โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    ผลการให้คำปรึกษาตามหลักไตรสิกขาที่มีต่อระดับความวิตกกังวลจากการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสิริรัตนาธร กรุงเทพมหานคร
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษEffects of Sikkhãttaya Counseling Towards Anxiety Level Due To The Impact of the Covid-19 Outbreak of Lower Secondary School Students In Sirirattanathorn School Bangkok
  • ผู้วิจัยนางสาวอุมา ประเสริฐศรี
  • ที่ปรึกษา 1รศ. ดร.ชาติชาย พิทักษ์ธนาคม
  • ที่ปรึกษา 2ดร.ลำพอง กลมกูล
  • วันสำเร็จการศึกษา02/05/2021
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/766
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 11
  • จำนวนผู้เข้าชม 16

บทคัดย่อภาษาไทย

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพความวิตกกังวลจากผลกระทบการแพร่ระบาดโควิด-19 ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสิริรัตนาธร กรุงเทพมหานคร  2) เพื่อพัฒนาโปรแกรมการให้คำปรึกษาตามหลักไตรสิกขาเพื่อลดระดับความวิตกกังวลจากการแพร่ระบาดโควิด-19 ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนสิริรัตนาธร กรุงเทพมหานคร และ    3) เพื่อเปรียบเทียบระดับความวิตกกังวลจากการแพร่ระบาดโควิด-19 ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสิริรัตนาธร กรุงเทพมหานคร ก่อนและหลังการใช้โปรแกรมให้คำปรึกษาตามหลักไตรสิกขา ใช้การวิจัยแบบผสมวิธี โดยใช้วิธีการเชิงปริมาณเพื่อขยายผลการวิจัยเชิงคุณภาพผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสิริรัตนาธร ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และไม่ได้อยู่ในกลุ่มทดลอง ประชากร ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสิริรัตนาธร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 1,200 คน ใช้การสุ่มโดยการจับฉลาก ได้กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/9 จำนวน 4o คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบสัมภาษณ์เชิงลึก เรื่อง ผลกระทบจากสถานการณณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19  2) โปรแกรมการให้คำปรึกษาตามหลักไตรสิกขา 3) แบบสอบถามเกี่ยวกับการปฏิบัติตนเพื่อลดระดับความวิตกกังวลจากการแพร่ระบาดโควิด-19  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่    แจกแจงความถี่ และค่าร้อยละ หาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐาน ทดสอบกับกลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียวกันทั้งก่อนและหลัง โดยใช้สถิติเชิงอนุมาน คือ การทดสอบค่าที

              ผลการวิจัย พบว่า

             1. สภาพความวิตกกังวลจากผลกระทบการแพร่ระบาดโควิด-19 ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสิริรัตนาธร กรุงเทพมหานคร พบว่า มีความเปลี่ยนแปลงในการดำเนินชีวิต ปัญหาหารเงิน ความวิตกกังวลและความเบื่อจากการได้พบปะผู้คนหรืออกจากบ้านที่น้อยลง และความกังวลด้านสุขภาพ ส่วนในด้านแนวทางการดำเนินชีวิต พบว่า ใช้ชีวิตอยู่ในที่พักเป็นหลัก ออกจากที่พักเมื่อจำเป็นและสวมหน้ากากอนามัยทุกครั้ง วางแผนชีวิตและทำกิจกรรมเพื่อลดความวิตกกังวล เปลี่ยนวิธีการพบปะเพื่อน หมั่นล้างมือ และดูแลตนเอง

                2. โปรแกรมการให้คำปรึกษาตามหลักไตรสิกขาเพื่อลดระดับความวิตกกังวลจากการแพร่ระบาดโควิด-19 ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนสิริรัตนาธร กรุงเทพมหานคร  ประกอบด้วย การให้คำปรึกษาตามหลักอธิศีลสิกขา อธิจิตสิกขา และอธิปัญญาสิกขา  และผลระดับความวิตกกังวลจากการแพร่ระบาดโควิด-19 ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสิริรัตนาธร กรุงเทพมหานคร ก่อนการใช้โปรแกรมให้คำปรึกษาตามหลักไตรสิกขา ภาพรวมทั้ง 3 ด้าน พบว่า ด้านความวิตกกังวลที่แสดงออกทางกาย มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก  (  =  4.08 S.D. =  0.43) ด้านความวิตกกังวลที่แสดงออกทางอารมณ์ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (= 3.45 S.D. = 0.57) ด้านการเผชิญสถานการณ์อย่างมีเหตุผล มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (= 2.82 S.D.= 0.99)

