-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการศึกษาเปรียบเทียบการเจริญวิปัสสนากรรมฐานของวัดหนองป่าพง จังหวัดอุบลราชธานีกับวัดงุยเตาอูกรรมฐาน ท่าขี้เหล็ก รัฐฉาน สหภาพเมียนมาร์
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Comparative Study of the Practice of Vipassana Meditation of Wat Nong Pa-Pong in Ubonratchathani Province and Ngew-Taung-U Meditation Tachileik Shan State
- ผู้วิจัยVen. Pindola
- ที่ปรึกษา 1พระเทพวิสุทธิมุนี วิ., ดร.
- ที่ปรึกษา 2พระครูวินัยธรสมุทร ถาวรธมฺโม, ผศ. ดร.
- วันสำเร็จการศึกษา20/02/2020
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาศาสนาเปรียบเทียบ
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/777
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 166
- จำนวนผู้เข้าชม 506
บทคัดย่อภาษาไทย
วิทยานิพนธ์เรื่อง “การศึกษาเปรียบเทียบการเจริญวิปัสสนากรรมฐานของวัดหนองป่าพง จังหวัดอุบลราชธานี กับวัดงุยเตาอูกรรมฐาน ท่าขี้เหล็ก รัฐฉาน สหภาพเมียนมาร์” นี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ (1) เพื่อศึกษาการเจริญวิปัสสนากรรมฐานของวัดหนองป่าพง จังหวัดอุบลราชธานี (2) เพื่อศึกษาการเจริญวิปัสสนากรรมฐานของวัดงุยเตาอูกรรมฐาน ท่าขี้เหล็ก รัฐฉาน สหภาพเมียนมาร์ และ (3) เพื่อเปรียบเทียบการเจริญวิปัสสนากรรมฐานของวัดหนองป่าพง จังหวัดอุบลราชธานี กับวัดงุยเตาอูกรรมฐาน ท่าขี้เหล็ก รัฐฉาน สหภาพเมียนมาร์ งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยรวบรวมข้อมูลทั้งจากเอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษา พบว่า
การเจริญวิปัสสนากรรมฐานในวัดหนองป่าพงนี้เกิดขึ้น เพื่อชี้แนะหลักธรรมที่เป็นหัวใจพระ พุทธศาสนาที่สามารถนำไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้จริง เพื่อฝึกปฏิบัติอานาปานสติภาวนา จนสามารถสัมผัสความสงบภายใน และความเป็นอิสระของจิตใจ อันเกิดจากความประจักษ์ในสัจธรรมและมีการประพฤติให้เป็นสมถะวิปัสสนากรรมฐาน เป็นอยู่อย่างง่าย กระทำสิ่งที่ยากใกล้ชิดธรรมชาติ
การเจริญวิปัสสนากรรมฐานของวัดงุยเตาอูกรรมฐาน เพื่อชำระจิตของผู้ปฏิบัติให้บริสุทธิ์สะอาดหมดจด จนกระทั่งถึงบรรลุมรรค ผล นิพพาน โดยปฏิบัติตามหลักของมหาสติปัฏฐาน คือ การเข้าไปเจริญสติในฐานทั้ง 4 คือ ฐานกาย เรียกกายานุปัสสนา ฐานเวทนา เรียกเวทนานุปัสสนา ฐานจิต เรียกจิตตานุปัสสนา อย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย และมีเป้าประสงค์เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา อันจะเป็นประโยชน์ต่อสังคมก่อให้เกิดในสันติสุขได้อย่างแท้จริง
จากการศึกษาเปรียบเทียบการเจริญวิปัสสนากรรมฐานของวัดหนองป่าพง กับวัดงุยเตาอูกรรมฐาน พบว่า ทั้งสองวัดมีวิธีการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ที่แตกต่างกันออกไป แต่มีจุดประสงค์ที่เหมือนกัน คือการดับความทุกข์ทางจิตใจของผู้ปฏิบัติธรรม ซึ่งจะสามารถแก้ปัญหาชีวิตของผู้ที่มาปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานได้ และเป็นหนทางเดียวที่จะทำให้ผู้ที่เจริญวิปัสสนากรรมฐานนั้น พ้นจากความทุกข์ทางจิตใจ และมีความสุขอันแท้จริงที่เกิดจากความสุขภายในจิตใจ เป็นความสุขของผู้ประเสริฐ เป็นความสุขของพระอริยบุคคล เป็นการกระทำของบุคคลที่ฉลาดนั่นเอง การเจริญวิปัสสนากรรมฐานของวัดหนองป่าพง เป็นการเจริญภาวนาโดยการภาวนาพุท-โธ และการใช้หลัก อานาปานสติกำหนดลมหายใจเข้าและออก เพื่อให้จิตเป็นสมาธิและตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียว เมื่อจิตรวมเป็นหนึ่งแล้ว จิตจะสงบและเกิดปัญญาขึ้นมา ปัญญาที่เกิดจากจิตที่สงบนี้ ท่านเรียกว่า เป็นวิปัสสนาปัญญา ส่วนการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานของวัดงุยเตาอูกรรมฐาน เป็นการเจริญวิปัสสนาแบบพองยุบ คือกำหนดลมหายใจเข้าออกอย่างมีสติอยู่กับลมหายใจเข้าและออกที่อาการท้องพองและท้องยุบ จากนั้นจึงพิจารณาสติปัฏฐาน 4 คือการพิจารณาเห็นกายในกาย เห็นเวทนาในเวทนา เห็นจิตในจิต และการพิจารณาเห็นธรรมในธรรม เป็นการเจริญวิปัสสนากรรมฐานตามสติปัฏฐานสูตร ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนไว้ในพระมหาสติปัฏฐานสูตร ซึ่งผลจากการเจริญวิปัสสนากรรมฐานนี้ จะทำให้มีความสุขในปัจจุบัน กิเลสในจิตใจก็จะลดและเบาบางลง ปัญญาก็จะเกิดขึ้นนี้เป็นผลจากการเจริญวิปัสสนากรรม ฐาน ตามแนวทางแห่งสติปัฏฐานนั่นเอง และจะมีอานิสงส์คือจะได้บรรลุธรรมอันเป็นของประเสริฐปราศจากธุลี จะสามารถเป็นพระโสดาบันได้ในปัจจุบันชาติ จะสามารถบรรลุมรรคผลนิพพานได้ในที่สุด
