-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการศึกษาวิเคราะห์อันตรภพในพระพุทธศาสนามหายานและวัชรยาน
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษAn Analytical Study of Antarabhava in Mahayãna and Vajrayãna Buddhism.
- ผู้วิจัยนายประทีปเด่น เวศกาวี
- ที่ปรึกษา 1พระมหาสมบูรณ์ วุฑฺฒิกโร, รศ.ดร.
- ที่ปรึกษา 2ผศ.ดร.แม่ชีกฤษณา รักษาโฉม
- วันสำเร็จการศึกษา18/03/2020
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
- ระดับปริญญาปริญญาเอก
- สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/750
- ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 1,454
- จำนวนผู้เข้าชม 1,158
บทคัดย่อภาษาไทย
ดุษฎีนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ (1) เพื่อศึกษาแนวความคิดเรื่องอันตรภพในพระพุทธศาสนามหายาน (2) เพื่อศึกษาแนวความคิดเรื่องอันตรภพในพระพุทธศาสนาวัชรยาน (3) เพื่อวิเคราะห์แนวความคิดเรื่องอันตรภพในพระพุทธศาสนามหายาน และวัชรยาน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยเน้นเอกสารเป็นหลัก อาศัยข้อมูลจากพระสูตร อรรถกถา คัมภีร์ต่าง ๆ ของฝ่ายมหายาน และวัชรยานประกอบกับเอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า
แนวความคิดเรื่องอันตรภพมีหลักฐานปรากฏอยู่ในคัมภีร์กถาวัตถุของฝ่ายเถรวาท แสดงถึงบางนิกายที่เป็นปุคคลวาท เชื่อว่าบุคคลหรืออัตตามีอยู่จริง เห็นว่ามีอันตรภพ ความเชื่อว่ามีอันตรภพนี้สืบต่อไปสู่พระพุทธศาสนามหายานโดยนิกายสัพพัตถิกวาท หรือสรวาสติวาทในภาษาสันสกฤต โดยมีความเชื่อว่า ขันธ์ 5 มีอยู่จริง ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต และสามารถส่งต่อไปยังโลกหน้าได้ ในคัมภีร์โพธิสัตวภูมิแห่งนิกายมหายานสำนักโยคาจาร ได้แสดงเรื่องอันตรภพไว้และพัฒนาความเชื่อเรื่องวิญญาณว่าเป็นอาลยวิชญาน ต่อมาพัฒนาเป็นโพธิจิตหรือตถาคตครรภ์ของมหายานฝ่ายจิตตภูตตถาวาทในคัมภีร์มหายานศรัทโธตปาทศาสตร์ โดยอันตรภพเป็นภพที่อยู่ระหว่างการตายและการเกิดใหม่ ครั้นเมื่อพระพุทธศาสนามหายานรับเอาลัทธิตันตระเข้ามาผสมผสานเป็นพุทธตันตระ และไปแพร่หลายในทิเบตผสมผสานกับลัทธิบอนดั้งเดิม เกิดเป็นวัชรยานหรือพระพุทธศาสนาแบบทิเบต แนวความคิดเรื่องอันตรภพหรือบาร์โดในภาษาทิเบตได้พัฒนาไปจากเดิมที่เป็นช่วงเวลาหลังจากตาย ยังไม่เกิดใหม่ ให้ครอบคลุมช่วงเวลาของชีวิตตั้งแต่เกิดไปจนตาย ช่วงเวลาในอันตรภพหรือบาร์โดแห่งธรรมดา ช่วงเวลาการเกิดใหม่มีชีวิตในโลกหน้า ติดต่อกันไปเป็นสังสารวัฏโดยทั่วไปหมายถึงอันตรภพ โดยวัชรยานมีทัศนคติว่า มนุษย์ตายเพราะการแตกสลายของขันธ์ 5 เมื่อแตกสลายถึงที่สุด เรียกว่า ขณะตายจะปรากฏแสงสว่างของจิตเดิมแท้ คือ โพธิจิต หรือ ตถาคตครรภ์อันเป็นพุทธภาวะโดยจิตมี 2 มิติ คือ จิตปกติ (เซม) ที่ครอบคลุมจิตภายใน (ริกปะ) ไว้ เมื่อตายจะเปิดเผยให้เห็น จากนี้จิตจะเข้าสู่อันตรภพก่อนไปเกิดใหม่
เมื่อนำแนวคิดเรื่องวิชญานของพระพุทธศาสนามหายานและวัชรยานที่แตกต่างจากวิญญาณของเถรวาทที่มีการเกิดดับติดต่อกันไป วิชญานในฝ่ายมหายานและวัชรยานซึ่งเป็นวิชญานที่มีอยู่ตลอดเวลา ไม่มีการเกิดดับเป็นฐานรองรับความเชื่อเรื่องอันตรภพที่แสดงว่า บุคคลหลังจากตายแล้ว จะยังไม่ไปเกิดใหม่ทันที จะไปอยู่ในอันตรภพที่เป็นช่วงเวลาหลังจากตายแล้วแต่ยังไม่ไปเกิดใหม่ แนวความคิดนี้นำไปสู่การมีจริยธรรมหรือศีลธรรมได้เช่นเดียวกับชาวพุทธโดยทั่วไปที่มีคำสอนเรื่อง ทาน ศีล ภาวนา และเกิดเป็นประเพณีในการทำพิธีฌาปนกิจเพื่อนำผู้ตายไปสู่ภูมิโลกสวรรค์ตามอุดมคติของพระโพธิสัตว์ การกลับชาติมาเกิดหรือตุลกูในภาษาทิเบตตลอดจนการเป็นอวตารของพระโพธิสัตว์
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
