โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    พุทธวิธีส่งเสริมค่านิยมในสังคมไทย
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษBuddhist Ways to Promote Thai Social Values
  • ผู้วิจัยพระครูสาครสุทธิธรรม (ดิลก กิตฺติติลโก)
  • ที่ปรึกษา 1พระราชปริยัติมุนี (เทียบ สิริญาโณ), รศ. ดร.
  • ที่ปรึกษา 2ดร.บุญเลิศ โอฐสู
  • วันสำเร็จการศึกษา24/05/2019
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/754
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 501

บทคัดย่อภาษาไทย

                 ดุษฎีนิพนธ์เรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับค่านิยมในสังคมไทย 2) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมในการส่งเสริมค่านิยมในสังคมไทย และ 3) เพื่อนำเสนอพุทธวิธีการส่งเสริมค่านิยมในสังคมไทย โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพด้านเอกสาร คือการวิเคราะห์และสังเคราะห์

                  ผลการวิจัย พบว่า แนวคิดเกี่ยวกับค่านิยมในสังคมไทยมาจากวัฒนธรรม ซึ่งเป็นวิถีชีวิตหรือมรดกแห่งสังคมที่มนุษย์เปลี่ยนแปลง ปรับปรุง หรือสร้างขึ้นเพื่อความเจริญงอกงาม และจิตวิญ ญาณของมนุษย์ที่แสดงออกในรูปแบบต่างๆ เช่น การดำเนินชีวิต การใช้ภาษา เป็นต้น และความเชื่อที่บุคคลใช้ยึดถือประจำใจที่จะช่วยตัดสินใจในการเลือกที่จะกระทำสิ่งต่างๆ ค่านิยมมีมาตั้งแต่สมัยพระ ร่วงเจ้าแห่งอาณาจักรสุโขทัย แบ่งออกเป็น 4 ด้าน คือ (1) ด้านคติธรรม (2) ด้านเนติธรรม (3) ด้านวัตถุธรรม และ (4) ด้านสหธรรม สำหรับหลักพุทธธรรมในการส่งเสริมค่านิยมในสังคมไทยสามารถแบ่งออกเป็น 4 ด้าน คือ (1) ทิฎฐธัมมิกัตถะหรือทิฏฐธัมมิกัตถสังวัตตนิกธรรม 4 และพรหมวิหาร 4 เป็นหลักพุทธธรรมส่งเสริมค่านิยมด้านคติธรรม เพราะสามารถใช้ในการดำเนินชีวิต (2) อปริหานิยธรรม 7 และสัปปุริสบัญญัติ  3 เป็นหลักพุทธธรรมส่งเสริมค่านิยมด้านเนติธรรม เพราะสามารถใช้เป็นแบบอย่างและแบบ แผนอันเป็นจารีตประเพณีได้ (3) สันโดษ 3 และอปัณณกปฏิปทา 3 เป็นหลักพุทธธรรมส่งเสริมค่านิยมด้านวัตถุธรรม เพราะสามารถใช้กับสิ่งที่วัตถุธรรมได้อย่างคุ้มค่า พอเหมาะ พอดี พอเพียง (4) ศีล 5 และ ทิศ 6 เป็นหลักพุทธธรรมส่งเสริมค่านิยมด้านสหธรรม เพราะสามารถอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

                  ส่วนพุทธวิธีการส่งเสริมค่านิยมในสังคมไทย คือวิธีการแนวพุทธที่สามารถช่วยส่งเสริมค่านิยมในสังคมไทยทั้ง 4 ด้านได้เป็นอย่างเป็นรูปธรรม คือ (1) พุทธวิธีการส่งเสริมค่านิยมตามหลักกตัญญูกตเวที (2) พุทธวิธีการส่งเสริมค่านิยมตามหลักเบญจศีล เบญจธรรม  (3) พุทธวิธีการส่งเสริมค่านิยมตามหลักสุจริตธรรม (4) พุทธวิธีการส่งเสริมค่านิยมตามหลักจาคะ (5) พุทธวิธีการส่งเสริมค่านิยมตามหลักสันโดษ และจากพุทธวิธีการส่งเสริมค่านิยมในสังคมไทยทั้ง 4 ด้าน สามารถสร้างเป็น “RPVAB : Model” คือกระบวนการส่งเสริมค่านิยมในสังคมไทยให้เข้มแข็ง มั่นคง และยั่งยืน ได้ดังนี้ คือ (1) ระบบการรับรู้ค่านิยมในสังคมไทย (Recognition system) (2) ทัศนคติเชิงบวกต่อค่านิยมในสัง คมไทย (Positive attitude) (3) ความตระหนักในคุณค่าของค่านิยมในสังคมไทย (Value awareness) (4) การยอมรับค่านิยมในสังคมไทย (Acceptance) และ (5) การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามค่านิยมในสัง คมไทย (Behavior modification) โดย “RPVAB : Model” สามารถนำไปสร้างค่านิยมในสังคมไทย สร้างลักษณะนิสัย สร้างแนวความคิดใหม่ วางแผนปฏิบัติที่ดี แนวทางปฏิบัติตามค่านิยมพื้นฐาน มุ่งเน้นของการสร้างค่านิยมแต่ละระดับเป้าหมาย  และค่านิยมที่ควรถือปฏิบัติในสังคมไทย

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

                 This dissertation entitled ‘Buddhist Ways to Promote Thai Social Values’ has three objectives: 1) to study the ideas on values in Thai society, 2) to study Buddhadhammas to promote values in Thai society, and 3) to propose the Buddhist methods to promote values in Thai society. This is a qualitative research done by studying documentaries and then the synthesis of contents gained from the analysis is also made.

                  In the research, it was found that the ideas concerning the values in Thai society is basically derived from the culture where ways of life even social heritage adapted, improved or cultivated  by man are daily followed to progress human beings’ life and spirit through various forms of expressions, living life, usage of language, for instance. It also includes one’s belief by which he/she justifies things. Since Sukhothai periods till now, four aspects of values are found as follows: 1) moral teachings, 2) legal teachings, 3) material teachings, and 4) coordinated teachings. As far as Buddhadhammas in promoting values in Thai society are concerned, four dimensions are found as follows: 1) four virtues conducive to benefits in the present and four sublime states of mind; these are used to promote the values of moral teachings due to its availability to live life, 2) seven things leading never to decline but only to prosperity and things established by righteous people; these are used to promote legal teachings because they serve as the formation and traditional ideal, 3) three kinds of contentment and unimpeachable paths; they serve to promote material teachings due to its moderate usage leading to suitability, good and sufficiency, and 4) five precepts and six directions; they are used to promote values of coordinated teachings due to its happy co-existence with others.

                 So far as the Buddhist methods to promote values in Thai society go, four aspects can be concretely utilized as follows: 1) the Buddhist methods to promote values according to the principles of gratitude, 2) the Buddhist methods to promote values according to five precepts and moralities, 3) the Buddhists methods to promote values according to good actions, 4) the Buddhist methods to promote values according to generosity, and 5) the Buddhist methods to promote values according to contentment. Based on those methods, the formation, RPVAB: Model, can be made; they serve to strengthen Thai society in terms of strong-ness, security and sustainability in the following ways: 1) recognition system of values in Thai society, 2) positive attitude, 3) value awareness, 4) acceptance, and 5) behaviour modification. Through the above mentioned model, RPVAB: model, Thai values can be promoted to nurture one’s habit, new thought and planning. The guidelines to follow basic values are aimed at creating the suitability of values for Thai society to properly observe.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