-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการพัฒนาแบบวัดพฤติกรรมการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขาสำหรับผู้เข้ารับการอบรมหลักสูตรค่ายวัยใส มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษDevelopment of Learning Behavior Scale Based on Threefold Training for Kai Wai Sai Course At Mahachulalongkornrajavidyalaya, Phra Nakhon Si Ayutthaya
- ผู้วิจัยพระอาทิตย์ ธีรปญฺโญ (ศรีพารัตน์)
- ที่ปรึกษา 1รศ. ดร.ชาติชาย พิทักษ์ธนาคม
- ที่ปรึกษา 2ดร.ลำพอง กลมกูล
- วันสำเร็จการศึกษา02/05/2021
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/762
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 4
- จำนวนผู้เข้าชม 6
บทคัดย่อภาษาไทย
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวทางการวัดพฤติกรรมการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขาสำหรับผู้เข้ารับการอบรมหลักสูตรค่ายวัยใส 2) เพื่อสร้างแบบวัดพฤติกรรมการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขาสำหรับผู้เข้ารับการอบรมหลักสูตรค่ายวัยใส 3) เพื่อตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดพฤติกรรมการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขาของผู้เข้ารับการอบรมหลักสูตรค่ายวัยใส เป็นการวิจัยแบบผสมวิธี โดยใช้การวัดเชิงคุณภาพในการพัฒนาเครื่องมือวิจัยเชิงปริมาณ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการสัมภาษณ์เชิงลึก คือ วิทยากรหลักสูตรค่ายวัยใส 7 รูป/ท่าน และประชากรที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ คือ ผู้เข้ารับการอบรมหลักสูตรค่ายวัยใส ในปีการศึกษา 2563 การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง ผู้วิจัยใช้สูตรของ Hair และคณะ (1998) ได้ขนาดของกลุ่มตัวอย่างที่เหมาะสม ควรมีขนาด 360 คน สำหรับการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง 360 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบสัมภาษณ์เชิงลึก 2) แบบวัดพฤติกรรมการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติแบบบรรยาย การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และวิเคราะห์องค์ประกอบยืนยันอันดับที่สอง
ผลการวิจัยพบว่า
1. แนวทางการวัดพฤติกรรมการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขาสำหรับผู้เข้ารับการอบรมหลักสูตรค่ายวัยใส พบว่า ด้านการอบรมและดูแลผู้เรียน วิทยากรจะต้องมีความเป็นกันเอง เข้าถึงผู้เข้ารับการอบรม เพื่อทำให้ผู้รับเข้ารับอบรมได้เปิดใจรับฟังและเข้าใจการอบรมธรรมะได้ง่ายขึ้น ในด้านการติดตามและประเมินผล ทางค่ายจะมีการวัดผลตามตัวชี้วัดของค่ายนั้นๆ โดยจะมีการเก็บจากการติดต่ออาจารย์หรือหัวหน้าของหน่วยงานนั้นๆ และในด้านการจัดการอบรมให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน การพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับบริบทในปัจจุบัน มีการสอดแทรกเนื้อหาให้ทันยุคทันสมัยทันเหตุการบ้านเมืองในช่วงเวลานั้นๆ ให้เป็นตัวอย่างเพื่อจะได้สอนธรรมะให้เห็นชัดมากยิ่งขึ้น
2. แบบวัดพฤติกรรมการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขาสำหรับผู้เข้ารับการอบรมหลักสูตรค่ายวัยใส ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1) พฤติกรรมการเรียนรู้ด้านศีล 2) พฤติกรรมการเรียนรู้ด้านสมาธิ และ 3) พฤติกรรมการเรียนรู้ด้านปัญญา และในแบบวัดพฤติกรรมการเรียนรู้ มีตัวบ่งชี้ทั้งหมด 8 ตัวบ่งชี้ ประกอบด้วย 1) การพูดดี 2) การกระทำสุจริต 3) การดำรงชีพสุจริต 4) การมีความเพียรพยายาม 5) การมีสติกำกับตนเอง 6) การมีจิตตั้งมั่น 7) การมีทัศนคติที่ดี และ 8)การมีความคิดที่ดี
3. ผลการตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดพฤติกรรมการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขาของผู้เข้ารับการอบรมหลักสูตรค่ายวัยใส ที่พัฒนาขึ้น ด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบยืนยันอันดับที่สองของโมเดลการวัดพฤติกรรมการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขาสำหรับผู้เข้ารับการอบรมหลักสูตรค่ายวัยใส (BSMW) พบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ดี พิจารณาได้จากค่าไค – สแควร์ ( =21.96, df=15, p=.1088) ซึ่งแตกต่างจากศูนย์อย่างไม่มีนัยสำคัญ ค่าดัชนีวัดระดับ ความกลมกลืน (GFI)มีค่าเท่ากับ .985 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) มีค่าเท่ากับ .96 และค่าดัชนีรากของกำลังสองเฉลี่ยของส่วนที่เหลือ (RMR)มีค่าเท่ากับ .01 แสดงว่า โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The purposes of this research were 1) to study guideline of Learning Behavior Scale Based on Sikkhãttaya for Participants in Smart Camp (Kaiwaisai), 2) to construct Learning Behavior Scale Based on Sikkhãttaya for Participants in Smart Camp (Kaiwaisai), 3) to assess quality of Learning Behavior Scale Based on Sikkhãttaya for Participants in Smart Camp (Kaiwaisai). This mixed methods research conducted quantitative method to improve the qualitative research tools. Key informant interviews were 7 Smart Camp trainers and populations of quantitative data collection were participants in Smart Camp (Kaiwaisai) of academic year 2020. The required sample size were 30 samplings relied on data analysis techniques of Hair et al. (1998). The research tools were in-depth interview, and 2) Learning Behavior Scale Based on Sikkhãttaya. The statistical analyses used were descriptive statistics, Pearson correlation coefficient, second order confirmatory factor analysis.
Research findings were as follow:
1. Guidelines of Learning Behavior Scale based on Sikkhãttaya for Participants in Smart Camp (Kaiwaisai) found that the ascpect of training and taking care of trainee, trainers should be approachable to make trainees open up to listen and understand Buddhist Dhamma. Monitoring and Evaluation should be conducted as indicator and collected data from teachers or heads of concern departments. And also Training Management created in accordance with the current situation. Training curriculum development considered current context or implied events of the country at present to make trainee clearly better understand Buddhist teachings.
2. Learning Behavior Scale Form based on Sikkhãttaya for Participants in Smart Camp (Kaiwaisai) consisted of 3 main compositions: 1) right speech, 2) truthful action, 3) right livelihood, 4) right effort, 5) right mindfulness, 6) right concentration 7) right attitude and 8) right thought and thinking.
3. The results of quality assessment of Learning Behavior Scale development based on Sikkhãttaya of participants in Smart camp (Kaiwaisai) Course which were analyzed by second order confirmatory factor analysist model (BSMW) found that measurement model was valid and well fitted to empirical data wtih Chi-Square value ( =21.96, df=15, p=.1088) which was statistically significantly different from zero. GFI = .985, AGFI = .96, RMR = .01 It showed that model was valid and well fitted to empirical data.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
6201202085 | 6201202085 | 3.46 MiB | 4 | 15 มิ.ย. 2564 เวลา 13:00 น. | ดาวน์โหลด |