โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเชิงพุทธของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช : วิเคราะห์เชิงพุทธธรรม
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Buddhist Environment Conservation of His Majesty King Bhumibol Adulyadej : An Analysis Based on Buddhist Principles
  • ผู้วิจัยพระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (กุยรัมย์)
  • ที่ปรึกษา 1พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส (นิธิบุณยากร), รศ.ดร.
  • ที่ปรึกษา 2ดร.บุญเลิศ โอฐสู
  • วันสำเร็จการศึกษา25/05/2019
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/726
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 251
  • จำนวนผู้เข้าชม 406

บทคัดย่อภาษาไทย

ดุษฎีนิพนธ์เรื่อง “การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเชิงพุทธของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช : วิเคราะห์เชิงพุทธธรรม” นี้ มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 3 ประการ ดังนี้คือ 1) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในพระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช 3) เพื่อวิเคราะห์การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของพระบาทมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเชิงพุทธธรรม โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงเอกสาร แล้ววิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผล

ผลการวิจัยพบว่า

1. พระพุทธเจ้าทรงมีวิธีการในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ด้วยการบัญญัติสิกขาบทห้ามทำลายสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ เช่น ดิน น้ำ ป่าไม้ อากาศ เป็นต้น และทรงแสดงหลักธรรมให้พระสาวกเห็นคุณค่าของสิ่งแวดล้อมและประพฤติปฏิบัติอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อิงอาศัยสิ่งแวดล้อมในการดำเนินชีวิต และให้สิ่งแวดล้อมที่ดีโอบอุ้มชีวิตให้เป็นไปในหนทางสายกลาง เพื่อให้มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์ มีภูมิคุ้มกันโรคที่ดี และจิตใจที่หนักแน่นมั่นคง สามารถดำเนินไปสู่หนทางแห่ง
ความหลุดพ้นได้ตามสมควรแก่เหตุปัจจัยของแต่ละบุคคล

2. พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงมีวิธีการในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมต่าง ๆ มากมาย เช่น ดิน น้ำ ป่าไม้ อากาศ เป็นต้น ด้วยการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่มีสภาพดีอยู่แล้วให้คงสภาพอยู่อย่างเดิม การฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมที่มีสภาพเสื่อมโทรมเป็นปัญหาหรือสร้างมลภาวะแก่มนุษย์ สัตว์ และพืชพันธุ์ธัญญาหารต่าง ๆ เป็นต้น ให้มีสภาพที่ฟื้นตัวดีขึ้นจนมีสภาพเป็นปกติดังเดิม และการส่งเสริมสิ่งแวดล้อมที่ยังขาดแคลนหรือมีไม่เพียงพอต่อความต้องการของประชาชนและในการพัฒนาประเทศชาติในบริบทต่าง ๆ ให้เกิดมีขึ้นมา โดยทรงอาศัยศาสตร์พระราชาที่เป็นพระราชประสบการณ์จากการศึกษาศิลปวิทยาการ การบำเพ็ญพระราชกรณียกิจ และพระอัจฉริยภาพที่ทรงมีมาด้วยพระบุญญาธิการ จึงเกิดเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่น เป็นที่สนใจและยกย่องเชิดชูพระเกียรติจากปัญญาชนทั่วโลก

3. การวิเคราะห์โดยอาศัยหลักพุทธธรรม คือ มรรคมีองค์ 8 หรือไตรสิกขากับศาสตร์พระราชาของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทำให้ได้แนวทางในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่สมบูรณ์แบบ สามารถใช้ปฏิบัติงานอนุรักษ์ฟื้นฟูและส่งเสริมสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเป็นไปอย่างรอบคอบรอบด้าน เกิดสัมฤทธิผลที่ดีงาม ทั้งในด้านบุคลากรผู้ดำเนินงานก็มีหลักคุณธรรมเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจในการดำเนินงานและเป็นภูมิคุ้นกันตนเองให้อยู่แนวทางที่ดีงาม ป้องกันตนเองไม่ให้ตกไปในทางที่ผิดพลาดเสื่อมเสีย และผลของงานก็ออกมาในรูปแบบที่ดี มีคุณภาพ ทำให้เกิดภาวะ “คนดี งานเด่น เน้นคุณธรรม”

