-
ชื่อเรื่องภาษาไทยแนวทางการพัฒนาจริยธรรมของผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์ดาวเทียมในประเทศไทยเชิงพุทธบูรณาการ
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Guideline to the Ethical Development for the Satellite Television Operators in Thailand based on the Buddhist Integration
- ผู้วิจัยนายประชา เทศพานิช
- ที่ปรึกษา 1พระครูโกศลศาสนบัณฑิต, รศ.ดร.
- ที่ปรึกษา 2พระมหาสมบูรณ์ วุฑฺฒิกโร, รศ.ดร.
- วันสำเร็จการศึกษา22/08/2019
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
- ระดับปริญญาปริญญาเอก
- สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/732
- ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 287
- จำนวนผู้เข้าชม 319
บทคัดย่อภาษาไทย
ดุษฎีนิพนธ์เรื่อง “แนวทางการพัฒนาจริยธรรมของผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์ดาวเทียมในประเทศไทยเชิงพุทธบูรณาการ” มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ ได้แก่ (1) เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และสภาพปัญหาของผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์ดาวเทียมในประเทศไทย (2) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรมของผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์ดาวเทียมในประเทศไทย (3) เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาจริยธรรมของผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์ดาวเทียมในประเทศไทยเชิงพุทธบูรณาการ งานวิจัยเรื่องนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพโดยศึกษาจากเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกโดยกำหนดกรอบการวิจัยตามวัตถุประสงค์ ด้วยวิธีการพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า
จากแนวคิดทฤษฎีด้านสื่อสารมวลชนได้กล่าวถึงการกระทำผิดจริยธรรมของสื่อสารมวลชนไว้หลายประการ เช่น การโกหกและหลอกลวงเสนอข่าวสารข้อมูลที่ไม่จริง การมีอคติลำเอียงที่ฝืนต่อจริยธรรม การมีผลประโยชน์ทับซ้อนของสื่อมวลชน และการขาดความเมตตาธรรมของสื่อ เป็นต้น
ปัญหาด้านจริยธรรมของผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์ดาวเทียม ส่วนใหญ่ยังขาดจริยธรรม ขาดความรับผิดชอบต่อวิชาชีพในการปฏิบัติงาน ได้แก่ ปัญหาการประทุษร้ายทางวาจา ปัญหาการสร้างความเกลียดชัง ปัญหาการสร้างความแตกแยกในสังคม ปัญหาการโฆษณาเกินจริง ปัญหาการอวดอ้างสรรพคุณเกินจริง ปัญหารายการชวนเชื่อ งมงาย ไร้สาระ และปัญหารายการที่ส่อไปในทางลามก อนาจาร ซึ่งจะมีผลกระทบในทางลบต่อผู้ชมและสังคม ซึ่งหากยังไม่ได้รับการแก้ไขย่อมจะส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคในวงกว้างเนื่องจากกลุ่มผู้บริโภคที่รับชมโทรทัศน์ดาวเทียมมีเป็นจำนวนมากทั่วประเทศ
หลักพุทธธรรมที่สอดคล้อง ในการนำมาใช้บูรณาการกับวิธีการพัฒนาจริยธรรม เพื่อใช้แก้ไขปัญหาในปัจจุบัน ซึ่งประกอบไปด้วย หลักอริยมรรคมีองค์ 8 หลักเบญศีล เบญจธรรม หลักพรหมวิหาร 4 และหลักอคติ 4 ซึ่งสรุปได้ 4 วิธีเชิงพุทธบูรณาการ ดังต่อไปนี้
1) หลักมรรคมีองค์ 8 นำมาบูรณาการกับวิธีการส่งเสริมสนับสนุนให้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติส่งเสริมจริยธรรมวิชาชีพสื่อสารมวลชนฉบับใหม่ให้เร็วที่สุด เพื่อให้ทุกสื่ออยู่ภายใต้องค์กรวิชาชีพสื่อสารมวลชนอันเดียวกัน เพื่อให้มีการควบคุมและกำกับดูแลกันเอง (Self Regulation) จะทำให้เกิดผลเป็นความประพฤติที่ถูกต้องดีงามทั้งกาย วาจา ใจ
2) หลักเบญจศีล, เบญจธรรม นำมาบูรณาการกับวิธีการหยุดยั้งหรือไม่สนับสนุนช่องโทรทัศน์ดาวเทียมที่กระทำผิดกฎหมาย หรือกระทำผิดจริยธรรม มีบทลงโทษในทางปฏิบัติที่เคร่งครัดชัดเจนจาก กสทช.จะทำให้มีความประพฤติที่คิดถูก พูดถูก ทำถูก ไม่ทำในสิ่งที่ผิดกฏหมาย ไม่ทำในสิ่งที่ผิดศีลธรรม
3) หลักพรหมวิหาร 4 นำมาบูรณาการกับการส่งเสริมวิชาชีพสนับสนุนให้มีการจัด Forum การอบรม การเข้าค่าย สัมมนา โดย กสทช. และหน่วยงานองค์กรวิชาชีพสื่อสารมวลชน โดยใช้การจัดสนทนาแบบ Dialogue และ Collaborative ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือ มีความปรารถนาดีต่อกัน มีความรักความเมตตา จะทำให้เกิดผลเป็นความประพฤติที่ประกอบด้วยความรัก ความปรารถนาดี อยากให้เขาพ้นทุกข์อย่างมีปัญญา
4) หลักอคติ 4 นำมาบูรณาการกับการส่งเสริมสนับสนุนให้มีผู้เชี่ยวชาญหรือหน่วยงานภายนอก กสทช. ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการออกระเบียบ ข้อบังคับ แนวทางในการปฏิบัติและบทลงโทษต่างๆ อย่างเป็นธรรมและเป็นกลางในเรื่องความผิดทางจริยธรรม รวมทั้งส่งเสริม สนับสนุนให้ผู้ประกอบกิจการได้นำเสนอข่าวหรือรายการด้วยความเป็นกลาง เหมาะสม ปราศจากอคติต่างๆ จะทำให้เกิดผลเป็นความประพฤติที่มีความเที่ยงตรง ยุติธรรม เป็นกลาง ไม่เอนเอียง
จากที่กล่าวมานี้ ผู้วิจัยสามารถสรุปองค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากการวิจัย คือ "NFFFP = GOOD SATELLITE TV OPERATOR MODEL" โดยมีรายละเอียดดังนี้ “N”(THE NOBLE EIGHTFOLD PATH) คือ อริยมรรคมีองค์ 8 “F”(FIVE PRECEPTS) “F”(FIVE DHARMA) คือ เบญจศีล เบญจธรรม “F”(FOUR SUBLIME STATES OF MIND) คือ พรหมวิหาร 4 และ “P”(PREJUDICE) คือ อคติ 4