This dissertation entitled ‘An Analytical Study of Antarabhava in Mahayãna and Vajrayãna Buddhism’ has three objectives: 1) to study the concept of Antarabhava in Mahayãna Buddhism, 2) to study the concept of Antarabhava in Vajrayãna Buddhism, and 3) to analyze the concept of Antarabhava in Mahayãna and Vajrayãna Buddhism. This is because both of sects share the concept of Antarabhava that once man died; rebirth is not immediately caused, but remains in between death and rebirth. This is a qualitative research done by studying documents in Sutra, Commentaries, Pakarana of Mahayãna and Vajrayãna Buddhism including various sources and related academic works.
The concept of Antarabhava as appeared in Theravãda scripture named Kathãvatthu refers to some sect belonging to Puggalavãda whose belief is that the Self or Attã really exists, that is, Antarabhava exists. Such a belief was descended by Mahayãna Buddhism of Sabbatthikavãda or Saravãsativãda through Sanskrit language as appeared in Abhidharmakośabhãsya of Vasubandhu approximately 1000 B.E. during the reign of Gupta dynasty where Mahayãna and its Sangha School prevailed. In this matter, the school of Saravãsativãda holds that five group of existence really exists in the past, present and future and thereby moving forward to the next world. In the Bodhisattvabhūmi of Asaņga from Yogãcãra, there appears the concept of Antarabhava through the concept of Ālayavijñãņa whereby the concept of Bodhicitta or Tathãgatagabba has been developed in Mahayãna Cittabhūtatathãvãda. Once mixed by the doctrine of Tantra as Buddhatantra prevailing over Tibetan land, Vajrayãna or Tibetan Buddhism then arises. It becomes a well known fact that the concept of Antarabhava or Bardo in Tibetan language has been changed from the original one that during the death rebirth is not caused yet where the period of time is explained from the birth to death, the duration in Antarabhava or Bardo and duration of rebirth in the next world; these continue as the circle of life. In this concept, Vajrayãna is of the view that man died because of the breaking away of five group of existence, once they were broken, this is called the moment of death will bring about the pure light of original mind, that is, Bodhicitta or Tathãgatagabba wherein two kinds of mind, normal and controlling mind, appear in Buddha nature and whence such mind will move to Antarabhava before getting rebirth.
Once compared by both, the refutation of Antarabhava is made; actually, Vijñãņa in Mahayãna and Vajrayãna turns out to be foundation of belief in Antarabhava that after death man will not immediately get rebirth, but remains in Antarabhava for a while, such a belief leads to provide ethics and morality for general Buddhists whose belief in generosity, precept, development is attached resulting in the tradition of cremation of death body where such a man can attain the plane of heaven according to Bodhisattva ideal whereby the reincarnation of him as Bodhisattva in the form of Tulaku is also made.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 2.16 MiB | 1,454 | 15 มิ.ย. 2564 เวลา 09:05 น. | ดาวน์โหลด |