โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    แนวทางการสื่อสารเชิงพุทธเพื่อสันติสุขในสังคมไทย
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Buddhist Communication Guideline for Peace in Thai Society
  • ผู้วิจัยพระครูศรีปรีชากร (เลื่อน บุญยงค์)
  • ที่ปรึกษา 1รศ. ดร.สมิทธิพล เนตรนิมิตร
  • ที่ปรึกษา 2พระมหาสมบูรณ์ วุฑฺฒิกโร, รศ. ดร.
  • วันสำเร็จการศึกษา30/05/2019
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/752
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 189
  • จำนวนผู้เข้าชม 397

บทคัดย่อภาษาไทย

               ดุษฎีนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 3 ประการ ดังนี้ คือ 1. เพื่อศึกษาแนวทางการสื่อสารเชิงพุทธเพื่อสันติสุข 2. เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการสื่อสารในสังคมไทย 3. เพื่อวิเคราะห์แนวทางการสื่อสารเชิงพุทธสันติสุขในสังคมไทย

               ผลการวิจัยพบว่า แนวทางการสื่อสารเชิงพุทธเพื่อสันติสุข เป็นแนวทางการสื่อสารด้วยหลักสัมมาวาจาซึ่งเป็นทางสายกลางในมรรคมีองค์ 8 คือ วจีสุจริต 4 อย่าง (1) เจตนางดเว้นจากการพูดเท็จ (2) เจตนางดเว้นจากการพูดส่อเสียด (3) เจตนางดเว้นจากการพูดหยาบ (4) เจตนางดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ และหลักวาจาสุภาษิต คือ (1) พูดถูกกาล (2) พูดคำจริง (3) พูดคำอ่อนหวาน (4) พูดคำมีประโยชน์ และ (5) พูดด้วยเมตตาธรรมไม่มีอคติ  ในขณะเดียวกัน พระพุทธเจ้าในฐานะผู้สื่อสารถือได้ว่าเป็นสุดยอดอัจฉริยะบุคคลที่รู้จักกาลเทศะ บุคคล และกลุ่มบุคคล อย่างแท้จริง และทรงมีพระกรุณาต่อมหาชนจึงทรงสื่อสารอย่างมีเป้าหมาย  เพื่อประโยชน์สุขของมหาชน  ผู้รับสารที่มีสติปัญญาจึงศรัทธารับฟังจนบรรลุเป้าหมายที่เป็นสันติสุขในชีวิต  การศึกษาสภาพปัญหาการสื่อสารในสังคมไทย พบว่า มีการสื่อสารที่ประกอบด้วย 4 ลักษณะ คือ (1) สื่อสารด้วยวาจาเท็จ (2) สื่อสารด้วยวาจาส่อเสียด (3) สื่อสารด้วยวาจาหยาบ (4) สื่อสารด้วยวาจาเพ้อเจ้อ ทางสื่อออนไลน์อันเป็นสาเหตุให้เกิดคำว่า “Hate speech” ก็คือวจีทุจริต 4 ซึ่งเป็นการพูดหรือการเขียนที่สร้างความเกลียดชังต่อกัน เป็นบ่อเกิดแห่งสงครามที่หักล้างผลประโยชน์กันทางสังคมการเมือง เศรษฐกิจ และการดำเนินชีวิตปกติของคน ในสังคมไทยและสังคมโลกในขณะนี้  แนวทางการสื่อสารเชิงพุทธเพื่อสันติสุขในสังคมไทยตามแนว ทางพระพุทธศาสนา ควรนำหลักวจีสุจริต 4 ประการ คือ (1) ไม่พูดเท็จ (2) ไม่พูดส่อเสียด (3) ไม่พูดหยาบ (4) ไม่พูดเพ้อเจ้อ ร่วมกับสารณียธรรม 6 ประการ คือ (1) ให้มีเมตตากายกรรม (2) ให้มีเมตตาวจีกรรม (3) ให้มีเมตตามโนกรรม (4) การแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเป็นธรรมอย่างสม่ำเสมอกัน (5) การมีความประพฤติถูกต้องบริสุทธิ์เหมือนกัน (6) มีความเห็นสอดคล้องกันในทิศทางเดียวกัน  ธรรม 6 ประ  การนี้ มีคุณ ทำให้เป็นที่ระลึก ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์ เพื่อความไม่วิวาท เพื่อความสามัคคี และเพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

This dissertation has three main objectives: 1) to study the Buddhist communication guidelines for peace, 2) to study the communication problems in Thai society, and 3) to analyze the Buddhist communication guidelines in Thai society.

The research findings suggested that the Buddhist communication guidelines for peace are the way to communicate with the right speech, which is the middle path in the Noble Eightfold Path, i.e. fourfold good action in speech, namely (1) to abstain from the false speech, (2) to abstain from the malicious speech, (3) to abstain from the harsh speech, and (4) to abstain from the frivolous talk. Here are the principles of the well-spoken words: (1) to speak on a proper occasion, (2) to speak the truthful words, (3) to speak gentle words, (4) to speak the useful words, and (5) to speak with loving-kindness without prejudice. Meanwhile, the Buddha, as a communicator, is considered to be the ultimate genius, i.e. aperson who knows the proper time and place, individuals, and the assembly. Moreover, he has the great loving-kindness for the public. It leads him to communicate with the public for their great benefit. As a result of this, those who listen to him with mindfulness and wisdom base on their faith have achieved their goal of peace and happiness in life. The study of communication problems in Thai society suggested that communication consists of 4 characteristics: (1) communication with the false speech, (2) communication with the malicious speech, (3) communication with the harsh  speech, and (4) communication with the frivolous speech through  the online media leading to the origin of the word "Hate speech" nowadays. This kind of communication is called fourfold bad action in speech. It results in speaking and writing that cause the hatred to one another. Moreover, it becomes the source of war that destroys the social, political, and economic benefits; and aslo interrupts people in leading  their normal life in Thai society and the world society at present. The Buddhist communication guidelines for peace in Thai society according to Buddhism suggested that two  dhamma principles should be adopted together; the first one is  the fourfold good action in speech, namely (1) to avoid the false speech, (2) to avoid the malicious speech, (3) to avoid the harsh speech, and (4) to avoid the frivolous speech; the second one is    six states of conciliation, namely (1) to be amiable in deed, openly and in private, (2) to be amiable in word, openly and in private, (3) to be amiable in thought, openly and in private, (4) to share any lawful gains with virtuous fellows, (5) to keep without blemish the rules of conduct along with one’s fellows, openly and in private,  and (6) to be endowed with right views along with one’s fellows, openly and in private.    The profits of these six states of conciliation are to make others to keep one in mind, to be endearing, and to bring respect, conducing to sympathy and solidarity, non-quarrel, concord and harmony, and unity.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 18.4 MiB 189 15 มิ.ย. 2564 เวลา 09:30 น. ดาวน์โหลด