-
ชื่อเรื่องภาษาไทยแนวทางการประยุกต์ใช้เมตตาบารมีตามนัยสุวรรณสามชาดกในการพัฒนาชีวิต
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Guideline for the Application of the Perfection of Loving-kindness According to Suvannasāma Ja̅taka in Life Development
- ผู้วิจัยพระครูสมุห์สิริวรงค์ ติกฺขปญฺโญ (เขียวอรุณ)
- ที่ปรึกษา 1พระครูสิริรัตนานุวัตร, รศ. ดร.
- ที่ปรึกษา 2พระครูพิพิธจารุธรรม, ดร.
- วันสำเร็จการศึกษา22/09/2019
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/722
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 255
- จำนวนผู้เข้าชม 475
บทคัดย่อภาษาไทย
การศึกษาวิจัยเรื่อง “แนวทางการประยุกต์ใช้เมตตาบารมีตามนัยสุวรรณสามชาดกในการพัฒนาชีวิต” มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาความหมายและความเป็นมาของสุวรรณสามชาดก 2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์หลักธรรมที่ปรากฏอยู่ในสุวรรณสามชาดก 3) เพื่อศึกษาแนวทางการประยุกต์ใช้เมตตาบารมีในการพัฒนาชีวิต การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิจัยตามระเบียบวิธีวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) ซึ่งใช้วิธีการรวบรวมข้อมูล การศึกษาข้อมูลจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1) ความหมายและความเป็นมาของสุวรรณสามชาดก สุวรรณสามชาดก แปลว่า แสดงสิ่งที่เกิดมาแล้ว กล่าวถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้นในอดีตของพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นเด็กมีผิวพรรณสีเหลืองดุจทอง เป็นชีวประวัติเรื่องหนึ่งในทศชาติชาดก กล่าวถึงพระชาติของพระโคตมพุทธเจ้าเสวยพระชาติเป็นสุวรรณสามดาบส ในการบำเพ็ญเมตตาบารมี โดยสุวรรณสามดาบสต้องรับภาระเลี้ยงดูบิดามารดาผู้ตาบอด วันหนึ่งพระเจ้ากบิลยักขราชแผลงศรมาถูกได้รับบาดเจ็บแสนสาหัส แต่กลับไม่ได้แสดงความโกรธ กลับแสดงเมตตาจิตต่อ และเทศนาทศพิธราชธรรมให้กบิลยักษ์ฟัง ด้วยอำนาจแห่งเมตตาธรรมทำให้พระสุวรรณสามหายเจ็บปวดรอดชีวิตมาได้ และบิดามารดาก็กลับมีจักษุดี
2) หลักธรรมที่ปรากฏอยู่ในสุวรรณสามชาดก หลักธรรมที่ปรากฏในสุวรรณสามชาดก
มีทั้งหลักธรรมเชิงปัจเจกบุคคลและเชิงสังคม หลักธรรมเชิงปัจเจกบุคคล ได้แก่ หลักกฎแห่งกรรม
ที่ไม่มีใครหลีกหนีพ้นได้ ย่อมได้เสวยผลกรรมตามที่กระทำนั้น วิธีให้ผลกรรมนั้นอาจไม่เหมือนในชาติก่อนแต่ผลสรุปของกรรมนั้นเหมือนกัน และที่สำคัญคือความประมาทในชาติปัจจุบันที่เป็นช่องโหว่ให้กรรมได้เมล็ดผล และหลักสัจธรรม ที่เป็นหลักความจริงช่วยให้คนตายฟื้นคืนชีพได้ และยังสามารถใช้เป็นพลังป้องกันช่วยให้ตนเองรอดพ้นจากอันตรายต่าง ๆ ได้ ส่วนหลักธรรมเชิงสังคม ได้แก่ หลักเมตตาธรรม ที่ทำให้คนในสังคมอยู่ร่วมกันอย่างปกติสุขเพราะไม่เบียดเบียนกันและกัน แม้จะรายล้อมด้วยอันตรายต่าง ๆ นานา แต่ก็สามารถอยู่ร่วมกันได้ด้วยอำนาจเมตตาธรรม หลักกตัญญูกตเวที เป็นหลักธรรมที่ช่วยเหลือเกื้อกูลกันในยามตกทุกข์ได้ยาก โดยเฉพาะการแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ อันจะส่งเสริมให้บุคคลผู้ความกตัญญู มีความเจริญรุ่งเรือง ตกน้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้
3) การประยุกต์ใช้เมตตาบารมีในการพัฒนาคุณภาพชีวิต การประยุกต์ใช้เมตตาบารมีตามนัยสุวรรณสามชาดกในการพัฒนาชีวิต สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และจิตใจต่อสังคม โดยเรานั้นจะสามารถนำหลักแห่งเมตตาบารมีนี้ไปใช้ในการพัฒนาชีวิต โดยเกิดเป็นอานิสงส์ดังนี้ คือ 1) หลับอยู่ก็เป็นสุข 2) ตื่นขึ้นก็เป็นสุข 3) ไม่ฝันร้าย 4) เป็นที่รักของมนุษย์ทั้งหลาย 5) เป็นรักของอมนุษย์ทั้งหลาย 6) เทวดาย่อมรักษาคุ้มครอง 7) อุปัทวันตรายทั้งหลายย่อมทำอันตรายไม่ได้ 8) จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิได้ง่าย 9) ผิวพรรณย่อมผ่องใส 10) เป็นผู้ไม่ลุ่มหลงมัวเมาในชีวิต ไม่ขาดสติตาย 11) ยังไม่บรรลุธรรม ย่อมเป็นผู้เข้าถึงพรหมโลก
