-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการพัฒนาพฤติกรรมจิตสาธารณะของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ ๔ โรงเรียนบ้านห้วยศาลา จังหวัดราชบุรี โดยใช้กิจกรรมการแนะแนวตามหลักสังคหวัตถุ ๔
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษDevelopment of Public Mind Behaviour of the 4th Primary School Students of Banhuaysala School, Ratchaburi Province Using Guidance Activity Based Sangahavatthu IV
- ผู้วิจัยพระอธิการปติเวศ ธมฺมวโร (นพธนาพัชร)
- ที่ปรึกษา 1พระปลัดสรวิชญ์ อภิปญฺโญ, ผศ. ดร.
- ที่ปรึกษา 2พระครูปลัดมารุต วรมงฺคโล, รศ. ดร.
- วันสำเร็จการศึกษา02/05/2021
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/764
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 5
- จำนวนผู้เข้าชม 9
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับจิตสาธารณะของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 4 โรงเรียนบ้านห้วยศาลา ตำบลยางหัก อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี 2) พัฒนาชุดกิจกรรมการแนะแนวตามหลักสังคหวัตถุ 4 สำหรับพัฒนาพฤติกรรมจิตสาธารณะของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และ 3) เปรียบเทียบพฤติกรรมจิตสาธารณะของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 4 ก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมการแนะแนวตามหลักสังคหวัตถุ 4 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมวิธี โดยใช้วิธีการเชิงปริมาณเพื่อขยายผลการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้อำนวยการและครูผู้สอนที่สอนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 5 ท่าน กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านห้วยศาลา ตำบลยางหัก อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี ปีการศึกษา 2563 จำนวน 23 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบสัมภาษณ์ครู เรื่อง การพัฒนาพฤติกรรมจิตสาธารณะของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 4 2) ชุดกิจกรรมการแนะแนวตามหลักสังคหวัตถุ 4 3) แบบวัดจิตสาธารณะ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วย Paired samples t-test
ผลการวิจัย พบว่า
1. จิตสาธารณะของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 4 โรงเรียนบ้านห้วยศาลา ตำบลยางหัก อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี อยู่ในระดับปานกลาง
2. ผลการใช้ชุดกิจกรรมการแนะแนวตามหลักสังคหวัตถุ 4 พบว่า ตัวชี้วัดที่ 1 และตัวชี้วัดที่ 2 ก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมการแนะแนวตามหลักสังคหวัตถุ 4 มีค่าเฉลี่ยระดับพฤติกรรมจิตสาธารณะแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ก่อนการใช้ชุดกิจกรรมการแนะแนวตามหลักสังคหวัตถุ 4 นักเรียนมีระดับพฤติกรรมจิตสาธารณะโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.01 S.D. = 0.44 T-norms = 47) ขณะที่หลังการใช้ชุดกิจกรรมการแนะแนวตามหลักสังคหวัตถุ 4 โดยภาพรวม มีระดับพฤติกรรมจิตสาธารณะอยู่ในระดับสูงมาก ( = 4.27 S.D. = 0.14 T-norms = 76) และเมื่อเปรียบเทียบหลังการใช้ชุดกิจกรรมการแนะแนวตามหลักสังคหวัตถุ 4 กับการติดตามผลหลังการใช้ชุดกิจกรรม 1 สัปดาห์ พบว่า นักเรียนมีระดับพฤติกรรมจิตสาธารณะไม่แตกต่างกัน
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The purposes of this research were : 1) to study Public Consciousness level of Phathom Suksa IV Students of Ban Huai Sala School, Yanghak Sub-District, Paktho District, Ratburi Province, 2) to develop Guidance Activities Based on Sangahavatthu 4 for Public Consciousness development of Phathom Suksa IV Students, and 3) to compare Public Consciousness Behavior of Phathom Suksa IV Students before and after using Guidance Activities Based on Sangahavatthu 4. This mixed methods research conducted quantitative method to extend the qualitative research results. Key informants were 5 School Directors and Teachers of Phathom Suksa IV Students. Population consisted of 23 Phathom Suksa IV Students in Academic Year 2020, Ban Huai Sala School, Yanghak Sub-District, Paktho District, Ratburi Province. Research Instruments were 1) interview to teachers on Public Consciousness development of Phathom Suksa IV Students, 2) Guidance Activities based on Sangahavatthu 4, 3) Public Consciousness Test. The statistical data analysis tools such as percentage, mean, standard deviation, paired samples t-test.
Research findings were as follow:
1. Public Consciousness level of Phathom Suksa IV Students of Ban Huai Sala School, Yanghak Sub-District, Paktho District, Ratburi Province, was at medium level.
2. The results of using Guidance Activities based on Sangahavatthu 4 found that indicator no. 1 and 2 of before and after using Guidance Activities based on Sangahavatthu 4 had significantly different average level of Public Consciousness behavior at the .05 level.
3. Before using Guidance Activities based on Sangahavatthu 4, Phathom Suksa IV Students had the overview of Public Consciousness behavior at medium level ( = 3.01 S.D. = 0.44 T-norms = 47). After using Guidance Activities based on Sangahavatthu 4, Phathom Suksa IV Students had the overview of Public Consciousness behavior at high level ( = 4.27 S.D. = 0.14 T-norms = 76). Comparing and following up the research results after using Guidance Activities based on Sangahavatthu 4 for 1 week found that the level of students’ Public Consciousness behavior were not different.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
6201202086 | 6201202086 | 3.05 MiB | 5 | 15 มิ.ย. 2564 เวลา 13:08 น. | ดาวน์โหลด |