiracchana Vijjã and refused about the auspicious time, observing stars and predictions, etc.
The astrology in Lanna Buddhist society was continuously appled caused by a mixture of influences of beliefs in Buddhism and traditional Lanna beliefs. Some Buddhist monks in Lanna must have knowledge in astrology for helping villagers, especially, the auspicious time of the Brahmajãti textbook which caused the different rituals such as long life ceremony (Suepjatã); change one's bad fortune through a ceremony (exorcism), and withdrawal ceremony (Thon Khut) etc. According to therituals and traditions that appeared the monks performed the ceremonies and act as astrologers that affected both positive and negative.
From the analysis, Buddhism and astrology are the conflicting sciences because the essence of astrology is only for forecasting, preparing coping with upcoming events which is not entirely for the cessation of suffering completely. But it can be applied to Buddhism each other by using astrology as an induction to Buddhism after that insertion of the principles, including the principle of Kamma, the principle of four noble truths.
Therefore, the monks who use astrology must mainly respect the discipline, set the aspiration with kindness, with compassion, not aiming to worship and not inducing people to be lost in the ignorance. Buddhists should have the principles of consideration that do not take the astrology as a dependency seriously, and should apply the astrology in 2 cases, including applying astrology to promote Buddhism and modern science only.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 7.36 MiB | 3,443 | 13 มิ.ย. 2564 เวลา 09:17 น. | ดาวน์โหลด |