-
ชื่อเรื่องภาษาไทยแนวทางการคบเพื่อนของเด็กและเยาวชนไทยในสื่อสังคมออนไลน์เชิงพุทธบูรณาการ
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษGuidelines for a Buddhist Integrated Association of Friends for Thai Children and Youth in the Social Media
- ผู้วิจัยนางสาวปารินันท์ ปางทิพย์อำไพ
- ที่ปรึกษา 1พระมหาทวี มหาปญฺโญ (ละลง), ผศ. ดร.
- ที่ปรึกษา 2พระราชปริยัติมุนี (เทียบ สิริญาโณ), รศ. ดร.
- ที่ปรึกษา 3พระมหาอดิเดช สติวโร, ดร.
- วันสำเร็จการศึกษา28/04/2020
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
- ระดับปริญญาปริญญาเอก
- สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/748
- ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 910
- จำนวนผู้เข้าชม 686
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อคือ 1) เพื่อศึกษาสภาพของการคบเพื่อนของเด็กและเยาวชนไทยในสื่อสังคมออนไลน์ 2) เพื่อศึกษาหลักการคบเพื่อนของเด็กและเยาวชนไทยตามแนวพระพุทธศาสนาเถรวาท 3) เพื่อเสนอแนวทางการคบเพื่อนของเด็กและเยาวชนไทยในสื่อสังคมออนไลน์เชิงพุทธบูรณาการ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการศึกษาด้านเอกสารและการศึกษาภาคสนาม เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามประกอบการสัมภาษณ์ (Interview Guidelines) และแนวคำถามสำหรับการสนทนากลุ่ม (Group Interview) ผู้ให้ข้อมูลหลักในการสัมภาษณ์เชิงลึก 20 คนและสนทนากลุ่ม 30 คนโดยเลือกแบบเจาะจง และวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า ปัจจุบันเด็กและเยาวชนใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นและเพื่อนในสื่อสังคมออนไลน์ส่วนใหญ่จะเป็นเพื่อนในชีวิตจริงหรือผู้ที่เคยพบเห็นกันมาก่อน การนำหลักการคบเพื่อนที่ปรากฏในพระพุทธศาสนามาใช้ จะช่วยทำให้เด็กและเยาวชนมีวิจารณญาณในการเลือกคบเพื่อน ดังปรากฏตามแนวทางการคบเพื่อนของเด็กและเยาวชนไทยในสื่อออนไลน์เชิงพุทธบูรณาการ ที่เป็นไปตามกระบวนการของ LOVE Model ที่แบ่งเป็น 2 ส่วนคือ องค์ประกอบภายนอก(ปรโตโฆสะ) ที่เริ่มด้วยการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชน จากบุคคลต่าง ๆ ในสังคมที่มีปฏิสัมพันธ์ด้วยบุคคลเหล่านั้นจะต้องทำหน้าที่ของตนอย่างครบถ้วนตามหลักการสัมพันธภาพในทิศ 6 และองค์ประกอบภายใน (โยนิโสมนสิการ) ที่เป็นการคิดวิเคราะห์รอบด้านอย่างถี่ถ้วนของเด็กและเยาวชนจากข้อมูลที่ได้เรียนรู้จากบุคคลอื่นที่เป็นปัจจัยภายนอก ผนวกกับประสบการณ์เชิงประจักษ์ที่เกิดขึ้นแล้วใช้วิธีพิจารณาทางปัญญาตามหลักโยนิโสมนสิการ จะเห็นได้ว่าการปฏิบัติตามแนวทางการคบเพื่อนเป็นกระบวนการพัฒนาปัญญาที่อาศัยองค์ประกอบทั้งสองส่วน ในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเด็กและเยาวชน รวมถึงเป็นการลดปัญหาและความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากสถานการณ์ภัยออนไลน์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
This dissertation entitled ‘Guidelines for a Buddhist Integrated Association of Friends of Thai Children and Youths in the Social Online Media’ has three objectives: 1) to study the current states of association with friends of Thai children and youths in the social online media, 2) to study principles for association with friends of Thai children and youths based on Theravada Buddhism, and 3) to propose the Buddhist integrated guidelines for association with friends of Thai children and youths in the social online media. This is a qualitative research done by studying documents and field research. The research tools employed the interview guidelines and group interview. 20 Key informants and 30 people in focus group were done through purposive sampling. The contents analysis was made by descriptive analysis methods.
In the research, it was found that at the present time Thai children and youths always utilize social online media while having interaction with others and friends. Most of friends or even people whom they met in the social online media were friends in daily life or people whom they have seen before. In this respect, the application of the principles on the association with friends in Tipiṭaka would help them have discretion in making friend with others which was in accordance with the Buddhist integrated guidelines for association with friends of Thai children and youths where the process of LOVE MODEL was considerably made. In this model, two essential parts were mentioned: the external factor basically refers to the principle of Paratoghosa by which children and youths started to learn from various people in a society where they are interacting with; those people must rightly perform their duty based on the principle of six directions, the internal factor means Yonisomanasikãra whereby children’s and youths’ critical thinking is gradually cultivated. Through the external factor including the ample empirical experiences and internal one, the guidelines for association with friends would be applicably yielded; this is the process of wisdom cultivation where both of factors are inseparably included. Consequently, Thai children’s and youths’ immunity would be sustained and thereby reducing a great deal of problem and risk precipitated by the domination of social online media threat in the current time respectively
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 2.44 MiB | 910 | 15 มิ.ย. 2564 เวลา 08:36 น. | ดาวน์โหลด |