โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การพัฒนาจริยธรรมของผู้ประกอบวิชาชีพครู ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 1
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Development of Ethics of Professional Teachers under the Office of Kalasin Primary Education Service Area I
  • ผู้วิจัยนายดุสิต ปรีพูล
  • ที่ปรึกษา 1พระมหาดาวสยาม วชิรปญฺโญ, ผศ. ดร.
  • ที่ปรึกษา 2รศ. ดร.โสวิทย์ บารุงภักดิ์
  • วันสำเร็จการศึกษา22/04/2019
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/751
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 1,844
  • จำนวนผู้เข้าชม 573

บทคัดย่อภาษาไทย

                  การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อวิเคราะห์หลักจริยธรรมด้านการครองตน ครองคน และครองงานในพระ พุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อพัฒนาจริยธรรมในการครองตน ครองคน และครองงานของผู้ประกอบวิชาชีพครู ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 1 และ 3) เพื่อเสนอรูปแบบการพัฒนาจริยธรรมของผู้ประกอบวิชาชีพครู ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ กลุ่มตัวอย่าง 117 คน โดยการสุ่มแบบเจาะจงประกอบ ด้วยศึกษานิเทศก์ จำนวน 9 คน ผู้บริหารโรงเรียน จานวน 18 คน และครูผู้สอน จำนวน 90 คน การวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้กลุ่มตัวอย่าง 10 คน โดยเลือกจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านพระพุทธศาสนา ด้านการศึกษาและผู้บริหารการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

                 ผลการวิจัยพบว่า

                1. หลักจริยธรรมด้านการครองตน ได้แก่ เบญจศีล ฆราวาสธรรม 4 สติสัมปชัญญะ หิริโอตัปปะ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง, ด้านการครองคน ได้แก่ พรหมวิหาร 4 สังคหวัตถุ 4 กัลยาณธรรม 7 และอคติ 4, และด้านการครองงาน ได้แก่ อิทธิบาท 4 โยนิโสมนสิการ สุจริต 3

                 2. ผลการพัฒนาจริยธรรมจากกลุ่มตัวอย่างชี้ให้เห็นว่าผู้ประกอบวิชาชีพครูมีจริยธรรมในระ ดับมาก  โดยมีคะแนนเฉลี่ย 4.09, ด้านการครองตน การครองคนและครองงาน มีคะแนนเฉลี่ย 4.21, 4.05 และ 4.01 ตามลาดับ

                 3. รูปแบบการพัฒนาจริยธรรมของผู้ประกอบวิชาชีพครู เรียกว่า DEP Model โดย D = การพัฒนา E = จริยธรรม P = การมีส่วนร่วม เมื่อหลอมรวมสู่การพัฒนาแล้วได้ 3 รูปแบบ คือ 1) รูปแบบด้านการครองตน เป็นรูปแบบที่ผู้ประกอบวิชาชีพครูมีวินัยและความรับผิดชอบ มีคุณธรรมจริยธรรม และจรร ยาบรรณวิชาชีพครู ตระหนักในหน้าที่ มีความพอเพียงในการดารงชีวิต รู้จักประหยัดอดออมลดการกู้ยืมเงิน ปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบของทางราชการ เคารพกฎเกณฑ์ทางสังคม มีธรรมะเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวทางจิตใจ และมีความศรัทธาการปกครองในระบอบประชาธิปไตย 2) รูปแบบด้านการครองคน เป็นรูปแบบที่ผู้ประกอบวิชาชีพครูมีความรักความสามัคคี มีการทางานเป็นทีม ไม่มีเรื่องร้องเรียน มีความเป็นกัลยาณมิตรกับลูกศิษย์และผู้มารับบริการ ระดับผู้บริหารได้รับความศรัทธาจากผู้ใต้บังคับบัญชา และ 3) รูปแบบด้านการครองงาน เป็นรูปแบบที่ผู้ประกอบวิชาชีพครูมีความเสียสละ อุทิศเวลาให้กับทางราชการ มีความมุ่งมั่น ตั้งใจทางานให้สำเร็จ มีความรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย ใช้ทรัพยากรทางราชการอย่างประหยัด มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ผลงาน และมีการประชาสัมพันธ์ผลงานเพิ่มขึ้น สามารถนาหลักธรรมมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

                 This research was the mixture of the quantitative and qualitative research methodologies with the following objectives: 1) to analyze the ethical principles of oneself governance, personnel governance and work control; 2) to develop the ethics in oneself governance, personnel governance and work control of the professional teachers under the Office of Kalasin Primary Education Service Area 1; 3) to present the model of the ethics development of the aforesaid professional teachers. The population and samples used in the quantitative research included 117 purposively selected informants including 9 education supervisors, 18 school administrators and 90 teachers; those used in the qualitative research were 10 experts in Buddhist studies, education and educational administration. The tools used in this study were the questionnaire, interview and group-discussion. The statistics used in data analysis were: Percentage, Mean and Standard Deviation.

                 The research results were as follows:                                                                                                     1) The ethical principles for oneself governance are the five precepts (pañcasīla), the four virtues for a good household life (ghāravasadhamma), awareness  (satisampajañña), sufficiency economy; the ethical principles for personnel governance includes the four sublime states of mind (brahmavihāra-dhamma), the four bases of social solidarity (saṅgahavatthu-dhamma), the seven beautiful virtues (kalayāṇa -dhamma), the four prejudices (agati); for work control, they are the four paths of accomplishment (iddhipāda), the systematic attention (yonisomanasikāra), the three good conducts (sucarita).

                 2) Based on the study of the ethics in oneself governance, personnel governance and work control of the professional teachers under the Office of Kalasin Primary Education Service Area 1, it showed that the statistical mean value of the professional teachers with high ethics achieved was at 4.09; in the aspect of oneself governance, personnel governance and work control, their respective scores were 4.21,4.05 and 4.01.

                 3) The model of the ethical development of the professional teachers is called DEP (D=development, E=Ethics, P=Participation) consisting of three models: 1) oneself governance model which is the model that the professional teachers are endowed with disciplines, responsibility, morals, ethics, codes of ethics of teaching profession, duty awareness, sufficiency in living, savings, regulation compliance, respect in social regulations, adherence with dhammas and faith in democracy; 2) personnel governance model which is the model that the professional teachers are trained to have love, harmony, teamwork without complaints, friendliness to students and service users and acquirement of faith from subordinates; 3) work control model which is the model that the professional teachers have sacrifice, time dedication to work, attention to success of work, responsibility to assigned works, economical use of government resources, creative initiatives, more public relations work, ability to effectively apply the dhamma principles in the work performance.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 4.27 MiB 1,844 15 มิ.ย. 2564 เวลา 09:09 น. ดาวน์โหลด