โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การเสริมสร้างสุขภาวะองค์รวมของผู้สูงอายุโดยการรำไทเก๊ก เชิงพุทธบูรณาการ
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Enhancement of Elderly Holistic Health by Tai-Chi Exercise based on the Buddhist Integration
  • ผู้วิจัยนางสาวพรประภา สุทธิจิตร
  • ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.ประพันธ์ ศุภษร
  • ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.ตวงเพชร สมศรี
  • วันสำเร็จการศึกษา18/08/2019
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/739
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 1,578
  • จำนวนผู้เข้าชม 1,148

บทคัดย่อภาษาไทย

ดุษฎีนิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ (1) เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีการรำไทเก๊กในการเสริมสร้างสุขภาวะองค์รวมของผู้สูงอายุ (2) เพื่อศึกษาหลักสติปัฏฐาน 4 ในการเสริมสร้างสุขภาวะองค์รวม (3) เพื่อศึกษาการเสริมสร้างสุขภาวะองค์รวมของผู้สูงอายุโดยการรำไทเก๊กเชิงพุทธบูรณาการ การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการสัมภาษณ์นักวิชาการและผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์ ด้วยการนำเสนอในรูปแบบวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า การรำไทเก๊กมีองค์ประกอบ 3 ประการ คือ (1) การเคลื่อนไหวกาย (2) การหายใจ (3) จิตที่สงบ และมีคุณลักษณะที่สำคัญ 4 ประการ คือ (1) ความช้า (2) ความเบา (3) ความสมดุล (4) ความสงบ (5) ความชัดเจน ซึ่งจะส่งผลในการเสริมสร้างสุขภาวะองค์รวมของผู้สูงอายุได้ 4 มิติ คือ สุขภาวะสมบูรณ์ทางกาย ทางจิตใจ ทางสังคม และทางปัญญา

หลักสติปัฏฐาน 4 ในการเสริมสร้างสุขภาวะองค์รวม คือ (1) กาย การมีสติกำหนดลมหายใจเข้า ออก กำหนดรู้ทุกอิริยาบถ รู้เท่าทันกาย (2) เวทนา รับรู้ความรู้สึกสุข ทุกข์ อุเบกขา อย่างรู้เท่าทัน (3) จิต การมีสติควบคุมอารมณ์ สงบ ทำให้มีความสบายใจ (4) ธรรม ความนึกคิดไตร่ตรอง ทำให้เกิดปัญญา เป็นหลักธรรมที่เมื่อนำมาปฏิบัติ จะช่วยในการพัฒนากายให้แข็งแรง และพัฒนาจิตใจให้เข้มแข็งขึ้นได้ การมีสุขภาพดีทั้งด้านร่างกายและจิตใจ จะนำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุข

การเสริมสร้างสุขภาวะองค์รวมของผู้สูงอายุโดยการรำไทเก๊กเชิงพุทธบูรณาการ ประกอบด้วย 4 ประการ คือ (1) ด้านกาย ผู้รำไทเก๊กใช้สติในการกำหนดลมหายใจเข้า-ออก และการเคลื่อนไหวกายตลอดเวลา เป็นการออกกำลังกายแบบฝึกฝนพลังลมปราณ จะขับเคลื่อนให้เลือดลมไหลเวียนดี ป้องกันโรค สุขภาพดีและมีอายุยืน (2) ด้านจิตใจ ผลของการกำหนดกาย คือ การพัฒนาจิต ขณะที่รำไทเก๊ก สติจะช่วยให้ระลึกและหนุนประครองจิต จะทำให้ผู้รำรู้สึกผ่อนคลาย ใจสงบ สามารถลดทุกข์ทางใจได้ เช่น ความเครียด (3) ด้านปัญญา การรำไทเก๊กมีหลักการสำคัญ คือ การเคลื่อนไหวกายเป็นไปอย่างช้าๆ สัมพันธ์กับลมหายใจเข้า-ออก จนจิตสงบ จิตตั้งมั่น ควรแก่งาน มีความนึกคิดไตร่ตรอง ทำให้เกิดปัญญา สามารถดำเนินชีวิต และแก้ไขปัญหาในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม (4) ด้านสังคม จิตได้รับการพัฒนา ทำให้ผู้รำพบกับความสงบ ความสุข ปรับอารมณ์ ควบคุมอารมณ์ได้ ปรับตัวให้อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ด้วยดี ซึ่งผู้สูงอายุที่รำไทเก๊กเชิงพุทธบูรณาการมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลง ส่งผลที่ดีทางร่างกาย จิตใจ ปัญญา และสังคมอย่างเห็นได้ชัด

