-
ชื่อเรื่องภาษาไทยความสัมพันธ์ระหว่างพระพุทธศาสนากับพระมหากษัตริย์ไทย พ.ศ.2154-2394
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Relations between Buddhism and the Thai Monarchs B.E. 2154-2394
- ผู้วิจัยพระมหาทศพล จนฺทวํโส (มาบัณฑิตย์)
- ที่ปรึกษา 1พระมหาสมบูรณ์ วุฑฺฒิกโร, รศ. ดร.
- ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร. จุฬิศพงศ์ จุฬารัตน์
- วันสำเร็จการศึกษา30/08/2019
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
- ระดับปริญญาปริญญาเอก
- สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/731
- ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 1,053
- จำนวนผู้เข้าชม 563
บทคัดย่อภาษาไทย
ดุษฎีนิพนธ์เรื่อง “ความสัมพันธ์ระหว่างพระพุทธศาสนากับพระมหากษัตริย์ไทย พ.ศ. 2154-2394” นี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ (1) เพื่อศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ในอุดมคติทางพระพุทธศาสนา (2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างพระพุทธศาสนากับมหากษัตริย์ไทย พ.ศ. 2154-2394 ในการสร้างพระราชอำนาจ พระบารมี ความชอบธรรมและส่งเสริมการปกครองของพระมหากษัตริย์ และ (3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพระพุทธศาสนากับพระมหากษัตริย์ไทย พ.ศ. 2154-2394 เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร โดยศึกษาค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลจากพระไตรปิฎก ตำราวิชาการ บทความวิชาการ และเอกสารที่เกี่ยวข้อง
ผลงานวิจัยพบว่าปัจจัยที่สำคัญที่มีผลต่อความความสัมพันธ์ระหว่างพระพุทธศาสนากับพระมหากษัตริย์ไทย ได้แก่ การขึ้นครองราชย์แบบปราบดาภิเษก การเข้ามาของชาวต่างชาติ และเศรษฐกิจ เป็นต้น ส่งผลให้เกิดความสัมพันธ์แบบภาวะพึ่งพากันต่างก็ได้รับประโยชน์ซึ่งกันและกัน พระมหากษัตริย์ได้ใช้แนวคิดทางพระพุทธศาสนา เช่น ธรรมราชา จักรพรรดิราช และคติพระโพธิสัตว์ เสริมสร้างพระราชอำนาจ บุญบารมี และความชอบธรรมเพื่อส่งเสริมอำนาจการปกครอง ส่วนพระพุทธศาสนาได้รับประโยชน์จากความสัมพันธ์ คือ การอุปถัมภ์ดูแลใน 4 ด้าน คือ ศาสนธรรม ศาสนบุคคล ศาสนวัตถุ และ ศาสนพิธี และยกไว้ในฐานที่เคารพศรัทธา
ความสัมพันธ์ระหว่างพระพุทธศาสนากับพระมหากษัตริย์ไทยในสมัยอยุธยาเป็นแบบแผนให้พระมหากษัตริย์ในสมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์ตอนต้นใช้เป็นต้นแบบ แต่ด้วยบริบททางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปหลังเสียหลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ทำให้พระมหากษัตริย์แต่ละพระองค์ต้องปรับใช้แนวคิดทางพระพุทธศาสนาที่แตกต่างกัน เพื่อให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ทางสังคม ทั้งต้องเชิดชูพระราชอำนาจ บุญบารมีในการสร้างความชอบธรรมทางการเมือง พบว่า พระมหากษัตริย์สมัยอยุธยาเน้นแสดงพระองค์เป็นจักรพรรดิราชผู้ทรงธรรม สมัยธนบุรีสภาพบ้านเมืองเอื้อต่อคติพระโพธิสัตว์ สมเด็จพระเจ้าตากสินจึงเทียบเทียงพระองค์เป็นพระพุทธเจ้าบนโลกมนุษย์ด้วยการสร้างพระบารมีเฉพาะพระองค์ และสมัยรัตนโกสินทร์กลับไปใช้แบบแผนเดิมแต่ได้เข้าไปควบคุมมาตรฐานพระรัตนตรัย เช่นการสังคายนาพระไตรปิฎก การออกระเบียบควบคุมพระสงฆ์ และสร้างพุทธสัญลักษณ์ที่มีความพิเศษทั้งในเชิงปริมาณและขนาด
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
This dissertation, entitled “The Relations between Buddhism and the Thai monarchs B.E. 2154-2394” consists of three objectives: 1) To study the concept of the ideal king in the belief of Buddhism, 2) To study the possible factors of Buddhism which had an influence on/ played important roles on the Thai kings in the following areas : the gaining of royal powers, charisma, righteousness and the Buddhist support to the Thai monarchy and 3) To study the relations between Buddhism and the Thai
monarchs. This work is carried out through researches from Tipiµaka, academic works, articles, and relevant documentations.
The study and its findings show the important factors that influence the relations between Buddhism and the Thai monarchs. The self-become king from winning the wars, the entry of foreigners into Siam and economic situation are examples of the situation which shows the interdependence between Buddhism and the Thai monarchs. Thai kings have long adopted and adapted Buddhist concepts and teachings such as dharma, kingship and the bodhisattva in the rulings. In return, Buddhism has received royal supports and care in 4 aspects: dharma principles, religious, materials, and Buddhist ceremony. Moreover, Buddhism was highly placed with respect to the Thai monarchy.
The relations between Buddhism and the Thai king from the Ayutthaya period is a model for the kings from the Thonburi period and the early Rattanakosin period. However, with the change of political, economic and social context after the second loss of Ayutthaya to Burma, each king adopted and applied different Buddhist concepts to suit the then situation. The kings had to use their royal power to create political legitimacy. The findings are that the monarch of the Ayutthaya period emphasized himself as the emperor ruler while the monarch of the Thonburi period conditioned himself to adhere to the principles of the Buddha’s bodhisattva. Next, King Taksin took the role of the supreme leader of the sangha, acting as the living Buddha. Finally, the king from the early Rattanakosin period used the old-style ruling pattern and controlled the standard of the Triple Gems by revising the Tripitaka, setting rules and regulations to control Sangha and creating a special Buddhist symbol in quantity and size.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 2.69 MiB | 1,053 | 15 มิ.ย. 2564 เวลา 00:14 น. | ดาวน์โหลด |