-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการส่งเสริมการฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะกลางของทีมสหสาขาวิชาชีพตามแนวพุทธ โรงพยาบาลสระบุรี อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Promotion of Rehabilitation among Intermediate Stroke Patients of Buddhist Multidisciplinary Teams at Saraburi Hospital, Mueang Saraburi District, Saraburi Province
- ผู้วิจัยนายศักดิ์มงคล เชื้อทอง
- ที่ปรึกษา 1พระสุธีรัตนบัณฑิต, รศ. ดร.
- ที่ปรึกษา 2ดร.วสันต์ ลิ่มรัตนภัทรกุล
- วันสำเร็จการศึกษา09/06/2021
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาการพัฒนาสังคม
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/716
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 63
- จำนวนผู้เข้าชม 51
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหา ความต้องการและรูปแบบการทำงานของทีมสหสาขาวิชาชีพเกี่ยวกับการส่งเสริมการฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะกลางโรงพยาบาลสระบุรี อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี 2) เพื่อศึกษากระบวนการส่งเสริมการฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะกลางของทีมสหสาขาวิชาชีพตามแนวพุทธ โรงพยาบาลสระบุรี อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี และ 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการดำเนินงานการฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะกลางของทีมสหสาขาวิชาชีพเชิงพุทธโรงพยาบาลสระบุรี อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี การศึกษาวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาจากเอกสาร สัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและสนทนากลุ่ม สัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูล จำนวน 22 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงสามเส้าและวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัย พบว่า
1) สภาพปัญหาและความต้องการการทำงานของทีมสหสาขาวิชาชีพเกี่ยวกับการส่งเสริมการฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะกลางโรงพยาบาลสระบุรี อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี จากการศึกษาพบสภาพปัญหาและความต้องการสอดคล้องกับหลักการบริหาร 4 M ดังนี้ 1) ด้านบุคลากรของทีมสหสาขาวิชาชีพไม่เพียงพอ จึงมีความต้องการพัฒนาจิตอาสาหรืออาสาสมัครเพื่อดูแลฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะกลาง 2) ความต้องการการเข้าถึงระบบ IMC เพื่อการดูแลอย่างต่อเนื่องยังไม่ทั่วถึงอย่างองค์รวม ระบบการส่งต่อผู้ป่วยยังขาดประสิทธิภาพ อีกทั้งยังต้องการพัฒนาคุณภาพบริการของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะกลาง 3) จำนวนเตียงในผู้ป่วย Stroke unit ไม่เพียงพอและต้องการให้มีวอร์ดฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะกลางที่โรงพยาบาลสระบุรี 4) ผู้ป่วยและครอบครัวขาดความพร้อมในการฟื้นฟูช่วง Golden Period 5) การให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วยและญาติของทีมสหสาขาวิชาชีพยังน้อย 6) การพัฒนาระบบสารสนเทศของทีมผู้ให้บริการ และโรงพยาบาลสระบุรี มีรูปแบบการทำงานของทีมสหสาขาวิชาชีพเกี่ยวกับการส่งเสริมการฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะกลาง 4 รูปแบบ ดังนี้ 1) ทำงานเป็นระบบทีมสหสาขาวิชาชีพและทุกสาขาวิชาชีพทำหน้าที่อย่างเต็มศักยภาพ 2) มีการทำงานร่วมกับหน่วยงานภายนอกในรูปแบบภาคีเครือข่าย โดยเฉพาะ อปท.(อบจ. อบต. เทศบาล), สปสช. สสจ. พมจ. รพท. รพช. รพสต. ฯลฯ 3) มีการจัดทำคู่มือการดูแล กำหนดเป้าหมายและแนวทางการฟื้นฟูที่ชัดเจนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะกลางของทีมสหสาขาวิชาชีพ 4) มีระบบการประเมินผลลัพธ์และแนวทางการพัฒนาที่ผ่านมาเพื่อเป็นข้อมูลในการปรับปรุงและพัฒนาต่อไป กล่าวได้ว่าโรงพยาบาลสระบุรีเน้นการทำงานแบบมีส่วนร่วมทั้งภายในโรงพยาบาล ทีมสหสาขาวิชาชีพและภาคีเครือข่าย ทำให้การขับเคลื่อนการฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะกลางเป็นไปอย่างเข้มแข็งและมีประสิทธิภาพ ส่งผลต่อการ Best practice รวมทั้งเป็นแกนนำระดับจังหวัด เขตสุขภาพที่ 4 และประเทศต่อไป
2) กระบวนการส่งเสริมการฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะกลางของทีมสหสาขาวิชาชีพตามแนวพุทธ โรงพยาบาลสระบุรี มี 3 ขั้นตอน ดังนี้ 1) กระบวนการคัดกรอง 2) กระบวนการส่อต่อทีมสหสาขาวิชาชีพ และ 3) กระบวนการฟื้นฟูสมรรถภาพทางกาย โดยโรงพยาบาลสระบุรีมีกระบวนการส่งเสริมการฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะกลางของทีมสหสาขาวิชาชีพที่ดี มีระบบและมีประสิทธิภาพ โดยมีทีมสหสาขาวิชาชีพครอบคลุมตามมาตรฐานทุกประการ
3) แนวทางการดำเนินงานการฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะกลางของทีมสหสาขาวิชาชีพเชิงพุทธโรงพยาบาลสระบุรี อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี พบว่า 1)ควรมีระบบบริหารที่ดีตามหลัก 4M โดยมีความพร้อมของทีมสหสาขาวิชาชีพ มีนโยบาย งบประมาณ อุปกรณ์และนวัตกรรมต่างๆและการจัดการในการส่งเสริมการฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะกลาง 2) ควรมีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพและ 3) การบริหารจัดการตามแนวพุทธ ได้แก่การประยุกต์หลักไตรสิกขาและหลักภาวนา 4
