โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การศึกษาเปรียบเทียบตำนานการเกิดขึ้นของรอยพระพุทธบาทในพระพุทธศาสนาเถรวาทและรอยพระวิษณุบาทในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Comparative Study of the Legend of the Occurrence of the Buddha’s Footprints in Theravada Buddhism and the Vishnu Footprint’s in Brahmanism-Hinduism
  • ผู้วิจัยพระวรวุฒิ วิสุทฺธิเมธี (โอทอง)
  • ที่ปรึกษา 1พระมหาจรูญ กิตฺติปญฺโญ, ดร.
  • ที่ปรึกษา 2ดร.คงสฤษฏ์ แพงทรัพย์
  • วันสำเร็จการศึกษา08/03/2020
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาศาสนาเปรียบเทียบ
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/770
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 282
  • จำนวนผู้เข้าชม 486

บทคัดย่อภาษาไทย

              การศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาตำนานการเกิดขึ้นของรอยพระพุทธบาทในพระพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาตำนานการเกิดขึ้นของรอยพระวิษณุบาทในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และ 3) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบตำนานการเกิดขึ้นของรอยพระพุทธบาทในพระพุทธศาสนาเถรวาทและรอยพระวิษณุบาทในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู

              ผลการวิจัยพบว่า

              รอยพระพุทธบาท คือรอยพระบาทของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่พระองค์ทรงประทับเอาไว้ยังสถานที่สำคัญหลายแห่ง เป็นนิมิตหมายแห่งคุณงามความดี ที่แสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในแคว้นต่าง ๆ เพื่อช่วยเหลือสรรพสัตว์ทั้งหลายให้หลุดพ้นจากความทุกข์ ซึ่งรอยพระพุทธบาทมักจะปรากฏบนแผ่นหินที่อยู่บนภูเขาสูง มีทั้งรอยพระบาทคู่และพระบาทเดี่ยว มีทั้งขนาดกลางและขนาดใหญ่ มีทั้งปรากฏอยู่ในคัมภีร์และไม่ปรากฏในคัมภีร์ ตามตำนานเล่าว่ามีอยู่ 5 แห่ง ได้แก่ 1) รอยพระพุทธบาทที่ภูเขาสุวรรณมาลี 2) รอยพระพุทธบาทที่ภูเขาสุวรรณบรรพต 3) รอยพระพุทธบาทที่เมืองโยนกบุรี 4) รอยพระพุทธบาทที่ภูเขาสุมนกูฏ และ 5) รอยพระพุทธบาทที่ริมฝั่งแม่น้ำนัมมทานที การเกิดขึ้นของรอยพระพุทธบาทนั้นไม่ได้เกิดขึ้นโดยบังเอิญ แต่เกิดขึ้นจากการอาราธนาของเหล่าเทวดา นาคราช ดาบส และมนุษย์ทั้งหลายได้ทูลขอให้พระพุทธองค์ ทรงประทานรอยพระบาทเอาไว้ อันเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจให้ระลึกถึงพระพุทธองค์ และเพื่อเป็นสิ่งเคารพสักการบูชาให้เกิดความเป็นอุดมมงคล