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
This dissertation entitled “A Guideline to the Ethical Development for the Satellite Television operators in Thailand based on the Buddhist Integration” consisted of three objectives: 1) to study concepts, theories, and problems of satellite television operators in Thailand, 2) to study the Buddhist teachings on ethics of satellite television operators in Thailand, and 3) to propose a guideline to the ethical development for the satellite television operators in Thailand based on the Buddhist integration. This was a qualitative research with the data collected from documents and in-depth interview by defining the research framework according to the objectives.
From the study, it was found as follows:
There were many concepts and theories of Journalism that described the unethical practices such as the lying and deception of inaccurate information, the bias of Journalism that was not in line with the ethical principles, the conflict of interest in Journalism and the lack of kindness and compassion of Journalism, etc.
The ethical problem of satellite television operators was that the majority of the operators were still lack of ethics and professional responsibility in working. The current problems in the society such as the problem of hate speech, abhorrence, disharmony, exaggerating of products and excessive advertising problems, the problem of propaganda and problem of obscene tv programs. This problem was had a negative impact on the audiences and society. Which, if not resolved, would have a broad impact to the consumers as there were many households of the consumers throughout the country.
The Buddhist teachings that were consistent and appropriate for integrating with the ethical development methods to resolve the current problems consisted of the Noble Eightfold Path, the Five Precepts and the Five Dharma, the Four Sublime States of Mind and the Prejudice as follows.
1) The application of the Noble Eightfold Path (Ariya Aṭṭhaṅgika Magga) to integrate with the guideline of promoting the adoption of the new edition of the Journalism Code of Ethics Act as soon as possible so that all media would be under the same professional journalism organization and have the self-regulator of satellite television. From this application, it would result in good behavior in body, speech, and mind.
2) The application of the Five Precepts (Pañca-sīla) and the Five Dharma (Pañca-dhamma) to integrate with the objection or not supportive of the satellite television channel that broadcasted illegal or unethical contents, with the strict penalties from the Office of the National Broadcasting and Telecommunications Commission. From this application, it would result in good thought, good speech and good action, without violating the law and morality.
3) The application of the Four Sublime States of Mind (Brahmavihāra) to integrate with the promotion of organizing a forum, training, camping, and seminar by the Office of the National Broadcasting and Telecommunications Commission and the Professional Journalism Organization by using the process of dialogue and collaboration in order to promote the concept of cooperation, having good wishes for each other, having affection and compassion to fellow human beings, which would result in good behavior comprising of affection, good wishes and desire for another person to be free from sufferings with wisdom.
4) The application of the Prejudice (Agati) to integrate with the promotion of having experts or organization from outside the Office of the National Broadcasting and Telecommunications Commission to take part in the issuance of regulations, guidelines, and penalties in order to be fair and impartially in judging the ethical misconduct. Including, the promotion for operators to present news or program with neutrality, appropriateness, and without any bias, which would result in fair and unbiased behavior.
As mentioned earlier the results of the research were as Follows : "NFFFP = Good Satellite TV Operator Model", “N”(the Noble Eightfold Path) “F”(Five Precepts), “F”(Five Dharma), “F”(Four Sublime States of Mind) and “P”(Prejudice)
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 9.12 MiB | 287 | 15 มิ.ย. 2564 เวลา 07:37 น. | ดาวน์โหลด |