-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการศึกษาเปรียบเทียบวิธีการสอนพระพุทธศาสนาในโรงเรียนวัดชุมพลนิกายารามกับโรงเรียนเซนต์แมรี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Comparative Study of the Teaching of Buddhism in School of Wat Chumphon Nikayaram School and ST. Mary’s School in Ayutthaya Province
- ผู้วิจัยVEN. INKDAWANSA
- ที่ปรึกษา 1พระมหาจรูญ กิตฺติปญฺโญ, ดร.
- ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.แสวง นิลนามะ
- วันสำเร็จการศึกษา20/02/2020
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาศาสนาเปรียบเทียบ
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/776
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 519
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ (1) เพื่อศึกษาวิธีการสอนพระพุทธศาสนาในโรงเรียนวัดชุมพลนิกายาราม (2) เพื่อศึกษาวิธีการสอนพระพุทธศาสนาในโรงเรียนเซนต์แมรี (3) เพื่อเปรียบเทียบวิธีการสอนพุทธศาสนาในโรงเรียนวัดชุมพลนิกายารามกับโรงเรียนเซนต์แมรี โดยทำการศึกษาในเชิงเอกสารและสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาทำการค้นคว้าวิเคราะห์เปรียบเทียบ
ผลการศึกษาพบว่า
วิธีการสอนพระพุทธศาสนาในโรงเรียนวัดชุมพลนิกายาราม มีวิธีการสอน 3 วิธี คือ (1) ใช้สื่อการเรียนการสอน เช่น สิ่งต่าง ๆ ที่เป็นบุคคล วัสดุ อุปกรณ์ ตลอดจนเทคนิควิธีการต่างๆ ( 2) สอนให้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง โดย ใช้กระบวนการเรียนรู้เชิงกระตือรือร้นด้วยการบริหารจิตและเจริญปัญญา ฝึกฝนให้เกิดสติ สมาธิ (3) วิธีการสอนเป็นไปตามกระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดไว้ว่าด้วยศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม ตามมาตรฐาน ส 1.1 และมาตรฐาน ส 1.2 กระบวนการจัดการเรียนรู้ในลักษณะ การเรียนรู้ในชั้นเรียนจะเป็นลักษณะการบูรณาการโดยเน้นผู้เรียนเป็นหลักในการเรียนรู้ ทั้งความรู้ กระบวนการฝึกปฏิบัติ และมีการวัดผลประเมินผลทุกหน่วยการเรียนรู้ โดยเฉพาะด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของโรงเรียน ที่ส่งเสริมให้เกิดความเจริญงอกงามตามลักษณะแห่งปัญญาวุฒิธรรม
วิธีการสอนพระพุทธศาสนาในโรงเรียนเซนต์แมรี มีวิธีการสอน 2 วิธี คือ (1) การเทศน์ธรรมะ และบรร ยายหลักธรรมเกี่ยวกับธรรมะที่จะนำไปพัฒนาชีวิตและจิตใจของนักเรียนและเพื่อให้นักเรียนได้เข้าใจถึงหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา เช่น หลักไตรสิกขา ศีล สมาธิ ปัญญา และมีการฝึกสวดมนต์ นั่งสมาธิ แผ่ เมตตา (2) สอนตามหลักสูตร แกนกลางของพระพุทธศาสนา ฉบับ พ.ศ. 2551 โดยมีสาระการเรียนรู้ คือ พุทธประ วัติชาดก หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา มารยาทชาวพุทธ วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา และการบริหารจิตและปัญญา ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานและธรรมศึกษา
ผลการศึกษาเปรียบเทียบพบว่า การสอนพระพุทธศาสนาทางโรงเรียนวัดชุมพลนิกายารามและโรง เรียนเซนต์แมรี มีความคล้ายคลึงกันในด้านการสอนทฤษฏีสอนตามหลักสูตรแกนกลาง ส 1.1 และ ส 1.2 ตามกรมการศึกษาธิการกำหนด ส่วนด้านที่แตกต่างกัน โรงเรียนเซนต์แมรีมีการเน้นภาคปฏิบัติมากกว่า โดยการนำนัก เรียนมาฟังธรรมทุกวันพระในโรงเรียน โดยครูพระสอนศีลธรรมเป็นผู้บรรยายหลักธรรมและฝึกสวดมนต์ นั่งสมาธิ แผ่เมตตา และกิจกรรมทางศาสนพิธีทางพระพุทธศาสนาโดยมีครูพระสอนศีลธรรมเป็นผู้ชี้นำสู่ความเป็นผู้มีจริยธรรม คุณธรรม และศีลธรรมในทางวิถีทางพระพุทธศาสนา ในขณะที่โรงเรียนวัดชุมพลนิกายาราม เน้นการสอนตามสาระการเรียนรู้ของ กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ เป็นการเรียนรู้ในชั้นเรียนจะเป็นลักษณะการบูรณาการโดยเน้นผู้เรียนเป็นหลักในการเรียนรู้ ทั้งความรู้ และมีการวัดผลประเมินผลทุกหน่วยการเรียนรู้ ส่วนทางด้านปฏิบัติจะเน้นไปทางศาสนาพิธี เช่นวันสำคัญทางศาสนา