                รอยพระวิษณุบาท คือรอยพระบาทของพระวิษณุเทพ ที่พระองค์ทรงเสด็จมาประทับเอาไว้ยังสถานที่ศักดิ์สิทธิ์หลายแห่ง เป็นนิมิตหมายแห่งความเจริญรุ่งเรืองของนิกายไวษณพ และเป็นสัญลักษณ์แทนพระวิษณุเทพ ในการปราบอธรรมให้หมดไปจากไตรโลก ซึ่งรอยพระวิษณุบาทมักจะปรากฏบนแผ่นหินสีดำ มีทั้งรอยพระบาทคู่และพระบาทเดี่ยว ตามตำนานเล่าว่ามีอยู่ 5 แห่ง ได้แก่ 1) รอยพระวิษณุบาทที่เมืองหริทวาร 2) รอยพระวิษณุบาทที่เมืองพัทรีนาถ 3) รอยพระวิษณุบาทที่เมืองคยาสีสะ 4) รอยพระวิษณุบาทที่เมืองราเมศวร และ 5) รอยพระวิษณุบาทที่เมืองวารณสี การเกิดขึ้นของรอยพระวิษณุบาทนั้นไม่ได้เกิดขึ้นโดยบังเอิญ แต่เกิดขึ้นจากการอันเชิญของเหล่าเทพยดาบนสรวงสวรรค์ อ้อนวอนเพื่อให้พระวิษณุเทพทรงอวตารลงมาปราบอสูร ที่เที่ยวทำความเดือดร้อนไปทั่วสามโลก อีกประการหนึ่งพระวิษณุเทพจะทรงประทานรอยพระวิษณุบาท ให้กับสาวกผู้ภักดีและอุทิศตนต่อพระองค์ อันเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจให้ระลึกถึงพระองค์ และเพื่อเป็นสิ่งเคารพสักการบูชาให้เกิดความเป็นอุดมมงคล จากการศึกษาเปรียบเทียบ พบว่า มีนัยที่เหมือนกัน คือรอยพระบาทของทั้งสองศาสนามีอยู่ 5 รอย มีรอยพระบาทคู่และรอยพระบาทเดี่ยว อันเป็นสัญลักษณ์ในการเผยแผ่ศาสนาอีกด้วย ส่วนนัยที่แตกต่างกัน คือรอยพระพุทธบาทมีขนาดกลางและขนาดใหญ่ ปรากฏอยู่ในคัมภีร์ทางศาสนา รอยพระพุทธบาทในพระพุทธศาสนาเถรวาท เกิดขึ้นจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเสด็จจาริกไปโปรดเหล่าเวไนยสัตว์ในแคว้นต่าง ๆ และพระองค์ทรงได้ประทับรอยพระบาทเอาไว้ เพื่อเป็นสัญลักษณ์ในการประกาศพระศาสนา ส่วนรอยพระวิษณุบาทในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เป็นรอยพระบาทขนาดกลาง ไม่มีปรากฏอยู่ในคัมภีร์ทางศาสนา รอยพระวิษณุบาทในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เกิดขึ้นจากการอวตารของพระวิษณุเทพลงมาปราบอสูร และพระองค์ทรงได้ประทับรอยพระบาทเอาไว้ เพื่อเป็นสัญลักษณ์ในการปราบอธรรม

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

This thesis has three objectives; 1) to study the legend of occurrence of the Buddha’s footprints in Theravada Buddhism, 2) to study the legend of occurrence of the Vishnu’s footprints in Brahmanism-Hinduism, and 3) to comparatively study of the legend of occurrence of the Buddha’s footprints in Theravada Buddhism and the legend of occurrence of the Vishnu’s footprints in Brahmanism-Hinduism.

The results of the study are as follows:

The Buddha’s footprints are the footprints of the Lord Buddha who had stamped in many important places; it was the symbol of virtue that meant the prosperity of the Buddhism propagation in various regions in order to help all living beings to be free from suffering. The Buddha’s footprints often appear on the stone of the highest mountains. There are footprints in both of the pair and single, it also is medium and large sizes, it also appears in and out of scriptures. There are five places in the legends, 1) the Buddha’s footprint on Suwanmali mountain), 2) the Buddha’s footprint in the Suwanna mountain, 3) the Buddha’s footprint in the Yonaka-Pura, 4) the Buddha’s footprint on the Sumana-kuta and 5) the Buddha’s footprint at the Narmada river in India. The occurrence of the Buddha’s footprint is not accident but it arose from the invitation of the deities, nagas, ascetics, and human beings who request him to put down his footprints as the spiritual anchor to remind the Lord Buddha and for worship to be the highest good fortune.

The Vishnu’s footprint is the footprint of the Lord Vishnu who had stamped in many holy places, it was the symbol of prosperity of Vaishnavism, and as the symbol of Vishnu to defeat the injustice of the worlds. The Vishnu’s footprint often appears on the dark stone or rock, there are footprints in both of the pair and single. There are five places in the legend, 1) the Vishnu’s footprint at the Haridwar, 2) the Vishnu’s footprint at Padrinath, 3) the Vishnu’s footprint at Gayasisa, 4) the Vishnu’s footprint at Ramesh, and 5) the Vishnu’s footprint at Varanasi. The occurrence of the Vishnu’s footprint is not accident but it arose from the invitation of the deities in the heaven to request him to come down for defeating the demon who was suffered trouble all around the worlds. By the way, Vishnu has stamped the footprint to followers who are disciplined and dedicated to him as the spiritual anchor to remind him and for worship to be the highest good fortune.

                 From the comparative study found that the similarity is there are five footprints of both religions, and there are footprints in both of the pair and single which also are the symbols of propagation of religions. Then, the difference is the Buddha’s footprint is medium and large sizes, it appeared in the Buddhist Scriptures. The Buddha’s footprint in Theravada Buddhism is from the Lord Buddha had travelled to propagate dharma to living beings in the various regions, and he has left his footprints as the symbol for propagating Buddhism. While, the Vishnu’s footprint in Brahmanism-Hinduism is the medium size, it does not appear in the Scriptures. The footprint is caused by the Vishnu come down for defeating the demon and he had left his footprints as the symbol of defeating evil.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 1.06 MiB 282 15 มิ.ย. 2564 เวลา 22:20 น. ดาวน์โหลด