-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการศึกษาเปรียบเทียบความจริงของกฎไตรลักษณ์ตามแนวพระพุทธศาสนาเถรวาทกับทฤษฎีสัมพัทธภาพทางวิทยาศาสตร์ของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Comparative Study of the Truth of Three Characteristics in the Theravada Buddhism and Einstein’s Relativity Theory
- ผู้วิจัยพระมหาศิริพงษ์ ปภสฺสโร (มีศรี)
- ที่ปรึกษา 1รศ.ดร. ณัทธีร์ ศรีดี
- ที่ปรึกษา 2พระมหามงคลกานต์ ฐฺตธมฺโม, ผศ. ดร.
- วันสำเร็จการศึกษา07/05/2021
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาศาสนาเปรียบเทียบ
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/742
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 832
- จำนวนผู้เข้าชม 810
บทคัดย่อภาษาไทย
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาความจริงของกฎไตรลักษณ์ในพระพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาความจริงทฤษฎีสัมพัทธภาพทางวิทยาศาสตร์ของ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ 3) เพี่อเปรียบเทียบความจริงของกฎไตรลักษณ์ในพระพุทธศาสนาเถรวาทและทฤษฎีสัมพัทธภาพทางวิทยาศาสตร์ของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์
ผลการวิจัยพบว่า
1) กฎไตรลักษณ์มีเนื้อความที่บ่งบอกถึงกระบวนการของธรรมชาติว่า สรรพสิ่งมีสามัญลักษณะเสมอเหมือนกันหมดและไม่มีความสมบูรณ์ในตัวเอง เพราะอาศัยเหตุและปัจจัยเป็นที่อิงอาศัยกันอยู่ จึงทำให้เกิดเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติออกมาในรูปแบบต่างๆ เมื่อเรายังไม่เข้าใจในกฎไตรลักษณ์ที่เกิดขึ้นนั้น จึงทำให้มนุษย์เราเป็นทุกข์ ความทุกข์ของมนุษย์นั้นเกิดขึ้นเพราะความยึดมั่นถือมั่น เพราะขาดสติปัญญา อันมีสาเหตุพื้นฐานมากจากอวิชชา คือความไม่รู้แจ้งไตรลักษณ์เป็นเหตุ จึงทำให้มนุษย์เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวังวนเป็นวัฏฏจักรไม่รู้จักจบสิ้น ต่อเมื่อมนุษย์เราสามารถเข้าถึงไตรลักษณ์ได้ ด้วยการเจริญภาวนามยปัญญาจนเกิดวิปัสสนาญาณตามลำดับ ถึงชั้นที่มีสติปัญญารู้แจ้งตามความเป็นจริง หลุดพ้นจากอาสวะกิเลสหมดความยึดมั่นถือมั่น เข้าถึง
พระนิพพาน ดังนั้น การรู้แจ้งกฎไตรลักษณ์ จึงทำให้เกิดสติปัญญารู้ถึงความจริงของสรรพสิ่ง
เป็นกระบวนการที่ทำให้เกิดความสุขที่แท้จริงเข้าถึงความหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งมวลของชีวิต
2) ทฤษฎีสัมพัทธภาพ แสดงให้ประจักษ์ว่า โลกแห่งปรากฏการณ์ความเป็นจริงเกี่ยวกับอนุภาคทั้งหลายที่มีอยู่เชื่อมต่อสัมพันธ์เป็นเหตุเป็นปัจจัยอิงอาศัยกันอย่างเป็นธรรมชาติ มวลและพลังงานเป็นสิ่งเดียวกัน แต่อยู่กันคนละสภาพ กฎทุกกฎในธรรมชาติจะเหมือนกันหมดในทุกระบบที่เคลื่อนที่อย่างสม่ำเสมอและสัมพัทธ์กัน ความโน้มถ่วงและความเร่งมีค่าเท่ากันหรือเหมือนกัน ในการอธิบายความจริงในเรื่องนี้นั้น ไอน์สไตน์ได้ใช้สมการชั้นสูงทางคณิตศาสตร์เป็นตัวช่วยในการเข้าถึงธรรมชาติที่สลับซับซ้อน ให้เข้าใจปรากฏการณ์ของโลกและจักรวาล ทฤษฎีสัมพัทธภาพเป็นขบวนการที่ทำให้เกิดการพัฒนาวัตถุทางด้านเทคโนโลยีได้เป็นอย่างดี ทำให้การดำรงชีวิตของมนุษย์มีความสะดวกสบายมากขึ้นอย่างรวดเร็ว
3) กฎไตรลักษณ์และทฤษฎีสัมพัทธภาพทั้งสองมีความคล้ายคลึงกันในการอธิบายความจริงถึงปรากฏการณ์ที่อยู่ในภาวะที่มีการอิงอาศัยกันเกิดขึ้นเองของสรรพสิ่ง สิ่งทั้งหลายสัมพันธ์เกี่ยวโยงกัน โดยไม่มีความสมบูรณ์ในตัวเอง ทั้งสองต่างมีสารัตถะในความเป็นธรรมชาติที่คล้ายคลึงกันคือ มุ่งศึกษาความจริงของธรรมชาติเพื่อให้เกิดความรู้แจ้งเห็นจริง ส่วนความแตกต่างกันนั้น พบว่า กฎไตรลักษณ์ อธิบายความจริงที่เข้าถึงสามัญลักษณะของธรรมชาติครอบคลุมสรรพสิ่งที่อิงอาศัยกันเกิดขึ้นทั้งสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต ส่วนทฤษฎีสัมพัทธภาพนั้นเป็นการเข้าถึงความจริงเฉพาะด้านสสาร พลังงาน อวกาศ-เวลา และจักรวาล ในโลกทางกายภาพ
