-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการพัฒนาทักษะการเรียนรู้วิชาภาษาไทยโดยใช้ชุดกิจกรรมการแนะแนวตามหลักพาหุสัจจะของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ โรงเรียน วัดมะทาย จังหวัดจันทบุรี
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษDevelopment of Thai Language Learning Skills Using the Guidance Package Based on Bahusacca Principles of Grade 2 Students At Wat Mataiy School, Chanthaburi Province
- ผู้วิจัยพระมหาผ่านภพ อภินนฺโท (สมคำ)
- ที่ปรึกษา 1รศ. ดร.ชาติชาย พิทักษ์ธนาคม
- ที่ปรึกษา 2ดร.ลำพอง กลมกูล
- วันสำเร็จการศึกษา02/05/2021
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/758
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 13
- จำนวนผู้เข้าชม 13
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและตรวจสอบประสิทธิภาพชุดกิจกรรมการแนะแนวตามหลักพาหุสัจจะสำหรับพัฒนาทักษะการเรียนรู้วิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดมะทาย จังหวัดจันทบุรี 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการเรียนรู้วิชาภาษาไทยก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมการแนะแนวตามหลักพาหุสัจจะของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดมะทาย จังหวัดจันทบุรี และ 3) เพื่อวิเคราะห์ความคงทนในการเรียนรู้วิชาภาษาไทยหลังการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวตามหลักพาหุสัจจะ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดมะทาย จังหวัดจันทบุรี การวิจัยนี้เป็นลักษณะแบบผสมวิธี (Mixed methods research) มีการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณร่วมกัน ซึ่งจะสามารถอธิบายผลของการวิจัยให้มีความครอบคลุมชัดเจนมากยิ่งขึ้น ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ครูโรงเรียนวัดมะทาย จังหวัดจันทบุรี ที่สอนในระดับประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 6 ท่าน กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 24 คน ได้จากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์ครู เรื่องทักษะการเรียนรู้วิชาภาษาไทยของนักเรียน 2) แบบทดสอบ เรื่องการพัฒนาทักษะการเรียนรู้วิชาภาษาไทยโดยใช้ชุดกิจกรรมการแนะแนวตามหลักพาหุสัจจะ และ 3) ชุดกิจกรรมการแนะแนวตามหลักพาหุสัจจะ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที
ผลการวิจัย พบว่า
1) ชุดกิจกรรมการแนะแนวตามหลักพาหุสัจจะที่ผู้วิจัยนำมาใช้ในครั้งนี้ เป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ คือ มีลักษณะโครงสร้างของชุดกิจกรรมที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และนิยามศัพท์ที่ใช้ในการวิจัย โดยชุดกิจกรรมการแนะแนวตามหลักพาหุสัจจะนี้ ได้ผ่านการตรวจสอบความเหมาะสมจากอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านเครื่องมือวิจัย และผ่านการรับรองจริยธรรมการวิจัย ในประเด็นต่างๆได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์
2) ก่อนการใช้ชุดกิจกรรมการแนะแนวตามหลักพาหุสัจจะ นักเรียนชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 2 โรงเรียนวัดมะทาย จังหวัดจันทบุรี โดยภาพรวมมีทักษะการเรียนรู้วิชาภาษาไทยอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.44, S.D. = 0.40) หลังการใช้ชุดกิจกรรมการแนะแนวตามหลักพาหุสัจจะ โดยภาพรวมนักเรียนมีทักษะการเรียนรู้วิชาภาษาไทยอยู่ในระดับมาก ( = 3.87, S.D. = 0.30) เมื่อเปรียบเทียบระดับทักษะการเรียนรู้วิชาภาษาไทย พบว่าโดยภาพรวมนักเรียนมีระดับทักษะการเรียนรู้วิชาภาษาไทยสูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
3) ผลการวิเคราะห์ความคงทนในการเรียนรู้เมื่อระยะเวลาผ่านไป 1 สัปดาห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดมะทาย จังหวัดจันทบุรี โดยภาพรวมมีทักษะการเรียนรู้วิชาภาษาไทยอยู่ในระดับมาก ( = 3.88, S.D. = 0.24) เมื่อเปรียบเทียบกับหลังการใช้ชุดกิจกรรมการแนะแนวตามหลักพาหุสัจจะ ( = 3.87, S.D. = 0.30) พบว่าโดยภาพรวมผลการวิเคราะห์ความคงทนในการเรียนรู้ของนักเรียน มีระดับทักษะการเรียนรู้วิชาภาษาไทย ไม่มีความแตกต่างกัน
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The purposes of this thesis were 1) to establish and evaluate the effectiveness of guidance activities based on Bahusacca to develop Thai language learning skill of Grade 2 Students, Wat Mathai School, Chanthaburi Province, 2) to compare Thai language learning skill before and after using guidance activities based on Bahusacca of Grade 2 Students, Wat Mathai School, Chanthaburi Province, 3) to analyze persistence of learning Thai Language subject of Grade 2 Students, Wat Mathai School, Chanthaburi Province after using guidance activities based on Bahusacca. This mixed methods reaserch were qualitative and quantitative research, which were more comprehensive and clearer. Key informants were 6 teachers of Wat Mathai School, Chanthaburi Province, have taught Grade 2 Students. Target Population were 24 Grade 2 Students in academic year 2020 selected at non-random. The research tools were 1) interview to teachers on Thai language learning skill, 2) test to develop Thai Language learning skill by using guidance activities based on Bahusacca and 3) guidance activities based on Bahusacca. The statistical data analysis tools such as percentage, mean, and standard deviation, statistical hypothesis t-test.
Research findings were as follow:
1) The series of guidance activities based on Bahusacca were effective educational innovation. Structured set of activities conformed to objectives and definition used in this research. The guidance activities based on Bahusacca need to be evaluated by research advisor, research instruments experts and certified for research ethics with the various range of issues.
2) Before using guidance activities based on Bahusacca, Grade 2 Students, Wat Mathai School, Chanthaburi Province in overall, Thai language learning skill were rated at medium level ( = 3.44, S.D. = 0.40). After using guidance activities based on Bahusacca, Grade 2 Students, Wat Mathai School, Chanthaburi Province in overall, Thai language learning skill were rated at high level ( = 3.87, S.D. = 0.30). When comparing Thai language learning skill found that the skill level was increased with a significance level of 0.05
3) The result of analyzing on persistence of learning Thai Language subject of Grade 2 Students, Wat Mathai School, Chanthaburi Province in overall showed that Thai language learning skill at high level ( = 3.88, S.D. = 0.24). When comparing after using guidance activities based on Bahusacca ( = 3.87, S.D. = 0.30). The finding found that overall analysis of learning persistence on Thai language learning skill was not different.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
6201202080 | 6201202080 | 3.6 MiB | 13 | 15 มิ.ย. 2564 เวลา 12:24 น. | ดาวน์โหลด |