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ (1) เพื่อศึกษาวิธีการสอนพระพุทธศาสนาในโรงเรียนวัดชุมพลนิกายาราม (2) เพื่อศึกษาวิธีการสอนพระพุทธศาสนาในโรงเรียนเซนต์แมรี (3) เพื่อเปรียบเทียบวิธีการสอนพุทธศาสนาในโรงเรียนวัดชุมพลนิกายารามกับโรงเรียนเซนต์แมรี โดยทำการศึกษาในเชิงเอกสารและสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาทำการค้นคว้าวิเคราะห์เปรียบเทียบ
ผลการศึกษาพบว่า
วิธีการสอนพระพุทธศาสนาในโรงเรียนวัดชุมพลนิกายาราม มีวิธีการสอน 3 วิธี คือ (1) ใช้สื่อการเรียนการสอน เช่น สิ่งต่าง ๆ ที่เป็นบุคคล วัสดุ อุปกรณ์ ตลอดจนเทคนิควิธีการต่างๆ ( 2) สอนให้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง โดย ใช้กระบวนการเรียนรู้เชิงกระตือรือร้นด้วยการบริหารจิตและเจริญปัญญา ฝึกฝนให้เกิดสติ สมาธิ (3) วิธีการสอนเป็นไปตามกระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดไว้ว่าด้วยศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม ตามมาตรฐาน ส 1.1 และมาตรฐาน ส 1.2 กระบวนการจัดการเรียนรู้ในลักษณะ การเรียนรู้ในชั้นเรียนจะเป็นลักษณะการบูรณาการโดยเน้นผู้เรียนเป็นหลักในการเรียนรู้ ทั้งความรู้ กระบวนการฝึกปฏิบัติ และมีการวัดผลประเมินผลทุกหน่วยการเรียนรู้ โดยเฉพาะด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของโรงเรียน ที่ส่งเสริมให้เกิดความเจริญงอกงามตามลักษณะแห่งปัญญาวุฒิธรรม
วิธีการสอนพระพุทธศาสนาในโรงเรียนเซนต์แมรี มีวิธีการสอน 2 วิธี คือ (1) การเทศน์ธรรมะ และบรร ยายหลักธรรมเกี่ยวกับธรรมะที่จะนำไปพัฒนาชีวิตและจิตใจของนักเรียนและเพื่อให้นักเรียนได้เข้าใจถึงหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา เช่น หลักไตรสิกขา ศีล สมาธิ ปัญญา และมีการฝึกสวดมนต์ นั่งสมาธิ แผ่เมตตา (2) สอนตามหลักสูตร แกนกลางของพระพุทธศาสนา ฉบับ พ.ศ. 2551 โดยมีสาระการเรียนรู้ คือ พุทธประ วัติ ชาดก หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา มารยาทชาวพุทธ วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา และการบริหารจิตและปัญญา ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานและธรรมศึกษา
ผลการศึกษาเปรียบเทียบพบว่า การสอนพระพุทธศาสนาทางโรงเรียนวัดชุมพลนิกายารามและโรงเรียนเซนต์แมรี มีความคล้ายคลึงกันในด้านการสอนทฤษฏีสอนตามหลักสูตรแกนกลาง ส 1.1 และ ส 1.2 ตามกรมการศึกษาธิการกำหนด ส่วนด้านที่แตกต่างกัน โรงเรียนเซนต์แมรีมีการเน้นภาคปฏิบัติมากกว่าโดยการนำนักเรียนมาฟังธรรมทุกวันพระในโรงเรียน โดยครูพระสอนศีลธรรมเป็นผู้บรรยายหลักธรรมและฝึกสวดมนต์ นั่งสมาธิ แผ่เมตตา และกิจกรรมทางศาสนพิธีทางพระพุทธศาสนาโดยมีครูพระสอนศีลธรรมเป็นผู้ชี้นำสู่ความเป็นผู้มีจริยธรรม คุณธรรม และศีลธรรมในทางวิถีทางพระพุทธศาสนา ในขณะที่โรงเรียนวัดชุมพลนิกายาราม เน้นการสอนตามสาระการเรียนรู้ของ กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ เป็นการเรียนรู้ในชั้นเรียนจะเป็นลักษณะการบูรณาการโดยเน้นผู้เรียนเป็นหลักในการเรียนรู้ ทั้งความรู้ และมีการวัดผลประเมินผลทุกหน่วยการเรียนรู้ ส่วนทางด้านปฏิบัติจะเน้นไปทางศาสนาพิธี เช่นวันสำคัญทางศาสนา
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
