-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการสร้างแบบประเมินความก้าวหน้าการละสังโยชน์ ของผู้เจริญวิปัสสนากรรมฐาน
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Development of the Progress Evaluation Forms in Eradicating the Fetters for Insight Meditation Practitioners
- ผู้วิจัยนางสาวภราดี บุตรศักดิ์ศรี
- ที่ปรึกษา 1พระมหาอดิเดช สติวโร (สุขวัฒนวดี), ดร.
- ที่ปรึกษา 2ดร.บุญเลิศ โอฐสู
- วันสำเร็จการศึกษา28/05/2019
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
- ระดับปริญญาปริญญาเอก
- สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/729
- ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 209
- จำนวนผู้เข้าชม 374
บทคัดย่อภาษาไทย
ดุษฎีนิพนธ์เรื่อง “การสร้างแบบประเมินความก้าวหน้าการละสังโยชน์ของผู้เจริญวิปัสสนากรรมฐาน” มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาสังโยชน์ในคัมภีร์พระพุทธศาสนา 2) ศึกษาการเจริญวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน 4เพื่อการละสังโยชน์ในคัมภีร์พระพุทธศาสนา และ 3) เพื่อสร้างแบบประเมินความก้าวหน้าการละสังโยชน์ของผู้เจริญวิปัสสนากรรมฐาน โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ คือการศึกษาการละสังโยชน์และการเจริญวิปัสสนากรรมฐานแนวสติปัฏฐาน 4 จากพระไตรปิฎก อรรถกถา และคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท และใช้การสัมภาษณ์พระวิปัสสนาจารย์ที่สอนการเจริญวิปัสสนากรรมฐานแนวสติปัฏฐาน 4 แบบใช้คำบริกรรมพองหนอยุบหนอเพื่อนำมาพัฒนาแบบประเมินการละสังโยชน์ ผลการวิจัย พบว่า 1) สังโยชน์ เป็นกิเลสที่ผูกสัตว์จมอยู่ใน วัฏฏทุกข์ เพราะการยึดติด ยึดมั่น ถือมั่น ในอัตตา ทำให้ไม่เห็นทุกข์และการดับทุกข์อย่างแท้จริง 2) การเจริญวิปัสสนากรรมฐานแนวสติปัฏฐาน 4 ถือเป็นวิธีการปฏิบัติตามแนวทางสายกลาง(มัชฌิมาปฏิปทา) เพื่อการบรรลุมรรคผลนิพพาน โดยการทำให้ผู้ปฏิบัติมีสติสัมปชัญญะครบบริบูรณ์นำไปสู่ปัญญาความรู้แจ้ง (ญาณ) จึงเห็นขันธ์ 5 ตามความเป็นจริง (สัมมาทัสสนะ) ตามหลักไตรลักษณ์ คือเห็นว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา อย่างไรก็ดี การละสังโยชน์ด้วยการเจริญวิปัสสนากรรมฐานเป็นเรื่องรู้ได้เฉพาะตนของผู้ปฏิบัติ และผู้จะประเมินผู้ปฏิบัติธรรมต้องมีระดับคุณธรรมในระดับเดียวกันหรือที่สูงกว่าผู้ถูกประเมิน 3) การเสนอแบบประเมินความก้าวหน้าในการละสังโยชน์ของผู้เจริญวิปัสสนากรรมฐาน แบบประเมินนี้ถือเป็นรูปแบบหนึ่งของการสอบอารมณ์ แต่เป็นการประเมินเชิงเอกสารเพื่อเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ใช้ตรวจสอบการปฏิบัติของตนเอง ไม่ใช่แบบประเมิน
ข
ตามลำดับวิปัสสนาญาณ 16 กล่าวคือไม่ได้ระบุว่าผู้ปฏิบัติที่ประเมินได้บรรลุญาณหรือไม่ แบบประเมินนี้แบ่งเป็น 3 ด้าน คือ 3.1) ประเมินความก้าวหน้าในการเจริญวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน 4 รูปแบบคำบริกรรมพองหนอยุบหนอ ส่วนนี้พัฒนามาจากการสอบอารมณ์ตามคู่มือและแนวทางของวิปัสสนาจารย์ 3.2) ประเมินความเพียรของผู้ปฏิบัติตามหลักสัมมัปธาน 4 และ 3.3) ประเมินพฤติกรรมในการลดละอัตตา (สักกายทิฏฐิ) ลดละความลังเลสงสัยในพระรัตนตรัย วิธีการและผลการปฏิบัติธรรม (วิจิกิจฉา) และลดละการเห็นผิดที่ไม่เป็นไปตามอริยมรรคมีองค์ 8 (สีลัพพตปรามาส) ด้วยการประเมินพฤติกรรมทางกายและวาจาที่เปลี่ยนไปในทางที่เป็นกุศล ของผู้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ส่วนการประเมินทางใจของผู้ปฏิบัติธรรม เป็นสิ่งที่รู้ได้เฉพาะตน ยกเว้นผู้ที่มีคุณธรรมที่สูงกว่า
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
This dissertation entitled “A Development of the Progress Evaluation Form in Eradicating the Fetters for Insight Meditation Practitioners” has three objectives: 1) to study the fetters in Buddhist scriptures, 2) to study the insight meditation by satipaṭṭhana 4 to eradicate the fetters in Buddhist scriptures, and 3) to develop the forms to evaluate the progression in eradicating the fetters through the practitioners’ insight meditation. This is a qualitative research made by documentary studying in eradicating the fetters in Theravada Buddhist scriptures such as Tipitaka, and in-depth interviews of 7 satipaṭṭhana 4 meditation masters through the rising and the falling recitation in order to develop the forms to evaluate the eradication of the fetters at the beginning level. The findings are as follows: 1) According to Buddhism, the word ‘fetter’ basically means defilements binding the beings in the process of the birth and death because of the self-concept clinging which made the person not truly known the suffering and the cessation of the sufferings. 2) The insight meditation by practicing satipaṭṭhana 4 is the middle-way to meet the knowledge (magga), the fruition (phala-ñana) and nirvana. By practicing the them,
ง
the practitioners are full of mindfulness and awareness that lead to the knowledge (ñana) to insight the aggregates as they are (right view) under the three characteristics: impermanence, suffering, and not-self. However, The fetters eradication by practicing the satipaṭṭhana 4 is self-knowledge, no-one can know of another. The evaluator who can evaluate the practitioners must have the same virtue or higher. 3) In presenting the progress evaluation form in eradication the fetters for insight meditation practitioners, the form is a kind of interview made by document as a self-evaluation form for practitioners. The form is not aimed to evaluate the 16 knowledge (ñana) which are practitioners met. The forms developed have three parts: 1) evaluating the progression of the insight meditation practitioners through the satipaṭṭhana 4 practicing through the rising and the falling recitation is based on the principle and method of the interview, and the meditation masters’ interviewees, 2) evaluating the practitioners’ effort based on the sammappadhãna 4, and 3) evaluating conduct that show the reduction of self-concept or self (sakkãyadiṭṭhi), uncertainty in the triple gem, method and the benefits of insight meditation (vicikicchã), and wrong view that is not the way to the noble eightfold path (silabbataparãmãsa), by assessing the action and speech of the practitioners which change to be the good conduct (kusala), on the other hand, the mind should be made by self-evaluation except by the same level or higher virtue of evaluators.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 7.41 MiB | 209 | 14 มิ.ย. 2564 เวลา 22:49 น. | ดาวน์โหลด |