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The thesis entitled “A Guideline for the Application of the Perfection of Loving-Kindness According to Suvannasāma Ja̅taka in Life Development” consisted of three objectives namely: 1) to study the meaning and history of Suvannasāma Ja̅ taka, 2) to analyze the Buddhist principles appeared inSuvannasāma Ja̅ taka, and 3) to study a guideline for the application of the perfection of loving-kindness according to Suvannasāma Ja̅ taka in life development. The study was a documentary research with the data collected from related documents and research works.
From the study, it was found as follows:
1) From the study of the meaning and history of Suvannasāma Ja̅ taka, it revealed that “Suvannasāma” meant to show what had already happened, that is, the stories that occurred in the Buddha’s lifetime.Suvannasāma Ja̅ taka was one of the Ja̅ taka tales talking about the Buddha when he was reborn as Suvannasāma with a skin of goldenliked color. Suvannasāma had to be responsible for his blind parent. The Buddha was reborn as Suvannasāma in order to cultivate the perfection of loving-kindness. When King Kapilayakkha shot a poisoned arrow to Suvannasāma and he was badly injured, instead of getting angry, he sent loving-kindness to the King and sermonized the Dasavidharājadhamma to the King. With the power of loving-kindness,Suvannasāma was able to come back to life and his parent’s eyes were able to see again.
2) From the study of the Buddhist principles appeared in the Suvannasāma Ja̅ taka, it revealed that there were two kinds of Buddhist principles: individual level and society level.The individual-level such as the law of Kamma that no one could escape from or avoid it. A person would get the consequences of his/ her own action. Though the way of Kamma may not be the same as in the previous life, however, the conclusion of the Kamma would be the same. The negligence in the present life would be the loophole for the Kamma to take its course. The truth would also be able to bring a dead person back to life and to protect oneself from all the dangers. The society-level such as loving-kindness which made people in the society to live together happily due to absence of taking advantages between each other; although being surrounded by many dangers, people in the society could still live together due to loving-kindness towards each other. Kataññuta (gratitude) was also one of the Buddhist principles appearedin Suvannasāma Ja̅taka, this principle could help people in the society to help each other in the times of difficulty, especially the gratitude towards the benefactors. Those who had gratitude would result in him/her prosperous and safe.
3) From the study of a guideline for the application of the perfection of loving-kindness according to Suvannasāma Ja̅ taka in life development, it revealed that loving-kindness could be applied to use physically, mentally, emotionally, and mentally for society. The benefits of applying loving-kindness in life development comprising: 1) happily sleeping, 2) happily waking up, 3) the absence of nightmare, 4) loved by all human beings, 5) loved by all non-human beings, 6) protected by all Devatā, 7) the absence of harm from all dangers, 8) easily concentrated mind, 9) clear and bright skin, 10) be mindful with the absence of worldly-minded, and 11) able to reach the world of Brahmaloka even without being enlightened.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 1.68 MiB | 255 | 14 มิ.ย. 2564 เวลา 11:14 น. | ดาวน์โหลด |