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The thesis entitled “A Comparative Study of the Practice of Vipassana Meditation of Wat Nong Pa-Pong, Ubonratchathani Province, and Wat Ngew-Taung-U Meditation, Tachileik, Shan State, Myanmar” has three objectives: 1) to study the practice of vipassana meditation of Wat Nong Pa-Pong, Ubonratchathani Province, 2) to study the practice of vipassana meditation of Wat Ngew-Taung-U Meditation, Tachileik, Shan State, Myanmar, and 3) to comparatively study the Practice of Vipassana Meditation of Wat Nong Pa-Pong, Ubonratchathani Province, and Wat Ngew-Taung-U Meditation, Tachileik, Shan State, Myanmar” This thesis is of qualitative research by collecting data from documents and the related research,
The results of study were as follows:
The practice of vipassana meditation of Wat Nong Pa-Pong has been taking pace for instructing the core doctrines of Buddhism that could be applied for problem-solution in the daily life, and for practsing Breathing in and out (Ānāpānasti Bhāvanā) till the practitioners could touch the inner calmness and the freedom of mind, arising from realizing the reality. The Practice is of both tranquil and insight meditation, living in the simple style but doing in difficult task, approaching the nature.
The practice of vipassana meditation of Wat Ngew-Taung-U Meditation aiming at purifying the mind of the practitioners till they attain the Noble path and the Nobel Result (magga-phala) and nibbāna by following the four foundations of mindfulness, i.e. practising the four foundations of mindfulness, viz, body-foundation called body-insight (kāyānupassnā); feeling-foundation called feeling-insight (vedanānupassanā); mind-foundation called (cittānupassanā) continually without break, and aiming at applying them to propagate Buddhism that would bring benefit to society, be happy and peaceful exactly.
From the comparative study of the practice of vipassana meditation of Wat Nong Pa-Pong and Wat Ngew-Taung-U Meditation, it was found that both of them have different ways of the practice of vipassana meditation, but they have the same objective, i.e. emancipating from mental suffering of the practitioners that could resolve the problem of life of ones who came to practice insight meditation, and this is the only one path that would enable the practitioners elevate from mental suffering and get the real happiness arising from inner mind, it is the happiness of the splendid ones, and of the Noble Ones, viz, it is the doing of the wise ones.
The practice of vipassana of Wat Nong Pa-Pong is of Buddho-Bhāvanā, and of using Breathing in and out (Ānāpānasti Bhāvanā) in order to make mind concentrated, and contemplated in one object, when mind contemplated, mind would be calm, and then wisdom would come to exist, wisdom that arises from this tranquil mind is called “insight wisdom (vipassanā-paññā).” But the practice vipassana meditation of Wat Ngew-Taung-U Meditation is of swelling and sinking, namely, concentrating on breathing in and out with mindfulness at swelling abdomen and sinking abdomen then considering four foundations of mindfulness, that is to say, seeing body in body, feeling in feeling, mind in mind, and dhamma in dhamma. It is the practice of vipassana based on satipathana sutta as the Buddha taught. The result of the vipassna practice would enable people to be happy in the present time, and also the defilements would reduce and sink from mind, and then wisdom arises that is the result of the vipassana practice based on foundations of mind. In addition, there would be benefit, namely, the practitioners would attain the noble dhamma with no dust, one who practice would be the Stream-Enterer (Sotapanna) in the present time, or would be able to attain nibbāna finally.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 1.34 MiB | 166 | 16 มิ.ย. 2564 เวลา 03:01 น. | ดาวน์โหลด |