-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการเลิกบุหรี่เชิงพุทธบูรณาการ
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Buddhist Integration of Behavior Change for Smoking Cessation
- ผู้วิจัยพระสุระศักดิ์ ธุวสีโล (มะลิวัลย์)
- ที่ปรึกษา 1พระมหาสมบูรณ์ วุฑฺฒิกโร, รศ.ดร.
- ที่ปรึกษา 2พระมหาอดิเดช สติวโร, ดร.
- วันสำเร็จการศึกษา28/05/2019
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
- ระดับปริญญาปริญญาเอก
- สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/728
- ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 526
- จำนวนผู้เข้าชม 406
บทคัดย่อภาษาไทย
งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของโปรแกรมการเลิกบุหรี่เชิงพุทธบูรณาการ และเพื่อนำเสนอกระบวนการเจริญวิปัสสนาตามแนวสติปัฏฐาน 4 ในการเลิกสูบบุหรี่ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสม (Mix Method) วัดผลเปรียบเทียบข้อมูลก่อนและหลังการฝึกอบรม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมทางสถิติ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ที่มาขอรับการฝึกอบรมโครงการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ต้องขังติดยาเสพติด พ.ศ.2562 เป็นเพศชาย อายุ ๒๐-๖๐ ปี จำนวน 200 คน ณ ทัณฑสถานบำบัดพิเศษกลาง กรมราชทัณฑ์ วันที่ 18 - 22 กุมภาพันธ์ 2562 ซึ่งใช้วิธีการฝึกวิปัสสนาตามแนวสติปัฏฐาน 4 ผลการศึกษาพบว่า การศึกษาประสิทธิภาพของการเลิกบุหรี่เชิงพุทธวิธี เปรียบเทียบก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการฝึกอบรม ได้แก่ ด้านความคิดเห็นทั่วไปเกี่ยวกับการสูบบุหรี่ ด้านสภาพแวดล้อมทางครอบครัว ด้านการเสริมสร้างสมาธิและค่านิยมตามแนวพุทธบูรณาการ (ปัจจัยให้ละเว้น) พบว่าก่อนและหลังการอบรมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติชุดฝึกอบรมพัฒนาจิตพิชิตบุหรี่ด้วยฝึกปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามหลักสติปัฏฐาน 4 มีส่วนช่วยให้ผู้ปฏิบัติเห็นทุกข์คือ ปัญหาความ อยากที่เกิดขึ้น เห็นสาเหตุของทุกข์สาเหตุของปัญหาคือพิษ โทษ โรคภัย เห็นหนทางในการดับทุกข์คือ การบวนการสร้างสติ สมาธิ ให้เข็มแข็ง และเมื่อลงมือปฎิบัติวิปัสสนากรรมฐาน จึงทำให้ทุกข์นั้นดับไปตามหลักอริยสัจ 4 จึงมีหลักที่ถูกต้องสามารถนำไปใช้ในการลด ละ เลิกบุหรี่ ได้ในอนาคต
คำสำคัญ : การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม; การเลิกบุหรี่; พุทธบูรณาการ
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
This dissertation entitled “Buddhist Integration of Behavior Change for Smoking Cessation”, has three objectives: 1) to study the behaviour of smoking, 2) to study the Buddhist integrated program effectiveness of quitting smoking, and 3) to propose the guidelines in the development of insight meditation based on four foundations of mindfulness in quitting smoking. This is a mixed method research done by the quasi-experimental research. In this research, Pre-test and post-test were done. The data were analyzed by using statistical software. The populations were of male prisoners whose ages were of 20-60 years old in the Central Correctional Institution for Drug Addicts, Nonthaburi, who wanted to participate in quitting smoking through the Buddhist integrated program. Sample size was of 200. They attended the program on February 18th-22nd, 2019. The meditation techniques were of the four foundations of mindfulness. To compare the result of Pre-test and Post-test program where the opinion about smoking, the family environment, and the meditation and habits support were taken. It was found that the results of Pre-test and Post-test program were of significantly different statistics. Therefore, the meditation program in quitting smoking was effective. For those who suffered from smoking addict can practice meditation to understand their suffering, the cause of suffering and its solution leading to the total liberation. It was in accordance with the Four Noble Truths. And therefore, such meditation techniques could be applied in daily life.
Keywords: Behavioral change, Quitting smoking, Buddhist integration
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 8.03 MiB | 526 | 14 มิ.ย. 2564 เวลา 22:31 น. | ดาวน์โหลด |