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The objectives of this research were to 1) study the problems, needs, and working methods of multidisciplinary teams in the promotion of the rehabilitation of intermediate phase stroke patients at Saraburi Hospital, Mueang Saraburi, Saraburi; 2) study the process of promotion of the rehabilitation of intermediate phase stroke patients of Buddhist multidisciplinary teams at Saraburi Hospital, Mueang Saraburi, Saraburi; and 3) propose practice guidelines on the rehabilitation of intermediate phase stroke patients of Buddhist multidisciplinary teams at Saraburi Hospital, Mueang Saraburi, Saraburi. The study was a qualitative study which relied on documents, in-depth interviews, participatory observation and group discussions and interviews of 22 data providers. The instrument used in the research consisted of an in-depth interview form. Data analysis was performed by data triangulation and content analysis.
The research findings were as follows:
1) Concerning the problems and needs in the work of multidisciplinary teams relating to the promotion of the rehabilitation of intermediate phase stroke patients at Saraburi Hospital, Mueang Saraburi, Saraburi, the study discovered problems and needs consistent with the 4M management principle as follows: 1) Multidisciplinary teams lack sufficient personnel and, therefore, require the development of volunteers to provide care in the rehabilitation of intermediate phase stroke patients. 2) In regards to needs, access to the IMC system for continuous care remains insufficiently comprehensive nor sufficiently holistic, while the patient referral system lacks effectiveness, and the quality of services to intermediate phase stroke patients continues to need improvements. 3) There are insufficient numbers of stroke unit patient beds, and a ward for the rehabilitation of intermediate phase stroke patients is in demand at Saraburi Hospital. 4) Patients and family members lack readiness during the golden period of rehabilitation. 5) Provision of data to patients and relatives by multidisciplinary teams remains low. 6) For the development of the information system of service provider teams and Saraburi Hospital, the work methods of the multidisciplinary teams relating to the promotion of intermediate phase stroke patients consisted of four methods as follows: 1) Work as multidisciplinary teams with every discipline fully contributing. 2) Collaborate with outside agencies in network form, especially local administrative organizations (provincial administration organizations, sub-district administration organizations, and municipalities), NHSO, provincial public health offices, provincial social development and human security offices, general hospitals, the Office of Accelerated Rural Development, sub-district health promotion hospitals, etc. 3) Create care manuals with clearly specified goals and guidelines for the rehabilitation of intermediate phase stroke patients by multidisciplinary teams. 4) System in place for evaluation of outcomes and past improvement guidelines to provide information for improvements and development. It can be concluded that Saraburi Hospital prioritizes participatory work involving the hospital, multidisciplinary teams, and network organizations, which ensures the strong and effective rehabilitation of intermediate phase stroke patients and leads to best practices and provincial leadership in the 4th Health Region and the nation.
2) For the process to promote the rehabilitation of intermediate phase stroke patients of Buddhist multidisciplinary teams at Saraburi Hospital, the following 3 steps were involved: 1) screening; 2) referral to multidisciplinary team; and 3) physical rehabilitation. Saraburi Hospital has a good process in place for the promotion of the rehabilitation of intermediate phase stroke patients by multidisciplinary teams, with an organized and effective system, and multidisciplinary teams being comprehensive in line with every standard.
3) The findings on the guidelines on the rehabilitation of intermediate phase stroke patients of Buddhist multidisciplinary teams according to Buddhism at Saraburi Hospital, Mueang Saraburi, Saraburi, were as follows: 1) A good management system in line with the 4M principle should be in place and accompanied by ready multidisciplinary teams, policies, budgets, equipment, and innovations for the promotion of the rehabilitation of intermediate phase stroke patients; 2) an effective information technology system should be in place; and 3) management should occur in line with Buddhism, such as with the implementation of the Threefold Training and the four kinds of Bhavana.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
6201204228 | 6201204228 | 17.61 MiB | 63 | 14 มิ.ย. 2564 เวลา 03:50 น. | ดาวน์โหลด |