This thesis has three objectives: 1) to study the teaching of Buddhism in Wat Chumphon Nikayaram School, 2) to study of the teaching of Buddhism in ST. Mary’s School, and 3) to comparatively study the teaching of Buddhism in Wat Chumphon Nikayaram and ST. Mary’s School by studies documentaries and interview the samples then bringing information to investigate, analyze and compare.
The results of the study were as follows:
The way of teaching Buddhism in in Wat Chumphon Nikayaram School consists of: 1) using various instructional Medias, namely, people, materials and many techniques, 2) teaching by enabling students to practice by themselves, i.e. using the process of active learning by management mind and wisdom for training them to be mindful and concentrated, and 3) the teaching is accordance with the way prescribed by ministry of education on religion, morality, and virtue according to the standard of Sor 1.1 and Sor 1.2.; the learning in class is on the integration by emphasizing on student as the majority of learning, Knowledge, and the process of practice, in addition, there is assessment in all units of learning, particularly, the desired characteristics of school aiming at supporting student to grow with wisdom and virtue.
ST. Mary’s School has the two ways of teaching: 1) Dhamma-peaching and the lecturing Dhamma that would be able to develop live and spirituality of students, and enable students to understand the doctrine of Buddhism, such as three training, i.e. molarity, meditation and wisdom, and in addition to the practice of chanting meditation, and extending of loving kindness, 2) teaching according to the core curriculum of Buddhism 2008 edition by having the essence of learning, that is to say, Buddhist history, Jataka story, doctrines of Buddhism, the manner of the Buddhist, the important day of Buddhism, and the management of mind and wisdom according to the core curriculum of the basic education, and Dhamma study.
From the comparative study, it was found that both Wat Chumphon Nikayaram School and ST. Mary’s School have the similarities on theoretical teachings according to the core curriculum of Sor 1.1 and Sor 1.2 as prescribed by the ministry of education, but they have different ways, namely, ST. Mary’s School emphasizes more on practice by bringing students to hear Dhamma in every Buddhist holy day in school having the Buddhist teacher-monks to lecture Dhamma, and guide them to pray, meditate, extend loving kindness to all, and practice the Buddhist ceremony in order to bring them to be ethical, virtuous and moral persons according to the way of Buddhism, whereas Wat Chumphon Nikayaram School emphasizes on the essence for learning of the department of academic affairs, ministry of education, it is on the learning in class by integration emphasizing on student as the majority of learning, Knowledge, and there is assessment in all units of learning, but in practical way, emphasizes on religious ceremony such as the important days of religion.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|