-
ชื่อเรื่องภาษาไทยแนวทางการจัดงานศพที่พึงประสงค์ของชาวพุทธในชุมชนตำบลภูเขาทอง อำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Model of the Funeral Arrangements by Buddhists in Phu Khao Thong Subdistrict Community, Nong Phok District, Roi Et Province
- ผู้วิจัยพระอธิการพรมมา จนฺทธมฺโม
- ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.ไพฑูรย์ สวนมะไฟ
- ที่ปรึกษา 2พระครูปลัดสมหมาย อตฺถสิทฺโธ, ดร.
- วันสำเร็จการศึกษา19/02/2021
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/747
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 3
- จำนวนผู้เข้าชม 4
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยเรื่อง “รูปแบบการจัดงานศพของชาวพุทธในชุมชนตำบลภูเขาทอง อำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด” มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษารูปแบบการจัดงานศพของชาวพุทธในชุมชนตำบลภูเขาทอง อำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด 2) เพื่อศึกษาปัญหาการจัดงานศพของชาวพุทธในชุมชนตำบลภูเขาทอง อำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด และ 3) เพื่อเสนอรูปแบบการจัดงานศพของชาวพุทธในชุมชนตำบลภูเขาทอง อำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด
ชุมชนตำบลภูเขาทองเป็นชุมชนชาวพุทธ มีข้อปฏิบัติเมื่อมีคนป่วยใกล้ตาย ประเพณีการปฏิบัติต่อศพ ประเพณีการปฏิบัติในการสวดศพ ประเพณีการบวชหน้าศพและการจูงศพ ประเพณีการปฏิบัติในการเผาศพ และประเพณีการเก็บอัฐิและทำบุญอุทิศให้แก่ผู้ตาย เป็นลักษณะเฉพาะของชุมชนของตนเองปัจจุบันประเพณีการจัดงานบำเพ็ญกุศลศพของชุมชนมีการเปลี่ยนแปลงไปตามสมัยนิยม เช่นในสมัยดั้งเดิมนั้นมักนิยมฝังศพไว้ก่อน แต่ปัจจุบันเมื่อตายแล้วมักนิยมทำบุญฌาปนกิจคือเผาให้แล้วเสร็จ ซึ่งแต่ละชุมชนก็จัดงานศพตามฐานะของเจ้าภาพ แต่ในขั้นตอนพิธีการต่าง ๆ ชุมชนก็ยังยึดถือเอาประเพณีและข้อปฏิบัติที่ได้รับจากบรรพบุรุษสืบทอดกันมา ตามความเชื่อดั้งเดิมบวกกับความเชื่อทางพระพุทธศาสนา โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ตายต่อไป
รูปแบบการจัดงานศพของชาวพุทธในชุมชนตำบลภูเขาทอง อำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด โดยสรุปประกอบด้วย 4 ด้าน คือ 1) ด้านการเตรียมจัดงานศพทุกประเด็นโดยรวมอยู่ในระดับมาก งานศพควรเรียบง่ายถูกธรรมเนียมและมีคุณค่าทางจิตใจ 2) ด้านการดำเนินการก่อนเผาศพควรดำเนินการตามประเพณีนิยมในชุมชนอีสาน แต่ประเด็นกลุ่มตัวอย่างเห็นด้วยน้อยมาก คือ งานศพปลอดอบายมุข และการใช้อาหารมังสวิรัติหรืออาหารที่ไม่สนับสนุนให้เกิดการทำปาณาติบาต 3) ด้านการดำเนินการในวันเผาศพส่วนใหญ่เน้นดำเนินการให้กระชับโดยเฉพาะพิธีวางและพิจารณาผ้าบังสุกุล การอ่านประวัติและไว้อาลัย การบวชจูงอาจจะไม่จำเป็น พระสงฆ์ตั้งแต่ 1 รูปขึ้นไปเป็นผู้นำในการประกอบพิธีก็ถือว่าใช้ได้ 4) ด้านการดำเนินการหลังวันเผาศพ การทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ตายสามารถทำได้หลังวันเผาศพ และเน้นความประหยัดมีคุณค่าและเป็นกุศลกรรมทั้งต่อญาติและผู้ตายควรทำบุญให้ครบทั้งทานมัยสีลมัยและภาวนามัย
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The thesis entitled “A Model of the Funeral Arrangements by Buddhists in Phu Khao Thong Subdistrict Community, Nong Phok District, Roi Et Province” consisted of the following objectives: 1) to study a model of the funeral arrangement by Buddhists in Phu Khao Thong subdistrict community, Nong Phok district, Roi Et province; 2) to study the problems of the funeral arrangement by Buddhists in Phu Khao Thong subdistrict community, Nong Phok district, Roi Et province; and 3) to present a model of the funeral arrangement by Buddhists in Phu Khao Thong subdistrict community, Nong Phok district, Roi Et province.
From the study, it was found that Phu Khao Thong subdistrict community, being a Buddhist community, has the following practices when there is a person who is terminally ill: treating the deceased body, funeral prayer, the ordination of the descendants for merit dedicating to the deceased and leading the deceased body procession for cremation, cremation ceremony, and keeping the ashes of the deceased body and merit-making. All of which are the specific characteristics of the community. At present, the funeral arrangement of the community has been changed according to fashion. Back in the past, the deceased body was buried before being cremated, but nowadays the cremation and merit-making are usually done right away. Although each community has the funeral arrangement according to the host, the procedures of the ceremony still follow the tradition and practices that have been inherited from the ancestors based on the original and Buddhist beliefs with the purpose of dedicating merits for the deceased.
From studying a model of the funeral arrangement by Buddhists in Phu Khao Thong subdistrict community, Nong Phok district, Roi Et province, it was found that there consist of 4 aspects as follows: 1) The overall funeral arrangement is at a high level, in which the funeral should be arranged in a simple manner, according to the custom with mental value; 2) Before the cremation, the funeral should be arranged according to the conventional practice in the Isan community, however, the key informants least agree on arranging the funeral to be without allurements leading to ruin and the use of vegetarian food or any food that does not support the killing of lives; 3) On the day of cremation, the main ceremony should be arranged in a concise manner especially on the following procedures: the placing of Pangsukula robes by the monks at the coffin, the reading of the biography of the deceased including the time for honoring and remembering the deceased, the ordination of the descendants for merit dedicating to the deceased may not be necessary, having only 1 Buddhist monk to lead the ceremony; and 4) After the cremation, the merit-making dedicating to the deceased can be done on the following day after the cremation by emphasizing being economical to help saving the cost. This considered a meritorious action towards the relatives and the deceased which consists of three aspects: dānamaya (giving or generosity), sīlamaya (precepts or moral behavior), and bhāvanāmaya (mental development).
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
๖๑๑๗๒๐๕๐๐๕ | ๖๑๑๗๒๐๕๐๐๕ | 1.75 MiB | 3 | 15 มิ.ย. 2564 เวลา 06:33 น. | ดาวน์โหลด |