องค์ความรู้ คือ ST Model “S” (Satipatthana) = สติปัฏฐาน 4 เป็นธรรมที่ตั้งแห่งสติ ใช้พัฒนาจิตใจ โดยการนำสติมากำหนดดูกาย เวทนา จิต และธรรม เป็นการพัฒนาปัญญาโดยตรง ผ่านการพิจารณากายที่เคลื่อนไหว มีสติรู้เท่าทันอารมณ์สุข ทุกข์ จิตมีความมุ่งมั่น สงบ มีปัญญาเห็นความเป็นไปแห่งนามรูป ซึ่งสอดคล้องกับการพัฒนาทักษะของการรำไทเก๊กได้เป็นอย่างดี

 “T” (Tai-Chi exercise) = การรำไทเก๊กต้องใช้สติประครอง ในการรำเสมอโดยกำหนดลมหายใจเข้าลึก ออกยาว พร้อมกับท่ารำ มีสมาธิไปตามส่วนของร่างกาย ให้สัมพันธ์กับการบริหารพลังลมปราณ การรำได้ถูกต้องย่อมส่งผลให้สุขภาพกายแข็งแรง และสุขภาพจิตให้เข้มแข็ง นำไปสู่สุขภาวะองค์รวมที่สมบูรณ์

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

This dissertation is of three objectives, they are: 1) to study the concepts of Tai-Chi exercise for enhancing elderly holistic health, 2) to study the principles of the four Satipaṭṭhānas for enhancing holistic health, and 3) to study the enhancing of elderly holistic health by Tai-Chi exercise based on the Buddhist integration. This is the qualitative research by studying the documents and related research as well as interviewing experienced scholars and specialists through using descriptive presentation.
The result of study found that there are three factors of Tai-Chi exercises, namely, 1) body movement, 2) breathing, and 3) clam mind. And the main qualifications were consisted of five actions, 1) slowness, 2) selfness, 3) balance, 4) calmness, and 5) cleanness. These things effect for enhancing elderly holistic health consists of four dimensions are physical, mental, social, and intellectual. 
The principles of the four Satipaṭṭhānas for enhancing elderly holistic health are: 1) Kāya: awareness of breathing in and out, noting all activities, to contemplate on the body, 2) Vedanā: feeling is a pleasant sensual, a painful sensual or a neuter sensual, to contemplate on the feeling, 3) Citta: to be mindful to control the mind, calmness is to create the comfortableness, and 4) Dhamma: the realization is to have wisdom. After practicing of these principles, will develop to have a strong health and mind. Having a good health and good mind will lead to better quality of life and live in society happily. 
The enhancing of elderly holistic health by Tai-Chi exercise based on the Buddhist integration is composed of 4 key methods; 1) Physical factors: The Tai-Chi player has mindfulness on one’s own breathing in-out and related to the body movement at all times. It is an exercise of inner power, will drive good blood circulation in the body, prevent diseases, good health, and live longer. 2) Mental factors: The result of physical practice is the mental development while Tai-Chi exercising the mindfulness will remind and support the mind be always mindful, it is to make Tai-Chi player soothe the mind and body to become calm and relax, it can reduce mental suffering such as stress. 
3) Intellectual factors: An important principle of Tai-Chi exercise is the body’s movement is slowly related to the breathing in and out until the mind is calm, relax and suitable for concentrating on the task at hand. Having right thought which gives wisdom, to be able to live and to solve the problems in daily appropriately. And 4) Social factors: While the mind has been developed, the player will be peace and happy. He can control his emotion and adjust to live with others well. The elders who exercised Tai-Chi based on Buddhist integration had developed and changed which effect the good result to dimension of the body, mind, intelligence, and society clearly.
The factor of knowledge is ST Model, “S” means Satipaṭṭhāna which is the Four Foundations of Mindfulness to develop the mind through the mindfulness (Sati) contemplate on body, feeling, mind, and mental objects. It is the development of wisdom directly by the contemplation on movements,  be always mindful on happiness and suffering, the mind is stability and calmness, and having wisdom see the truth of Rūpa and Nāma, which correspond to the skill of development of Tai-Chi Exercise as well. 
T” means Tai-Chi Exercise, it must be controlled by mindfulness, exercising must note the breathing long in and long out together with posture, concentrate on parts of body for relating to the management of breath power. If exercise is correct, it will have a good physical and mental health, lead   to complete holistic health.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 7.05 MiB 1,578 15 มิ.ย. 2564 เวลา 03:44 น. ดาวน์โหลด