               3. ระดับความวิตกกังวลจากการแพร่ระบาดโควิด-19 ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสิริรัตนาธร กรุงเทพมหานคร หลังการใช้โปรแกรมให้คำปรึกษาตามหลักไตรสิกขา ภาพรวมทั้ง 3 ด้าน ประกอบด้วย ด้านความวิตกกังวลที่แสดงออกทางกาย พบว่า หลังการให้คำปรึกษาตามหลักไตรสิกขามีระดับความวิตกกังวลที่แสดงออกทางกายลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  ด้านความวิตกกังวลที่แสดงออกทางอารมณ์ พบว่า หลังการให้คำปรึกษาตามหลักไตรสิกขามีระดับความวิตกกังวลที่แสดงออกทางอารมณ์ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และด้านการเผชิญสถานการณ์อย่างมีเหตุผล พบว่า หลังการให้คำปรึกษาตามหลักไตรสิกขามีระดับการเผชิญสถานการณ์อย่างมีเหตุผลสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

                   The purposes of this thesis were 1) to study the state of anxiety from the impact of COVID-19 pandemic of Lower Secondary School Students, Sirirattanthorn School, Bangkok, 2) to develop counseling program based on Sikkhãttaya on decreasing anxiety level because of COVID-19 pandemic of Lower Secondary School Students, Sirirattanthorn School, Bangkok, and 3) to compare anxiety level amid COVID-19 pandemic of Lower Secondary School Students, Sirirattanthorn School, Bangkok before and after using counseling program based on Sikkhãttaya. This Mixed methods research used quantitative methods.  To extend the qualitative research results, key informants were Lower Secondary School Students, Sirirattanathorn School, Bangkok, who were affected COVID-19 pandemic and also were not in experimental group. Population were 1,200 Lower Secondary School Students in second semester of Academic year 2020.  40 Lower Secondary School Students Grade 9 Room no. 9 were selected at random. 

                    The research tools were 1) in-depth interview in subject of COVID-19 pandemic impacts, 2) counseling program based on Sikkhãttaya, 3) questionnaires addressing behavior to reduce anxiety level during COVID-19 pandemic. The statistical data analysis tools such as frequency, percentage, mean, and standard deviation, statistical hypothesis test, the one-group pretest-posttest design using inferential statistics analysis such as t-test.

                    Research findings were as follow:

                    1. The state of anxiety from the impact of COVID-19 pandemic of Lower Secondary School Students, Sirirattanthorn School, Bangkok: it found that lifestyle changes, financial problems, anxiety, boredom of meeting people or rarely leaving home and health concerns. Moreover, the way of life found to be mostly living at home, to leave residence as-needed and wear face mask at all times, plan own life, activities, change the way of meeting friend, keep hands clean, and take care of oneself.  

                   2. Counseling program based on Sikkhãttaya to decrease anxiety level during COVID-19 pandemic of Lower Secondary School Students, Sirirattanathorn School, Bangkok, were comprised of Adhisalasĩkkhã, Adhicittasikkhã, and Adhipaññasikkhã.  In addition, anxiety level during COVID-19 pandemic of Lower Secondary School Students, Sirirattanathorn School, Bangkok, before using counseling program as Sikkhãttaya at all 3 aspects found that physical anxiety at high level (  =  4.08 S.D. =  0.43), mental anxiety at medium level (  =  3.45  S.D. =  0.57), rational response at medium level กลาง (  =  2.82 S.D. =  0.99).

                    3. Anxiety level during COVID-19 pandemic of Lower Secondary School Students, Sirirattanathorn School, Bangkok, after using counseling program as Sikkhãttaya in overall of 3 aspects.  Physical anxiety found that the anxiety level was reduced with a significance level of 0.05. Mental anxiety was reduced with a significance level of 0.05. Rational response was increased with significance level of 0.05.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
6201202087 6201202087 2.85 MiB 11 15 มิ.ย. 2564 เวลา 13:17 น. ดาวน์โหลด