โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    แนวทางการส่งเสริมประเพณีบุญข้าวจี่ของชุมชนตำบลทุ่งกุลา อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Guideline for the Promotion of Bun Khao Ji Tradition of Thung Kula Subdistrict Community, Suvarnabhumi District, Roi Et Province
  • ผู้วิจัยพระอธิการสมาน สนฺติกโร (สุจริตภักดี)
  • ที่ปรึกษา 1พระครูวาปีจันทคุณ, ผศ. ดร.
  • ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.ไพฑูรย์ สวนมะไฟ
  • วันสำเร็จการศึกษา19/02/2021
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/774
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 20
  • จำนวนผู้เข้าชม 21

บทคัดย่อภาษาไทย

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ (1เพื่อศึกษาความเป็นมาของประเพณีบุญข้าวจี่ในพระพุทธศาสนาเถรวาท (2เพื่อศึกษาการจัดประเพณีบุญข้าวจี่ของชาวตำบลทุ่งกุลา อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด  และ (3เพื่อเสนอแนวทางการส่งเสริมประเพณีบุญข้าวจี่ของชาวตำบลทุ่งกุลา อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด การวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) แล้วนำมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ สรุปผลการวิจัยแล้วนำเสนอผลการศึกษา 

               ผลการวิจัยพบว่า

               มูลเหตุสำคัญที่ชาวอีสานทำบุญข้าวจี่ในเดือนสาม ก็เพราะเป็นเวลาที่ชาวบ้านหมดภาระในการทำนา ชาวบ้านได้นำข้าวใหม่ขึ้นยุ้ง ขึ้นฉาง จึงอยากร่วมกันทำบุญข้าวจี่ถวายพระสงฆ์ ชาวอีสานทราบถึงอานิสงส์ของการทานดังกล่าวจึงพากันทำข้าวจี่ถวายทานแต่พระสงฆ์สืบต่อมาตั้งแต่บรรพบุรุษจนถึงปัจจุบัน

              ในส่วนปัญหาการจัดประเพณีบุญข้าวจี่ของชุมชนตำบลทุ่งกุลาในปัจจุบัน พบว่า มีปัญหาด้านการประชาสัมพันธ์  ปัญหาเกี่ยวกับขั้นตอนและกำหนดการ ปัญหาด้านการดำเนินงาน ปัญหาด้านการเผยแพร่ความรู้

              ด้านแนวทางส่งเสริมการจัดประเพณีบุญข้าวจี่ของชุมชนตำบลทุ่งกุลา อำเภอสุวรรณภูมิ  จังหวัดร้อยเอ็ด โดยบูรณาการประเพณีบุญข้าวจี่เข้ากับชุมชน สังคม องค์กร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อส่งเสริมประเพณีบุญข้าวจี่  2 ส่วน ส่วนแรกเป็นแนวทางการส่งเสริมตามบทบาทหน้าที่ทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งประกอบด้วยการ ส่งเสริมบุญประเพณีบุญข้าวจี่ในมิติทางสังคม มิติทางการเมือง มิติทางพระพุทธศาสนา มิติทางวัฒนธรรม มิติทางการท่องเที่ยว มิติทางการสื่อสาร มิติทางการศึกษา มิติทางเศรษฐกิจ มิติทางวิถีประชา มิติทางจิตสาธารณะ และในมิติของสุขภาพ ซึ่งเป็นการส่งเสริมโดยมีบทบาทหน้าที่รองรับ โดยจะทำให้เกิดกระบวนการขับเคลื่อนการส่งเสริมประเพณีบุญข้าวจี่เป็นเครือข่ายร่วมกัน ส่วนที่สองเป็นแนวทางการส่งเสริมบุญประเพณีบุญข้าวจี่ในมิติทางวัฒนธรรม คือ การส่งเสริมบุญประเพณีบุญข้าวจี่ด้านวัฒนธรรม ด้านคติธรรม  และด้านสหธรรม ซึ่งแต่ละส่วนจะเป็นองคาพยพในการส่งเสริมประเพณีบุญข้าวจี่ของชุมชนตำบลทุ่งกุลาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

               The thesis entitled “A Guideline for the Promotion of Bun Khao Ji Tradition of Thung Kula Subdistrict Community, Suvarnabhumi District, Roi Et Province” consisted of the following objectives: 1) to study the background of Bun Khao Ji tradition in Theravada Buddhism; 2) to study the arrangement of Bun Khao Ji tradition of Thung Kula subdistrict community, Suvarnabhumi district, Roi Et province; and 3) to present a guideline for the promotion of Bun Khao Ji tradition of Thung Kula subdistrict community, Suvarnabhumi district, Roi Et province. The study was a qualitative research by means of documentary research and in-depth interview with the key informants. The acquired data were analyzed, synthesized, and summarized to get the research results for presentation.

               From the study, it was found as follows:

               The main reason that Isan villagers perform the Bun Khao Ji tradition on the 3rd month is because it is the period where they do not have duty on farming. The villagers will take the newly harvested rice from the barn for offering to the monks through Bun Khai Ji tradition as a way for merit-making. The villagers fully recognize the virtues of such offering; therefore, the tradition has been passed down from their ancestors to the present.

              In regards to the problem on the arrangement of Bun Khao Ji tradition of Thung Kula subdistrict community in the present, it was found the following problems: public relations, procedures and schedules, operation, dissemination of knowledge.

               From studying a guideline for the promotion of Bun Khao Ji tradition of Thung Kula subdistrict community, Suvarnabhumi district, Roi Et province, it was found that Bun Khao Ji tradition is integrated with the community, society, organizations, and related agencies in order to promote the tradition. The guideline is divided into two ways, the first is a guideline for promotion through roles and duties, both directly and indirectly, in the following dimensions: society, politics, Buddhism, cultures, tourism, communication, education, economy, the way of life, public mind, and health. All of which are based on roles and duties which will result in the driving process for the promotion of Bun Khao Ji tradition in a common network manner. The second way is a guideline through a cultural dimension, that is, cultures, morals, and Dhamma, by which each part functions together in promoting Bun Khao Ji tradition of Thung Kula subdistrict community in an efficient manner.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
6117205004 6117205004 2.73 MiB 20 19 มิ.ย. 2564 เวลา 06:01 น. ดาวน์โหลด