สรุปผลการวิจัย การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเชิงพุทธของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชนั้น ผู้วิจัยได้กำหนดโครงสร้างเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงาน คือ (1) โครงงาน ได้แก่ อริยสัจ 4 ที่ประกอบด้วยปัญหา สาเหตุของปัญหา ภาวะไร้ปัญหา และแนวทางไปสู่ภาวะไร้ปัญหา โดยสงเคราะห์สิ่งแวดล้อมเป็นตัวความทุกข์ ซึ่งมีปัญหาที่จะต้องทำการแก้ไข (2) อุดมการณ์ของก3) หลักการในการทำงาน ได้แก่ สันโดษ 3 ประการเป็นจุดยืนและเครื่องค้ำยันให้ดำเนินงานอยู่ในแนวทางที่ดีงามเสมอ (4 วิธีการในการทำงาน ได้แก่ มรรคมีองค์ 8 หรือไตรสิกขา เป็นตัวขับเคลื่อนงานให้เป็นไปตามอุดมการณ์ที่ตั้งไว้ ให้เป็นไปตามหลักการของปฏิจจสมุปบาท คือ สภาพที่เป็นเหตุเป็นผลของกันและกัน

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

The research entitled “The Buddhist Environment Conservation of His Majesty King Bhumibol Adulyadej : An Analysis Based on Buddhist Principles” consisted of three objectives: 1) to study environmental conservation in Buddhism,
2) to study environmental conservation of His Majesty the King, and 3) to integrate environmental conservation according to Buddhist ways.

The results of the study were as follows:

1) The Buddha had many ways for environmental conservation by regulating the rule on not destroying environment such as soil, water, soil, air etc. and by teaching his followers to see the values of environment, to behave in an environmentally friendly manner, to rely on environment for living, and to let good environment make one’s life live according to the middle way in order to have a healthy life, good immunity, and stable mind to the path leading to liberation depending on each one’s root condition.

2) His Majesty King BhumibolAdulyadej had many ways for conserving environment such as soil, water, forest, air etc. His ways for conservation were on the method of keeping and maintaining the ones that were already in good conditions. His Majesty the King had ways to restore an environment, that was in a bad condition that would cause problems or pollution to human, animals and plants, to be better and back to its normal condition and to manage an environment to be consistent with the needs of people and the development of the country through his philosophy that was from his studying of many science, his royal duties and his remarkable talent that was from his great merits in the past. Therefore, his ways became the unique identity that were admired and interested by intellectuals around the world.

3) The integration of the Noble Eightfold Path, the Threefold training with the His Majesty King BhumibolAdulyadej’s philosophy resulted in ways for perfect environmental conservation that could help conserving, restoring and enhancing environment efficiently and carefully. The responsible person for conserving environment also benefited from this as there would be a moral principle for him/her to hold onto, an immune for him/her to good behavior, and to protect himself/herself from doing bad deeds. The achievements of the work would also come out in good quality resulting in the condition of “good man with outstanding work and morality”.

The research on “Ways for environmental conservation of His Majesty King BhumibolAdulyadej”, the researcher specified the structure as a guideline for work operation as follows: 1) Planning by applying Ariyasacca IV or the Four Noble Truths consisting of problems, causes of problems, cessation of problems, and the path leading to the cessation of problems; 2) Ideology of work by applying Raja-saigahavatthu V or virtues making for national integration, this considered as the purpose for conserving, restoring and enhancing environment to be in a normal condition; 3) Working principle by applying Santosa III or Contentment as a standpoint to always keep working in a good way; and 4) Method of work by applying Magga or Noble Eightfold Path or the Threefold training to keep the work moving forward according to the determined ideology

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 4.8 MiB 251 14 มิ.ย. 2564 เวลา 20:45 น. ดาวน์โหลด