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
This thesis has three objectives: 1) to study the truth of three characteristics in Theravada Buddhism, 2) to study the truth of the relativity theory of Albert Einstein, and 3) to comparatively study of the truth of three characteristics in Theravada Buddhism and Albert Einstein's relativity theory.
The results of the study were as follows:
1) The law of three Characteristics refers to natural process that all phenomena have common characteristics, and are not perfect in themselves, because they rely upon the same causes that arise interdependently thereby causing Natural phenomenon to happen in various ways; as long as we do not understand three characteristics as they really are, we are still suffered. Human suffering arises because of attachment, and also because of wisdomless based on ignorance, i.e., unknowing of three characteristics as the main cause, and thus human beings are infatuated in the cycle of birth and death indefinitely. Then, they be able to enter to three Characteristics by developing of wisdom till reaching to insight knowledge respectively as highly as mindfully knowing all thing as they really are, they would emancipate from all defilements and cankers reaching tonibbana. As a result, knowing the law of three characteristics would bring human beings to mindfully comprehend of all truths. This is the process that causes ones to have real happiness leading to liberation from all suffering in lives.
2) Theory of relativity implies that in the phenomenal world, the reality concerning particles that are interdependent arising and interconnected being naturally. The mass and energy are the same things, but in different conditions. All the laws of nature would be the same in all systems, moving regularly and relatively. Gravity and acceleration are equal or identical. On the matter of fact, Einstein used the advanced mathematical equation as instrument for acceding to the complex nature in order to understand the phenomena of the world and the universe. The theory of relativity is the procedure that resulted in the development of more technology, which make human beings live in comfortable way quickly.
3) The Three Characteristics and the theory of relativity have similarity in explaining of truth regarding the phenomena that are interdependent arising of all beings. All things are interconnected without perfection in themselves; both of them have the essentiality on the similar nature, viz., they aim to study the reality of nature for understanding and realizing, but differences of them was that the law of three characteristics gives explanation of truth that reaching to the common characteristics of nature covering all things that arise interdependently both living and nonliving one, whereas the relative theory emphasizes on the accession of the reality only on matter, energy, space-time and the universe physically.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
5901201012 | 5901201012 | 2.56 MiB | 832 | 15 มิ.ย. 2564 เวลา 04:27 น. | ดาวน์โหลด |