-
ชื่อเรื่องภาษาไทยศึกษาวิเคราะห์ประเพณีการบวชลูกแก้วของกุลา อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษAn Analytical Study on Buad Lookkaew Tradition of Kula Ethnic in Khueang Nai District, Ubon Ratchathani Province
- ผู้วิจัยพระประภาส กตทีโป (สุทธิพันธ์)
- ที่ปรึกษา 1พระครูปลัดสมหมาย อตฺถสิทฺโธ, ดร.
- ที่ปรึกษา 2พระครูวาปีจันทคุณ, ผศ. ดร.
- วันสำเร็จการศึกษา19/02/2021
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/773
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 17
- จำนวนผู้เข้าชม 15
บทคัดย่อภาษาไทย
ศึกษาวิเคราะห์ประเพณีการบวชลูกแก้วของกุลา อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องการดำเนินชีวิตตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาของกุลา 2) เพื่อศึกษาขั้นตอนหรือกระบวนการบวชลูกแก้วของกุลา อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี 3) เพื่อศึกษาวิเคราะห์เรื่องประเพณีการบวชลูกแก้วของกุลา อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี โดยผู้วิจัยได้ศึกษาข้อมูลจากเอกสาร (Documentary research) และสัมภาษณ์ข้อมูลเชิงลึกภาคสนาม (Field study) จากกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งผู้วิจัยได้แบ่งเป็น 3 กลุ่ม จำแนกเป็น (1) พระสงฆ์ จำนวน 5 รูป (2) ผู้นำกุลา จำนวน 5 คน (3) ชาวกุลาอำเภอเขื่องใน จำนวน 5 คน รวมกลุ่มเป้าหมายทั้งสิ้น จำนวน 15 รูป/คน กลุ่มเป้าหมายได้มาโดยวิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง (purposive sampling)
จากการศึกษา พบว่า
แนวคิดเรื่องการดำเนินชีวิตตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาของกุลา อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี โดยหลักสำคัญ ๆ ยึดมั่นในหลักศรัทธา จาคะ กตัญญู อบายมุข การพึ่งตนเอง และเศรษฐกิจพอเพียง เป็นต้น
ขั้นตอนหรือกระบวนการบวชลูกแก้วของกุลา พบว่า การบวชลูกแก้ว จะเริ่มต้นขบวนแห่ลูกแก้วซึ่งลูกแก้วจะมีการแต่งกาย อย่างงดงามเปรียบเสมือนเทวดาตัวน้อย ๆ แห่ไปรอบเมือง ตามถนนหนทางต่าง ๆ ซึ่งขบวนแห่ก็จะประกอบไปด้วยเสียงดนตรีอันแสดงถึงความสนุกสนานรื่นเริงจากเครื่องดนตรีของไทยใหญ่ ได้แก่ มองเชิง (ฆ้องชุด) ฉาบ และกลองมองเชิง (กลองสองหน้า)
ส่วนการศึกษาวิเคราะห์เรื่องประเพณีการบวชลูกแก้วของกุลา อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี พบว่า การบวชลูกแก้ว เป็นประเพณีความเชื่อของชาวพม่าไทยใหญ่ที่เชื่อว่า ถ้าใครได้จัดงานบวชสามเณรและได้อุปสมบทพระภิกษุจะได้อานิสงส์มากล้นและหากได้มีโอกาสมาร่วมงานบวชลูกแก้วแล้วจะได้กุศลใหญ่หลวงโดยเฉพาะผู้ที่เป็นเจ้าภาพลูกแก้ว หรือผู้ที่เป็นอุปัฏฐากให้ลูกแก้วได้เข้าบวช สำหรับประเพณีการบวชลูกแก้ว จะมี 3 วัน วันแรกเรียก “วันเอาส่างลอง” คือวันแห่ลูกแก้วรอบ ๆ หมู่บ้านเพื่อความสนุกสนาน วันที่ 2 เรียกว่า “วันรับแขก” จะมีขบวนแห่คล้าย ๆ วันแรก แต่ในวันที่ 2 ขบวนแห่จะประกอบด้วยเครื่องสักการะ ธูปเทียนต่าง ๆ เพื่อถวายพระพุทธ และเครื่องจตุปัจจัยถวายพระสงฆ์ วันสุดท้ายคือ “วันบวช” พิธีของวันนี้จะเริ่มด้วยการนำลูกแก้วไปยังวัด พอถึงวัด ลูกแก้วทั้งหมดก็จะกล่าวขออนุญาตเพื่อทำการบวชจากพระผู้ใหญ่ เมื่อท่านได้อนุญาต ลูกแก้วก็จะพร้อมกันกล่าวคำปฏิญาณตนและอาราธนาศีล แล้วจึงเปลี่ยนเครื่องแต่งกายจากชุดผ้าส่างลองที่สวยงามมาเป็นผ้ากาสาวพัตรสีเหลืองแล้วก็เป็นสามเณรอย่างสมบูรณ์ โดยอาจจะอยู่หลายเดือนเพราะเป็นช่วงปิดเทอม
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The thesis entitled “An Analytical Study on Buad Lookkaew Tradition of Kula Ethnic in Khueang Nai District, Ubon Ratchathani Province” consisted of the following objectives: 1) to study the life principles according to the Buddhist teachings of Kula ethnic; 2) to study the procedure or process of Buad Lookkaew tradition of Kula ethnic in Khueang Nai district, Ubon Ratchathani province; and 3) to conduct an analytical study on Buad Lookkaew tradition of Kula ethnic in Khueang Nai district, Ubon Ratchathani province. The study was conducted by means of documentary research and field study. The target group was acquired through a purposive sampling and divided into three consisting of 1) 5 monks, 2) 5 leaders of Kula ethnic, and 3) 5 persons of Kula ethnic in Khueang Nai district, in a total of 15 persons.
From the study, it was found as follows:
1) From studying the life principles according to the Buddhist teachings of Kula ethnic in Khueang Nai district, Ubon Ratchathani province, the significant principles found are as follows: saddhā (faith), cāga (liberality), kataññutā(gratitude), apāyamukha (cause of ruin), self-reliance, and sufficiency economy, etc.
2) From studying the procedure or process of Buad Lookkaew tradition of Kula ethnic, it was found that the ceremony starts from the procession of the young boys, who dress up beautifully with precious decorations as if a little deva (gods), being carried around the village. The procession is lively and the fast-moving music is played by a band with the Tai musical instruments, namely, Mong Soeng (a set of gongs), cymbals, and Glong Mong Soeng (drums).
3) From an analytical study on Buad Lookkaew tradition of Kula ethnic in Khueang Nai district, Ubon Ratchathani province, it was found that the tradition derived from the belief of Thai ethnic that the sons will gain great merit if ordained as novice and monk. Those who attend and are the host of the ceremony, as well as those who give support, will earn even greater merit. The ceremony usually lasts 3 days: the first day is called “Aow Sang Long” in which the boys will be carried around the village; the second day is called “Wan Rub Kaek” (receiving guests) in which the boys will be carried like on the first day but there are also other ceremonies such as the procession of monastic items (incense, candles, offerings) to offer to the monks; and the last day is called “Wan Buad” (ordination day) which will start from the taking the boys to the temple, the boys will ask permission from the senior monks for ordination, they will make a vow and request for the precepts, they will change their clothes from a beautiful decorated Sang Long to the yellow robes of monks and novices. They will stay novicehood for many months as it is during the vacation from their school.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
6117205006 | 6117205006 | 2.47 MiB | 17 | 15 มิ.ย. 2564 เวลา 23:37 น. | ดาวน์โหลด |